วิธีต้มข้าวโพดหวาน ให้ได้เมล็ดอวบอิ่มน่ากิน….พร้อมสูตร สลัดเพื่อสุขภาพ !!!

วิธีต้มข้าวโพดหวาน ให้ได้เมล็ดอวบอิ่มน่ากิน

วันนี้แอดจะขอพูดถึง “วิธีต้มข้าวโพดหวาน” เนื่องจากข้าวโพดเป็นอาหารที่นิยมรับประทานมากในบ้านเรา นิยมนำไปประกอบเมนูทั้งคาวและหวาน ซึ่งวิธีการต้มข้าวโพดนั้นหลายๆคนอาจจะมองว่าเป็นเรื่อง “ไม่ยุ่งยาก”…แต่ก็มีอีกหลายคนที่ยังไม่รู้เทคนิคการต้มให้ได้เมล็ดอวบอิ่มน่ากิน เอาล่ะ! มาดูสิ่งสำคัญที่ต้องรู้กันก่อน…

“ข้อห้ามสำคัญ”

ไม่ควรเติม “เกลือ” ลงไปในน้ำต้ม เนื่องจากว่าเกลือนั้นเป็นสาร อิเล็กโตรไลต์ (electrolytes) ที่แรง ส่งผลทำให้เกิดการดึงน้ำออกจากเมล็ดข้าวโพดได้ ถ้าใส่ลงไปในน้ำต้มรวมกัน จะทำให้เมล็ดข้าวโพดที่ต้มออกมามีความเหี่ยวราวกับมือเด็กแช่น้ำเลย

ทำไมถึงต้องเติม…น้ำตาล

“น้ำตาล” นอกจากจะให้รสชาติที่หวานอร่อยแก่ข้าวโพดแล้ว น้ำตาลส่วนที่ซึมเข้าข้าวโพดนั้นสามารถที่จะสร้างพันธะไฮโดรเจนกับน้ำ เป็นผลทำให้น้ำต้มนั้นเกิดการออสโมซิส (osmosis) ซึมผ่านผนังเซลล์ในเมล็ดข้าวโพด ทำให้เมล็ดข้าวโพดที่ต้มนั้นเต่งตึงน่าทานเป็นที่สุด

วิธีต้มข้าวโพดหวาน ให้อร่อยนุ่มลิ้นขึ้น ขั้นตอนมีดังนี้

  • ต้มน้ำให้เดือดจัด ใส่น้ำตาลลงไป 1 ช้อนโต๊ะ ต่อน้ำ 1 ลิตร
  • จากนั้นใส่ฝักข้าวโพดลงไปต้ม วางเรียงตามความยาวของฝักให้เต็มหม้อ และระดับน้ำในหม้อต้องท่วม ต้มนาน 10 นาที (แต่หากเป็นข้าวโพดข้าวเหนียว ต้องใช้เวลาประมาณ 15 นาที เพราะสุกยากกว่า)
  • นำไปแช่ในน้ำเกลือ หรือจะไม่แช่ก็ได้แล้วแต่ชอบ พร้อมรับประทาน

ประโยชน์ของข้าวโพด

ข้าวโพดเป็นธัญพืชเต็มเมล็ด ซึ่งชนิดที่คนส่วนใหญ่นิยมนำมารับประทาน คือ ข้าวโพดหวาน ข้าวโพดคั่ว และข้าวโพดข้าวเหนียวหรือข้าวสาลี โดยนำมาต้มสุกรับประทาน ใช้ประกอบอาหารหรือทำขนมหวาน แต่นอกจากรสชาติหวานอร่อยแล้ว ข้าวโพดยังประกอบไปด้วยสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย ดังนี้

  • คาร์โบไฮเดรต ข้าวโพดมีคาร์โบไฮเดรตเป็นองค์ประกอบหลักเช่นเดียวกับธัญพืชชนิดอื่น ๆ โดยข้าวโพดต้ม 1 ฝัก ที่หนักประมาณ 100 กรัม จะมีแป้ง 21 กรัม และน้ำตาล 4.5 กรัม ซึ่งข้าวโพดเพียงครึ่งฝักให้คาร์โบไฮเดรตเทียบเท่ากับข้าวสวย 1 ทัพพี แพทย์จึงไม่แนะนำให้รับประทานข้าวโพดและข้าวสวยในมื้อเดียวกัน เพื่อไม่ให้ร่างกายได้รับพลังงานมากเกินความจำเป็น
  • เส้นใยอาหาร ข้าวโพดมีเส้นใยอาหารสูง โดยข้าวโพดหวานที่ต้มแล้ว 1 ฝัก จะมีเส้นใยอาหารประมาณ 2.4 กรัม ส่วนข้าวโพดคั่ว 1 ถุง ที่หนักประมาณ 112 กรัม จะมีเส้นใยอาหารประมาน 16 กรัม ซึ่งคิดเป็น 42 เปอร์เซ็นต์ของปริมาณที่ร่างกายผู้ชายต้องการ/วัน และ 64 เปอร์เซ็นต์ของปริมาณที่ร่างกายผู้หญิงต้องการ/วัน
  • วิตามินและแร่ธาตุ ข้าวโพดแต่ละชนิดประกอบด้วยวิตามินและแร่ธาตุแตกต่างกันไป โดยข้าวโพดหวานอุดมไปด้วยวิตามินบี ซึ่งมีคุณสมบัติช่วยให้ร่างกายนำสารอาหารประเภทไขมัน คาร์โบไฮเดรต และโปรตีนไปใช้อย่างมีประสิทธิภาพ และยังมีวิตามินเอที่ช่วยบำรุงสายตาและเพิ่มประสิทธิภาพในการมองเห็น ส่วนข้าวโพดคั่วนั้นเป็นแหล่งอาหารสำคัญของแร่ธาตุหลายชนิด เช่น ฟอสฟอรัส แมกนีเซียม แมงกานีส สังกะสี และทองแดง แต่ข้าวโพดคั่วที่จำหน่ายตามท้องตลาดมักมีน้ำมัน เนย เกลือ หรือน้ำตาลเป็นส่วนผสม หากรับประทานมากเกินไปก็อาจก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพตามมาได้

สารต้านอนุมูลอิสระ ข้าวโพดอุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระหลายชนิดที่ช่วยป้องกันหรือยับยั้งความเสียหายของเซลล์ที่เกิดขึ้นจากอนุมูลอิสระ อันเป็นปัจจัยก่อโรคต่าง ๆ เช่น โรคมะเร็ง โรคหลอดเลือด เป็นต้น โดยข้าวโพดหวานที่คนส่วนใหญ่นิยมรับประทานประกอบด้วยกรดเฟอรูลิก (Ferulic Acid) และสารต้านอนุมูลอิสระในกลุ่มแคโรทีนอยด์ (Carotenoids) ซึ่งเป็นสารสีที่ให้สีเหลือง สีส้ม และสีแดงแก่พืชที่ได้พบในข้าวโพด เช่น ซีแซนทิน (Zeaxanthin) ลูทีน (Lutein) คริปโตแซนทิน (Cryptoxanthin) และเบต้าแคโรทีน (Beta Carotene)

เมนูสลัดเพื่อสุขภาพ คลิก!

Posted in HEALTHY FOOD
BACK
TO TOP
A Cuisine
Writer

© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.