งานวิจัยจากวารสาร Genome Biology รายงานว่า ไม่ว่าจะมีอายุทางปฏิทิน (Chronological age) เท่าใด การตรวจเลือดเพื่อสำรวจอายุทางชีวภาพ (Biological age) จะทำให้สามารถคาดเดาอายุขัยได้
นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยคิงคอลเลจ ลอนดอน สหราชอาณาจักร เปรียบเทียบเครื่องหมายทางพันธุกรรมจำนวน 54,000 ชนิดในกรดไรโบนิวคลีอิก (RNA) ของกลุ่มผู้สูงอายุวัย 65 ปี และคัดเลือกเพียง 150 ชนิดที่มีเอกลักษณ์ และสามารถบอกความแก่ชราได้ ยีนเหล่านี้ยังทำนายความเสื่อมด้านกระบวนการคิดและอายุขัยได้อีกด้วย
นายแพทย์ ดร. เจมส์ ทิมมอนส์ หันหน้านักวิจัยและทีมของเขา ใช้วีธีเดียวกันในการศึกษากลุ่มผู้สูงอายุวัย 70 ปี ชาวสวีเดน และติดตามผลเป็นเวลากว่า 20 ปี หลังจากนั้นพวกเขาสามารถบอกได้ว่า ผู้สูงอายุคนไหนอายุยืน และคนไหนมีแนวโน้มจะเสียชีวิตเร็ว
ดร. เจมส์ ระบุว่า ทุกวันนี้เราใช้อายุทางปฏิทิน ตัดสินทุกอย่างด้านสุขภาพ ตั้งแต่ประกันชีวิต จนถึงการรักษาทางการแพทย์ ซึ่งอายุทางชีวภาพ น่าจะเป็นตัวชี้โรคต่างๆได้ดีมากกว่า
ที่มา: Yahoo! Health
เครดิตภาพ cocoparisienne/