“กัญชง” ไม่ใช่ “กัญชา” มาดูกันดีกว่าว่าต่างกันตรงไหน?
เมื่อพูดถึง “กัญชง” (Hemp) หลายคนอาจยังสงสัยและสับสนว่ามันคือ “กัญชา” (Marijuana) แต่ขอบอกเลยว่าจริง ๆ แล้วมันไม่เหมือนกันนะ
กัญชง แตกต่างจาก กัญชา เพราะว่าใบกัญชงนั้นมีสีเขียวอ่อน มี ใบ 7-11 แฉก ทั้งลำต้นยังสูงเรียวใหญ่ กิ่งแตกออกไปไม่มาก ส่วนกัญชานั้นใบมีสีเขียวเข้ม ใบมี 5-7 แฉก ลำต้นเตี้ยเป็นพุ่ม แตกกิ่งก้านออกไปมาก
นอกจากนี้ ยังแตกต่างกันที่มีสาร CBD (Cannabidiol) มากกว่ากัญชา แต่กลับมีสาร THC (สารที่ทำให้เมา) น้อยกว่า ประกอบกับ กัญชง มีสรรพคุณและประโยชน์ที่หลากหลายทั้งช่วยให้
– หลับสบาย ผ่อนคลาย สดชื่น
– รักษาอาการวิงเวียนศีรษะ ปวดศีรษะหรือไมเกรน
– แก้กระหาย
– เป็นยาบำรุงโลหิต
– ใช้รักษาโรคท้องร่วง โรคบิด
และส่วนอื่น ๆ ของกัญชงอย่าง ลำต้น ก็สามารถนำไปทำเส้นใยนำไปใช้ทำด้ายและเชือกสำหรับทอผ้าหรือเครื่องนุ่งห่ม บางเบา ไม่ระคายผิว แข็งแรงกว่าผ้าฝ้าย
น้ำมันจากเมล็ด ก็สามารถผลิตเป็นน้ำมันซักแห้ง ทําสบู่เครื่องสําอาง ครีมกันแดด แชมพูสบู่โลชั่นบํารุงผิว ลิปสติก ลิปบาล์ม แผ่นมาส์กหน้า
ด้วยกระแส “กัญชง” ที่มาแรงมากขนาดนี้ ทั้งยังได้รับการปลดล็อกให้ถูกกฎหมาย ทำให้กลายเป็นจุดสนใจในเชิงธุรกิจ อย่าง อาร์เอส กรุ๊ป เองก็ยังหันมาจับตลาดนี้ด้วยการส่ง คามูซี พลัส ใบกัญชง “เครื่องดื่มวิตามินซีผสมกัญชงแบรนด์แรกของไทย ถือว่าน่าสนใจเลยทีเดียว จากประโยชน์ของเจ้ากัญชงที่มีอยู่มากมาย แบบไม่ต้องกังวลเรื่องสาร THC ที่จะก่อให้เกิดความมึนเมา ไว้วางขายเมื่อไหร่ก็ไปลองหาซื้อมาชิมกันดู
อ้างอิง : t.ly/3VXg
อ่านบทความอื่นเพิ่มเติม
-
- เช็กอาการเสี่ยง! “หัวใจล้มเหลว” หอบ เหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย
- ขี้เกียจตื่นเช้า ง่วงตอนบ่าย ชอบของหวาน เสี่ยง “ต่อมหมวกไตล้า”
- อาการปวดแบบนี้ ปวดกระดูก หรือปวดกล้ามเนื้อกันแน่นะ?
- แก้ปวดหัวไมเกรน ด้วยการปรับพฤติกรรมเสี่ยงและเลี่ยงสิ่งกระตุ้น
- วิธีกินผัก-ผลไม้ ต้องกินอย่างไรถึงจะช่วยให้ร่างกายแข็งแรง
- มาสำรวจตัวเองกันหน่อย คุณเป็นโรคนิ้วล็อกอยู่หรือเปล่า?
- ระวังเอาไว้! “นั่งนาน” เกินไป นอกจากปวดบ่า ไหล่ หลัง แล้วยังทำให้ชีวิตสั้นลง