ผ้าจำนำพรรษา และ ผ้าอาบน้ำฝน แตกต่างกันอย่างไร ถวายแล้วมีอานิสงส์อย่างไรบ้าง
ใกล้เข้าสู่เทศกาลเข้าพรรษาแล้ว ชาวพุทธนิยมถวาย ผ้าจำนำพรรษา และ ผ้าอาบน้ำฝน แด่พระภิกษุสงฆ์ในช่วงเข้าพรรษา ซึ่งเป็นประเพณีที่สืบทอดมาตั้งแต่สมัยพุทธกาล
หลายท่านอาจสับสนว่าผ้าจำนำพรรษาและผ้าอาบน้ำฝนเป็นสิ่งเดียวกัน เพราะเครื่องไทยทาน (วัตถุที่ถวายพระภิกษุโดยไม่เจาะจง แต่หากเจาะจงหรือพระภิกษุทราบแน่ชัดแล้วว่าถวายสิ่งนี้เฉพาะท่านเท่านั้นจะเรียกว่า “ไทยธรรม“) ทั้งสองนี้ ต่างเป็นที่นิยมถวายในช่วงเข้าพรรษา ซึเคร็ตจึงขอไขข้อสงสัยในเรื่องนี้ให้กระจ่าง เพื่อเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่านทุกท่าน
ผ้าจำนำพรรษา คือ ผ้าไตรจีวรที่พุทธศาสนิกชนรีบถวายก่อนออกพรรษา อาจเพราะมีเหตุไม่สะดวกที่จะตระเตรียมผ้าไตรจีวรถวายในช่วงออกพรรษา จึงขอถวายไว้ตั้งแต่ช่วงเข้าพรรษา จึงมีอีกชื่อว่า “อัจเจกจีวร” พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้พระภิกษุรับผ้าไตรจีวรนี้ได้ในช่วง 10 วันสุดท้ายของการเข้าพรรษา เหตุที่เรียกว่า ผ้าจำนำพรรษาเพราะเป็นผ้าที่พระภิกษุไม่สามารถใช้ได้ในขณะเข้าพรรษานั่นเอง ต้องรอให้ออกพรรษาเสียก่อนจึงสามารถใช้ได้
ผ้าอาบน้ำฝน คือ ผ้านุ่งสำหรับพระภิกษุในขณะอาบน้ำฝน สามารถศึกษาเรื่องผ้าอาบน้ำฝนเพิ่มเติมได้ที่ >>> นางวิสาขา มหาอุบาสิกา ผู้ให้กำเนิดการถวาย ผ้าอาบน้ำฝน
เมื่อคลายความสงสัยกันความสับสนระหว่างผ้าจำนำพรรษาและผ้าอาบน้ำฝนแล้ว ลองมาฟังเรื่องอานิสงส์ของเครื่องไทยทานทั้งสองนี้กัน
คลิกเลข 2 ด้านล่าง เพื่อทราบอานิสงส์ถวายผ้าจำนำพรรษาและผ้าอาบน้ำฝน