งานศพ พิธีกรรมหลังความตายของศาสนาพุทธ

งานศพ พิธีกรรมหลังความตายของศาสนาพุทธ

หลายคนที่ไม่เคยมีประสบการณ์จัด งานศพ มาก่อน คงเคยสงสัยว่า กระบวนการต่างๆ หลังจากเสียชีวิตแล้ว ต้องทำอะไรบ้าง ซึ่งขั้นตอนในแต่ละที่อาจแตกต่างกัน

หากเสียชีวิตที่โรงพยาบาล พยาบาลจะช่วยแต่งหน้าให้ในเบื้องต้น ช่วยเปลี่ยนเสื้อผ้าที่ญาติเตรียมไว้ให้ โดยพยาบาลจะ แต่งตัวให้ผู้เสียชีวิตอยู่ในสภาพที่ดูดีที่สุดเท่าที่จะทำได้ หลังจากนั้น ก็จะพาร่างผู้เสียชีวิตไปที่ห้องเย็นเก็บศพเพื่อทำเอกสารเกี่ยวกับ ใบมรณบัตรและฉีดฟอร์มาลินไม่ให้ร่างกายเน่าเปื่อย ซึ่งขั้นตอนนี้ อาจใช้เวลา 2-3 ชั่วโมงถึงครึ่งวัน หลังจากนั้นเราจึงจะนำร่าง ผู้เสียชีวิตออกมาประกอบพิธีกรรมทางศาสนาได้

กรณีที่ไม่ได้เสียชีวิตในโรงพยาบาล ญาติอาจจะเป็นผู้จัดการเอง หรือติดต่อสถานที่รับฌาปนกิจ เช่น วัด เพื่อจัดหาผู้ช่วยจัดการ ทุกอย่างตามความเหมาะสม

 

 

รดน้ำศพ

สามารถเลือกได้ว่าจะรดน้ำศพที่โรงพยาบาลเลย หรือจะไปรดน้ำศพที่วัด ซึ่งไม่ว่าจะทำที่โรงพยาบาลหรือวัด ก็จะมีคนรับจ้างจัดเตรียมทุกอย่างให้ หลังจากรดน้ำศพก็บรรจุร่างลงโลงศพ

 

โลงศพและสถานที่จัดงาน

การเลือกวัด เราต้องพิจารณาเรื่องความสะดวกในการ เดินทางของผู้ที่จะมางานและสถานที่จอดรถด้วย ศาลาสำหรับจัด งานนั้นมีจำกัด โดยเฉพาะศาลาที่มีเครื่องปรับอากาศและทำเลดี ๆ ซึ่งเราอาจหาศาลาแบบที่ต้องการไม่ได้ หากเราต้องการความมั่นใจว่าจะได้ ศาลาหลังที่ต้องการ ก็ต้องยอมจ่ายเงินจองศาลานั้นไว้เลย ทางวัด จะมีผู้ดูแลศาลาซึ่งเป็นผู้ที่สามารถประสานงานหรือให้หมายเลข โทรศัพท์ติดต่อสิ่งที่มีความจำเป็นสำหรับการจัดงาน ไม่ว่าจะเป็น โลงศพ รถขนศพ ดอกไม้ประดับโลงศพและรูปหน้าศพ อาหาร เลี้ยงผู้มาร่วมงาน เครื่องดื่ม ของชำร่วย รวมไปถึงการนิมนต์พระ การนำสวด การจัดเตรียมของต่าง ๆ

 

ของชำร่วย

ของประจำงานศพอย่างถัดมา คือ ของชำร่วยที่เจ้าภาพจะแจกให้ในแต่ละวัน เช่น ลูกอมกับด้ายแดง มีความเชื่อว่าเป็นการแก้เคล็ด ชีวิตจะหวานชื่นเหมือนลูกอม และ ชีวิตจะมีความเป็นสิริมงคลเพราะสีแดงเป็นสีมงคลของคนจีน ซึ่งเจ้าภาพอาจรู้สึกว่าจำเป็นต้องมีของชำร่วยเหล่านี้ ถ้าไม่มีจะดู ไม่เหมาะสม แต่ถ้าเรามองในฐานะผู้ไปร่วมงาน เวลาได้รับของมาจาก งานศพ คนส่วนใหญ่มักจะไม่อยากเอากลับบ้านหรือไม่อยากเก็บไว้ อาจเพราะเป็นของที่ได้มาจากงานอวมงคล

 

 

จำนวนวันจัดงาน

โดยทั่วไปจำนวนวันจัดงานสวดศพมักจะเลือกเลขคี่ เช่น 3 คืน 5 คืน 7 คืน แล้วฌาปนกิจในวันรุ่งขึ้น โดยในวันฌาปนกิจ มักจะมีการนิมนต์พระมาทำบุญสังฆทานในช่วงเช้า ก่อนจะฌาปนกิจ ในช่วงบ่ายหรือเย็น แต่ในมุมของพระพุทธศาสนาไม่ได้ยึดถือและ ไม่เชื่อในเรื่องของตัวเลข เราสามารถจัดงานกี่วันก็ได้ นอกจาก ความเชื่อเรื่องจำนวนวันแล้ว ยังมีความเชื่อเกี่ยวกับวันเผาว่าไม่ควร เผาศพวันพระบ้าง วันศุกร์ บ้าง แต่ความจริงแล้วเราจะเผาวั นไหนก็ได้ที่สะดวกและเหมาะสมตามความพร้อมของเจ้าภาพ

 

จำนวนพระที่นิมนต์

ในเมื่อพระพุทธเจ้าไม่ได้ทรงให้ความสำคัญในเรื่องเลขคู่เลขคี่ เพราะสิ่งเหล่านี้ไม่ได้ส่งผลต่อบุญที่ได้รับ บุญที่เกิดขึ้นจะแปรผัน ตามความบริสุทธิ์ของจิตใจและปริมาณของที่เราทำบุญ ความประณีต ของสิ่งที่นำมาทำบุญ และการทำสังฆทานอย่างถูกต้อง ฉะนั้นเราจะนิมนต์พระ มาจำนวนกี่รูปก็ได้ หรือจะนิมนต์พระ 4 รูป ตามแบบที่เขาทำตามกันมาก็ย่อมได้

 

สวดอภิธรรมเพื่ออะไร

บทสวดอภิธรรมและบทสวดมนต์ต่าง ๆ ที่ ดูเหมือนการท่องคาถาที่เราฟังไม่รู้เรื่อง ส่วนใหญ่เป็นการนำเอา ธรรมะของพระพุทธเจ้ามาบรรยายให้ฟังด้วยภาษาบาลี  ซึ่งน้อยคนนักที่จะเข้าใจ หากจะให้ฟันธงคงกล่าวได้ว่า ผู้เสียชีวิตจะได้ประโยชน์จากการ สวดอภิธรรมน้อยมาก เพราะส่วนใหญ่ไม่เข้าใจภาษาบาลีที่พระสวด และแม้ว่าพระจะสวดอภิธรรมพร้อมคำแปล แต่บทธรรมนี้ค่อนข้าง เข้าใจยาก เขาจึงแทบไม่มีโอกาสได้บุญจากการสวดอภิธรรมเลย ในทางตรงข้าม หากเปลี่ยนเป็นการแสดงธรรมภาษาไทย

หรือนำเอาบทธรรมของพระพุทธเจ้ามาบรรยายด้วยภาษาไทย โอกาส ที่ผู้เสียชีวิตและผู้ที่มาร่วมงานจะเข้าใจธรรมะนั้นมีสูงกว่ามาก และ โอกาสได้บุญก็สูงกว่ามาก จึงเป็นเรื่องน่าเสียดายที่การสวดอภิธรรม ด้วยภาษาบาลีนั้นเป็นเหมือนประเพณีที่ยากจะเปลี่ยนแปลง

 

 

จำนวนรอบที่สวด

โดยทั่วไปในงานศพมักจะมีการสวดอภิธรรม ๔ รอบ หลายคน คงมีคำถามว่า หากยึดตามหลักการในพระไตรปิฎก จำนวนรอบ ที่สวดมีความสำคัญใด ๆ หรือไม่ คำตอบก็คือ อาจจะมีบางส่วน ที่มีความสำคัญในระดับหนึ่ง แต่โดยรวมแล้วจำนวนรอบที่สวด ไม่ได้มีนัยสำคัญใด ๆ

 

พวงหรีด

พวงหรีด เป็นวัฒนธรรมของชาติตะวันตกที่มีความเชื่อว่าทูตสวรรค์จะลงมารับ วิญญาณผู้เสียชีวิต จึงมีการวางพวงหรีดไว้เพื่อแสดงความเคารพ ทูตสวรรค์ แต่ในปัจจุบันพวงหรีดเป็นส่วนหนึ่งของการแสดงความ เคารพต่อผู้เสียชีวิต พร้อม ๆ กับเป็นการแสดงความเสียใจและให้ กำลังใจญาติผู้เสียชีวิตไปด้วย

 

ข้อมูลจากหนังสือ How to Die ความตายออกแบบได้

 

สั่งซื้อออนไลน์ คลิก

 


บทความน่าสนใจ

จัดงานศพ ให้ “ตัวเอง” ก็ได้  ง่ายๆ แค่ 5 ขั้นตอน

ไขข้อคาใจ คนท้องไปงานศพ ได้หรือไม่ ?

Q: ดิฉันบริจาคร่างกายเป็นอาจารย์ใหญ่แล้ว จะแจ้งให้ญาติไม่ต้องจัดงานศพเมื่อเสียชีวิตและถวายสังฆทานเพียง 1 ชุดได้หรือไม่

True Story : บุญครั้งสุดท้าย ของลูกสาวผู้จากไป

ความตายในทางพระพุทธศาสนา ที่แตกต่างจากคนทั่วไป

© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.