อย่า ยอมแพ้ ตั้งแต่ยังไม่เริ่มลงมือทำ

อย่า ยอมแพ้ ตั้งแต่ยังไม่เริ่มลงมือทำ

อย่ากลัวการเริ่มต้น! คนสำเร็จคือคนที่ไม่ ยอมแพ้ ตั้งแต่ยังไม่เริ่มลงมือทำ

ถ้าเรา ยอมแพ้ ตั้งแต่ยังไม่เริ่มต้นทำอะไร เราจะเป็นคนที่ถูกเอาเปรียบ จนกลายเป็นฝ่ายเสียเปรียบตลอดไป แต่ถ้าเราที่ไม่ยอมแพ้ และเลิกกลัวการเริ่มต้น เราก็จะสามารถต่อสู้ในสังเวียนสำคัญๆ ได้

 

ไม่ว่าใคร ก็อยากมีชีวิตที่สงบสุข ไม่ต้องพบเจอกับปัญหา หรือ เรื่องบาดหมาง ทะเลาะเบาะแว้งด้วยกันทั้งนั้น แต่เมื่อคนดีตกอยู่ในในสถานการณ์ที่เสียเปรียบ หรือ ตกเป็นผู้เสียหาย ก็จะยังคงเป้นคนดีอยู่วันยังค่ำ โดยไม่คิดที่จะต่อสู้เพื่อตัวของเราเองเลย สาเหตุที่เป็นเช่นนี้ เพราะคนนิสัยดี มักจะรู้สึกไม่คุ้นเคย และไม่กล้าที่จะขัดใจใคร

การต่อสู้ในที่นี้ ไม่ได้หมายถึงการทะเบาะแว้งรุนแรง เอาเป็นเอาตาย แต่หมายถึง การต่อสู้เพื่อสิทธิของตัวเราเอง 

อย่า ยอมแพ้ ตั้งแต่ยังไม่เริ่มลงมือทำ

ตัวอย่างของการยอมแพ้ ไม่ยอมต่อสู้เพื่อตัวเอง

ยกตัวอย่างเช่น เราจ้างช่างรับเหมาก่อสร้างมาซ่อมแซมบ้าน แล้วช่างไม่ยอมทำตามที่ตกลงเอาไว้ เมื่อเราทักท้วงไป ผู้รับเหมาก็บ่ายเบี่ยงไม่ยอมทำตาม แถมยังทำกิริยามารยาทที่ไม่ดี และโมโหใส่เราอีกด้วย ในกรณีเช่นนี้ เรามักจะรู้สึกหงุดหงิด แต่ก็ยอมถูกเอาเปรียบในที่สุด เพราะไม่กล้าที่จะต่อสู้ ไม่กล้าที่จะเถียง

หรือกรณีที่ใกล้ตัวมากๆ อย่างเช่น “เพื่อนยืมเงิน” เราก็มักจะไม่กล้าทวงเงิน เพราะกลัวว่าจะเสียมิตรภาพดีๆ ไป

ในทางกลับกัน หากเราเป็นฝ่ายที่ถูกร้องเรียนบ้าง เราก็มักจะไม่กล้าต่อกร จนต้องเป็นฝ่ายยอม เป็นฝ่ายจนมุมในที่สุด เราก็จะกลายเป็นฝ่ายที่อดทนเพียงข้างเดียว และถูกเอาเปรียบต่อไปเรื่อยๆ

 

::: จงเป็นผู้ร้องเรียนที่ดี :::

คนส่วนมาก เวลาไปร้านอาหารหรือร้านค้าต่างๆ แล้วรู้สึกไม่พอใจ เช่น ได้อาหารไม่ตรงตามที่สั่ง หรือเจ้าของร้านบริการไม่ดี เรามักจะอดทน และยอมจ่ายเงินให้จบๆ ไป เพราะคิดว่า “บ่นไป ก็เหนื่อยเปล่าๆ” และไม่อยากถูกมองว่าเป็นลูกค้าเรื่องมาก

ทั้งๆ ที่ การไม่ร้องเรียนในสิ่งที่เราไม่พอใจ และ ยอมอดทนเองคนเดียว จะทำให้เราต้องเจอแต่เรื่องเสียเปรียบ

วิธีการแก้ปัญหานี้ คือ เราควรที่จะกล้าเอ่ยปากพูดสักหน่อย เราอาจจะได้รับบริการที่ดีขึ้น หรือได้รับการเปลี่ยนสินค้าใหม่

การร้องเรียนในที่นี่ไม่ได้หมายความว่า เราจะทำตัวเป็นคนเรื่องมาก แต่เราเพียงแค่ต้องเรียกร้องตามความต้องการของตนเอง และยืนกรานในความคิดของตนเอง เพื่อแก้ไขสิ่งที่ไม่ถูกต้อง

คนที่ร้องเรียนเพื่อเลี่ยงสถานการณ์ซึ่งทำให้ตนเองเสียเปรียบเพียงฝ่ายเดียว หรือ คนที่ร้องเรียนเพื่อแก้ไขเรื่องที่ผิด ให้กลายเป็นถูกนั้น จึงจะเป็นผู้ร้องเรียนที่ดี

 

บทความที่น่าสนใจเพิ่มเติม

© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.