ไม่มีทางลัดสู่ความสำเร็จเท่า ลงมือทำ
“จะต้องลงมือทำมากขนาดไหนจึงจะสร้างความสำเร็จได้” อาจเป็นคำถามที่ติดอยู่ในใจของใครหลายคน ไม่น่าแปลกใจหากทุกคนถามหาทางลัดสู่ความสำเร็จ แต่ความจริงก็คือทางลัดนั้นไม่มีอยู่จริง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่ายิ่งคุณ ลงมือทำ มากเท่าไหร่ คุณก็ยิ่งมีโอกาสประสบความสำเร็จมากขึ้นเท่านั้น การลงมือทำอย่างมีวินัย ต่อเนื่อง และสม่ำเสมอเป็นปัจจัยที่ช่วยสร้างความสำเร็จมากกว่าสิ่งใดรวมกัน
คนส่วนมากล้มเหลวเพราะลงมือทำในระดับที่ไม่ถูกต้อง เราสามารถแบ่งการลงมือทำออกเป็น 4 ข้อหรือ 4 ระดับให้คุณเลือก เพื่อจะได้อธิบายคำว่าการกระทำให้ง่ายขึ้น ตัวเลือกของเรามีดังนี้
1.ไม่ทำอะไรเลย
การไม่ทำอะไรเลย ก็คือไม่ทำอะไรเพื่อผลักดันตัวเองไปสู่การเรียนรู้ ประสบผลสำเร็จ หรือควบคุมอะไรสักอย่าง คนที่ไม่ลงมือทำอะไรเลยเรื่องงาน ความสัมพันธ์ หรือเรื่องอื่นๆ ในชีวิต มักล้มเลิกความฝันของตัวเองและพร้อมยอมรับ
ทุกสิ่งทุกอย่างที่จะเกิด สัญญาณที่บ่งบอกว่าคุณไม่ได้ลงมือทำอะไรเลย ได้แก่ ความเบื่อหน่าย เฉื่อยชา ใจเย็น และไร้จุดหมาย คนที่อยู่ในกลุ่มนี้จะพบว่าตัวเองใช้เวลาและพลังงานไปกับการหาเหตุผลมาแก้ต่างให้ตัวเอง ซึ่งก็ใช้พลังงานเยอะพอๆ กับการลงมือทำในระดับอื่นก็ว่าได้ เผลอเพียงแป๊บเดียวเวลาก็ล่วงเลยไปโดยที่ไม่ได้ใช้ชีวิตตามศักยภาพสูงสุดของตัวเองเลยด้วยซ้ำ
2.หลบเลี่ยง
คนชอบหลบเลี่ยงเป็นคนที่ลงมือทำแบบถอยกลับ อาจเพื่อหลีกเลี่ยงเรื่องแย่ๆ ที่พวกเขาคิดเองเออเองว่าจะเจอเมื่อลงมือทำ คนชอบหลบเลี่ยงคือภาพตัวแทนของ “คนกลัวความสำเร็จ” พวกเขาเคยผ่านประสบการณ์ที่ไม่สวย เลยตัดสินใจว่าจะไม่ทำอะไรที่อาจทำให้เกิดสิ่งนั้นอีก บ่อยครั้งสิ่งที่ทำให้พวกเขาหลบเลี่ยงเกิดจากสิ่งที่คิดและประเมินไปเองว่าเป็นความล้มเหลวหรือถูกปฏิเสธ การหลบเลี่ยงเป็นสาเหตุว่าทำไมคนส่วนใหญ่จึงไม่ค่อยกล้าลองสิ่งใหม่ๆ
เมื่อโตขึ้น
ผู้ที่หลบเลี่ยงจะใช้เวลามากมายหาเหตุผลให้ตัวเองว่า ทำไมถึงต้องหลบเลี่ยง คนพวกนี้มักไม่มีเรื่องทะเลาะหรือ
โต้เถียงกับใคร เพราะพวกเขาหลอกตัวเองจนเชื่อสนิทใจแล้วว่า “ลงมือทำแค่ที่ทำอยู่ก็รอดตายแล้ว” พวกเขาใช้พลังงานในการหาเหตุผลอธิบายการตัดสินใจหลบเลี่ยงมากพอๆ กับพลังงานที่คนใช้สร้างความสำเร็จ ดังนั้นถ้าต้องใช้พลังงานอยู่แล้ว ทำไมไม่ใช้ไปในทิศทางที่เดินสู่ความสำเร็จล่ะ
3.ลงมือทำระดับธรรมดา
การลงมือทำระดับธรรมดาจริงๆ แล้วเป็นเรื่องอันตรายที่สุด เพราะเป็นสิ่งที่สังคมยอมรับมากที่สุด ดังนั้นจึงไม่มีแรงกระตุ้นที่จะผลักดันตัวเองให้ไปสู่ความสำเร็จ คนกลุ่มนี้ใช้เวลาทั้งชีวิตไปกับการลงมือทำเพื่อให้ตัวเองเป็นคนธรรมดา และสร้างชีวิต อาชีพการงานที่ธรรมดา เป้าหมายคือคำว่าปานกลาง ไม่ว่าจะเป็นชีวิตคู่ที่ดีปานกลาง สุขภาพดีปานกลาง งานปานกลาง และเงินปานกลาง ตราบใดที่ความธรรมดาหรือปานกลางยังคงใช้ได้ ก็จะพอใจอยู่แค่นั้น อย่างไรก็ตามเมื่อสภาพตลาดย่ำแย่ในระดับต่ำกว่าปกติ คนเหล่านี้จะตระหนักทันทีว่าตัวเองตกอยู่ในอันตราย
ธรรมดา หมายถึง “น้อยกว่าระดับพิเศษ” ในแง่หนึ่ง ธรรมดา เป็นคำอธิบายพฤติกรรมหลบเลี่ยงหรือไม่ลงมือทำ และยังใช้สื่อถึงผลกระทบด้านลบของจิตใจในคนที่รู้จักศักยภาพตัวเอง แต่ลงมือทำได้ต่ำกว่าความสามารถ คนที่ลงมือทำระดับธรรมดาทั้งที่ตัวเองทำได้มากกว่านี้ในแง่หนึ่งก็ไม่ต่างจากการเลือกที่จะไม่ทำหรือเลี่ยงที่จะทำนั่นเอง
4.ลงมือทำอย่างหนัก
การลงมือทำอย่างหนักนั้น จริงๆ แล้วเป็นการลงมือในระดับที่สร้างปัญหาใหม่อยู่เรื่อย แต่ถ้าไม่สร้างปัญหาเราจะเรียนรู้จากอะไรได้ล่ะ เมื่อลงมือทำอย่างหนัก เราจะไม่คิดถึงจำนวนชั่วโมงที่คุณทำงาน วิธีคิดของเราจะเปลี่ยนไปเป็นการลำดับความสำคัญของงานว่าอันไหนควรทำก่อนและทำทีหลัง การลงมือทำในระดับที่มากขึ้นนี้อาจมีเส้นบางๆ ระหว่างคนบ้ากับคนปกติ (ถึงขนาดมีคนตั้งฉายาต่างๆ นานาให้ ตั้งแต่ พวกบ้างาน หมกมุ่น เครื่องจักร ฯลฯ) แม้เป็นเรื่องที่เยอะเกินบรรทัดฐานของสังคมที่คนส่วนมากยอมรับ แต่จำไว้เถอะว่าถ้าคุณไม่ทำให้เกิดปัญหาใหม่ๆ แสดงว่าคุณยังลงมือทำไม่มากพอ
การลงมือทำอย่างหนักให้สำเร็จ เราต้องตอบรับทุกโอกาสที่เข้ามา หากต้องการประสบความสำเร็จในทางที่เลือก
เราต้องพยายามอย่างต่อเนื่องและไม่หยุดหย่อน การลงมือทำอย่างหนักไม่เคยทำร้ายใคร มีแต่จะช่วยเราเสียด้วยซ้ำ
นี่เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ปริมาณสำคัญกว่าคุณภาพ ลองสังเกตดูว่าเวลาที่ใครสักคนนึกถึงสินค้า บริการ และธุรกิจสักอย่างหนึ่ง พวกเขาจะได้นึกถึงแบรนด์ของเราเป็นอันดับแรกๆ
การลงมือทำอย่างหนักให้เป็นนิสัย จะทำให้เราเอาชนะการไม่เป็นที่รู้จัก เพิ่มคุณค่าให้กับตลาด และช่วยสร้างความสำเร็จในด้านที่เราเลือก
บทความที่น่าสนใจ