5. วิตามินบีคอมเพล็กซ์ ขนาด 100 มิลลิกรัม
6. โคลีน (CHOLINE) เป็นวิตามินอีกตัวหนึ่งในกลุ่มของบีคอมเพล็กซ์ 1 เม็ด ขนาด 250 มิลลิกรัม
7. อินอซิทอล (INOSITOL) เช่นเดียวกับตัวที่ 6 อยู่ในกลุ่มของบีคอมเพล็กซ์ เม็ดละ 250 มิลลิกรัมทั้งสองตัว (6 และ 7) นี้เขารวมกันเป็นเม็ดเดียวก็มี ขนาดรวมคือ 500 มิลลิกรัม เม็ดเดียวเม็ดโตหน่อย เอายาใส่ปากแล้วดื่มน้ำตามช้า ๆ
8. โพแทสเซียม ขนาด 99 มิลลิกรัม
9. สารสกัดจากเมล็ดองุ่น (GRAPE SEED EXTRACT) ความจริงสารสกัดจากองุ่นนี้ก็มีวิตามินซีปนอยู่มาก แต่ก็มีสารตัวพิเศษอีกตัวหนึ่งปนออกมาด้วย คือ พิคนอเจนนอล (PYCNOGENOL) ช่วยป้องกันไม่ให้สารประเภทฟรีแรดิคัลเข้าไปทำลายสมอง เป็นเม็ดขนาด 60 มิลลิกรัม กินวันละ 3 ครั้ง
10. ซีลีเนียม (SELENIUM) กินขนาด 200 ไมโครแกรม 1 เม็ด เมืองไทยมีขาย
11. วิตามินบี 5 กินขนาด 100 มิลลิกรัม วันละ 3 มื้อ
12. สังกะสี (ZINC) เป็นแร่ธาตุตัวสำคัญ นอกจากช่วยสร้างความต้านทานแล้ว ยังเป็นตัวช่วยระบบต่าง ๆ ของสมองและร่างกายให้ทำงานดีขึ้น
คุณผู้ชายที่มีปัญหาเรื่องต่อมลูกหมากและฮอร์โมนเพศลองกินเป็นประจำขนาด 100 มิลลิกรัม วันละ 1 เม็ดทุกวัน
นอกจากนั้น เมื่อสมองเกิด “พลัค” (PLAQUE) และเป็นการเริ่มต้นของการเกิดแอมเมิลลอยด์ (AMYLOID) สังกะสีตัวนี้จะช่วยทำลาย “พลัค” ระยะเริ่มต้นได้
13. เปลือกแอ๊ปเปิ้ล (APPLE PECTIN) มีบริษัททำอาหารเสริมหลายแห่งสกัดเพกทิน (PECTIN) จากเปลือกแอ๊ปเปิ้ล หรือบางทีก็เอาเปลือกแอ๊ปเปิ้ลบดเป็นผงบรรจุในแคปซูลเปลือกแอ๊ปเปิ้ลเหล่านี้ช่วยดึงโลหะหนักซึ่งไปเกาะอยู่ในสมองให้ออกมาได้ จึงเป็นการช่วยให้สมองทำงานได้ดีขึ้น
14. แอมิโนแอซิดรวม คือโปรตีนซึ่งแตกตัวเป็นแอมิโนแอซิดร่างกายของมนุษย์ต้องการแอมิโนแอซิด 23 ตัว แอมิโนแอซิดนี้ทำเป็นแคปซูลรวม ขนาด 1,000 มิลลิกรัม กินก่อนอาหาร 3 มื้อ ช่วยในการซ่อมแซมส่วนของสมองที่ถูกทำลาย
15. เมลาโทนิน ขนาด 3 มิลลิกรัม กิน 1 เม็ดก่อนนอนช่วยให้นอนหลับตามธรรมชาติ และช่วยให้สมองได้พักผ่อนเต็มที่
16. เอสโอดี (SOD) ย่อมาจาก SUPEROXIDE DISMUTASE จัดว่าเป็นเอนไซม์อยู่ในกลุ่มแอนติออกซิแดนต์ ช่วยกำจัดมลพิษในสมองและช่วยเพิ่มออกซิเจนให้เข้าสู่สมองได้ดียิ่งขึ้น
17. วิตามินซี ขนาด 1,000 มิลลิกรัม กินมื้อละ 1 เม็ด 3 มื้อ ช่วยเพิ่มภูมิชีวิต เพิ่มพลังให้แก่สมอง
18. วิตามินอี วันละ 1 เม็ด 400 ไอยู
ข้อมูลเรื่อง ” 18 สารอาหารบู๊สต์พลังสมอง ป้องกัน อัลไซเมอร์ ” จากนิตยสารชีวจิตฉบับที่ 361 คอลัมน์ ” ปัญจกิจสุขภาพ ” เรื่องโดย: สาทิส อินทรกำแหง