ในอดีต สมัยพระพุทธเจ้าเสวยชาติเป็นพระโพธิสัตว์ มีพ่อค้าเร่ขายเครื่องประดับอยู่สองคน คนหนึ่งเจ้าเล่ห์ คนหนึ่งซื่อสัตย์ อยู่มาคราวหนึ่งทั้งสองคนได้เดินทางข้ามแม่น้ำไปถึงตำบลหนึ่งพร้อมกัน พ่อค้าที่ซื่อสัตย์เข้าทางตะวันออก ส่วนพ่อค้าเจ้าเล่ห์เข้าทางตะวันตก ฝ่ายพ่อค้าเจ้าเล่ห์เดินทางไปถึงบ้านเศรษฐีตกยากคนหนึ่งก่อน เมื่อหลานสาวเศรษฐีเห็นเครื่องประดับก็อยากได้ จึงบอกให้ยายนำถาดเก่าสนิมเขรอะที่มีอยู่มาแลก พระเทวทัต
ยายจึงนำถาดเก่านั้นมาให้พ่อค้า ฝ่ายพ่อค้าเจ้าเล่ห์ พอรับถาดมา เห็นหนักผิดปกติ จึงลองเอาเข็มมากรีดดู พบว่าถาดนั้นเป็นทองคำมูลค่า 100,000 กหาปณะ เห็นดังนั้นจึงคิดอยากได้เปล่า เลยแกล้งหลอกยายหลานคู่นั้นว่า ถาดนี้ราคาไม่ถึงสลึง แล้วทำทีเป็นโยนถาดลงกับพื้น ก่อนจะออกเดินเร่ต่อไป คิดในใจว่าจะย้อนกลับมาเอาภายหลังโดยไม่ต้องแลกเปลี่ยนกับสิ่งใด
ต่อมาเมื่อฝ่ายพ่อค้าที่ซื่อสัตย์เดินมาถึงบ้านเศรษฐีตกยากหลังนี้ หลานสาวได้ชักชวนยายให้ขายถาดอีกครั้ง ยายจึงนำถาดเก่าเป็นสนิมใบนั้นมาขอแลกกับเครื่องประดับ พ่อค้าเร่คนนี้รู้สึกว่าถาดหนักผิดปกติ จึงเอาเข็มกรีดดู ก่อนจะบอกยายและหลานสาวว่า ถาดทองคำใบนี้มีราคาถึง 100,000 กหาปณะ เมื่อยายรู้ดังนั้น จึงบอกว่าจะยกถาดทองคำให้พ่อค้าผู้ซื่อสัตย์แลกกับเครื่องประดับเพียงเล็กน้อย พ่อค้าคนนี้จึงยกเงินทั้งหมดที่ขายได้และเครื่องประดับที่มีให้สองยายหลาน ก่อนจะจากไปเพื่อขึ้นเรือกลับเมือง
ฝ่ายพ่อค้าเจ้าเล่ห์ เมื่อได้ย้อนกลับมาที่บ้านเศรษฐีตกยากอีกครั้งหนึ่ง ด้วยหวังว่าจะมาเอาถาดทองคำ แต่เมื่อรู้ว่ายายยกถาดทองคำนั้นให้คนอื่นไปแล้ว ก็รีบทิ้งข้าวของที่ติดตัวมาแล้ววิ่งตามเรือของพ่อค้าผู้ซื่อสัตย์ เขาตะโกนขู่ให้คนพายเรือกลับมารับ แต่เรือไม่กลับมา ด้วยความโกรธ พ่อค้าเจ้าเล่ห์จึงกอบทรายขึ้นมาแล้วอธิษฐานว่า “จะขอจองล้างจองผลาญพ่อค้าผู้ซื่อสัตย์เรื่อยไปเท่ากับจำนวนเม็ดทรายในมือ”
ต่อมาในสมัยพุทธกาล พ่อค้าเจ้าเล่ห์เกิดเป็นพระเทวทัต ส่วนพ่อค้าผู้ซื่อสัตย์เกิดเป็นพระพุทธเจ้า และการผูกพยาบาทในชาติที่ผ่าน ๆ มาก็เป็นมูลเหตุที่ทำให้พระเทวทัตมีอาการ “เกลียดขี้หน้า” พระพุทธเจ้าตั้งแต่แรกเห็น
ตำนานพระเทวทัตจองเวรพระพุทธเจ้าเกิดขึ้นเพราะสัญญาหรืออารมณ์ที่มาดหมายมุ่งร้ายต่อกันนั่นเอง
ที่มา เสริววาณิชชาดก
บทความน่าสนใจ
นิทานพื้นบ้านของชนเผ่าลาหู่ “เด็กกำพร้ากับงูเหลือม”
พลังแห่งการให้และแบ่งปัน สุนันทา สมบุญธรรม ประธานกรรมการบริหารธนิยะกรุ๊ป
อโหสิกรรม…ทำอย่างไรหนอ – สนทนาธรมกับ พระอาจารย์นวลจันทร์ กิตติปัญโญ
ตกอยู่ในภาวะ “รู้ว่าบาป แต่ก็ต้องทำต่อไป” ทำอย่างไรดี ? ท่าน ว. วชิรเมธี มีคำแนะนำ
10 ความน่าเสียดายสําหรับผู้ไม่ฝึกฝน วิปัสสนา (อย่างสม่ําเสมอ)
ซอยนี้มีรถเยอะ – อุทธาหรณ์สอนใจให้คลายความหงุดหงิดตั้งมั่นในสมาธิ
ทำกรรมฐานให้ได้ โสดาบัน บทความธรรมะโดย พระอาจารย์ชานนท์ ชยนนฺโท