อาโวคาโด ปลูกกินเองได้จริงหรือ ?
อาโวคาโด หรืออะโวคาโด ผลไม้มากสรรพคุณ ที่อุดมไปด้วยคุณค่าทางโภชนาการไว้ในลูกเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นกรดไขมันดี โอเมก้า 3 วิตามินที่หลากหลาย หรือแม้แต่ธาตุอื่นๆ ซึ่งทั้งหมดล้วนแต่มีบทบาทในการช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคด้วยนะ เช่น โรคหัวใจ โรคมะเร็ง โรคหวัด โรคความดันโลหิต และโรคหลอดเลือดอุดตัน ฯลฯ
แต่ทั้งหมดที่กล่าวมาข้างต้น ทุกคนก็น่าจะพอได้เห็นได้ผ่านตาสรรพคุณของเจ้าอาโวคาโดมาบ้างแล้วในชีวจิต
อยากปลูก อาโวคาโดไว้กินเองที่บ้านกันเเล้วสิ แต่สภาพภูมิอากาศ และภูมิประเทศของบ้านเราจะเหมาะกับการปลูกต้น อาโวคาโด หรือไม่ เราลองมาหาคำตอบกัน
อ่านเพิ่มเติม : อะโวคาโด สุดยอดผลไม้โภชนาการสูง
6 ข้อ ต้องรู้ก่อนปลูกอาโวคาโด
ปัจจุบันการปลูก อาโวคาโด กำลังได้รับความนิยม คือ การปลูกแบบกระถางน้ำ ซึ่งการปลูกเช่นนี้ทำให้เกิดคำถามในเว็บไซต์ดัง ว่า มันจะออกผลไหม มันจะขึ้นไหม ทำไมเราปลูกแล้วไม่ขึ้นเลย แถมไม่มีผลติดให้กินเลย
เพราะอะไรถึงเป็นเช่นนั้น เราลองมาหาคำตอบไปพร้อมๆกันได้เลย
1.อาโวคาโดออกดอกเป็นช่อ เป็นดอกสมบูรณ์ ที่มีทั้งเกสรเพศผู้กับเพศเมีย
2.การผสมพันธุ์ของอะโวคาโด ต้องขึ้นอยู่กับเวลา เนื่องจากเกสรเพศผู้และเพศเมียแก่ไม่พร้อมกัน ( Dichogamy) จึงแบ่งอะโวคาโดออกเป็น 2 กลุ่ม ตามลักษณะการบานของดอก คือ
-ประเภท ก. ( A type) เกสรเพศเมียพร้อมรับละอองเรณูในตอนเช้า แต่ เกสรเพศผู้พร้อมถ่ายละอองเรณูใน ตอนบ่าย
-ประเภท ข. ( B type) เกสร เพศเมีย พร้อมรับละอองเรณูในตอนบ่าย แต่เกสรเพศผู้พร้อมถ่ายละอองเรณูในตอนเช้า
3.ดอกอะโคาโด มีจำนวนย่อยมากถึง 200-300 ดอก แต่มีการผสมติดน้อยมาก แล้วแต่ละช่อ ติดผลเพียง 1-3 ผลเนื่องจากเกสรเพศผู้และเพศเมียแก่ไม่พร้อมกัน
4.พื้นที่การปลูก อาโวคาโด แต่ละสายพันธุ์ต้องการการปลุกที่อยู่ในพื้นที่ที่มีระดับความสูงแตกต่างกัน
5.ต้นอะโวคาโดต้องการอุณหภูมิในการเจริญเติบโตที่ 15.6 – 29.4 องศาเซลเซียส และต้นที่โตแล้วก็สามารถทนต่ออากาศที่ต่ำได้ถึง – 2.2 องศาเซลเซียส
6.โรคที่ต้องระวังใน อาโวคาโด คือโรคที่เกิดจากการให้น้ำ เชื้อรา และวัชพืช เช่น โรครากเน่า โรคจุดดำ หมอนเจาะลำตัน และเพลี้ยไฟ
อย่างไรก็ตาม สาเหตุหลักที่ทำให้ อาโวคาโดไม่ผลิตผลออกมา ไม่เกี่ยวกับการปลูกอะโวคาโดกับกระถางน้ำเลย เเต่เป็นปัจจัยในข้างต้นต่างหาก