โรคหัวใจ อาหารโรคหัวใจ

เรื่องต้องรู้ วิธีป้องกันโรคหัวใจ ด้วย 3 ซูเปอร์ฟู้ด

วิธีป้องกันโรคหัวใจ ด้วย 3 ซูเปอร์ฟู้ด ที่หาได้ไม่ยาก

วิธีป้องกันโรคหัวใจ นอกจากจะหลีกเลี่ยงความเครียดและหมั่นออกกําลังกายอย่างสม่ําเสมอแล้ว อาหารการกินก็เป็นอีกวิธีการสําคัญที่ช่วยป้องกันความผิดปกติของหัวใจได้

ก่อนหน้านี้ เราเคยแนะนําอาหารที่ผู้ป่วยโรคหัวใจควรหลีกเลี่ยง ได้แก่ อาหารรสหวาน มัน และเค็ม เพราะจะทําให้เกิดอาการแทรกซ้อนอื่นๆ ตามมาได้ ดังนั้น ตลอดเวลาที่ผ่านมาจึงมักแนะนําอาหารที่มาจากธรรมชาติและไม่ผ่านการปรุงแต่งให้แก่ผู้ป่วยโรคหัวใจ และคราวนี้เราก็ได้คัดสรร 3 สุดยอดอาหารป้องกันและบํารุงหัวใจมาเป็นพิเศษ เพื่อเป็นตัวช่วยป้องกันก่อนโรคหัวใจถามหา รับรองว่า ถูกอกถูกใจทุกคนแน่นอน

กระเทียม องครักษ์พิทักษ์หัวใจ  

เพราะกระเทียมได้ชื่อว่าเป็น สุดยอดสมุนไพร ที่มีสรรพคุณบํารุงหัวใจ และลดการอุดตันของไขมันในหลอดเลือดได้เป็นอย่างดี มีรายงานการวิจัยยืนยันแล้วว่า กระเทียมช่วยลดการรวมตัวของเกล็ดเลือดและทรอมบิน(Thrombin) ต้นเหตุที่ทําให้เลือดแข็งตัว จึงลดความเสี่ยงการเกิดภาวะไขมันอุดตันในเส้นเลือดและภาวะหัวใจ ขาดเลือดได้ การจะกินกระเทียมให้ได้รับประโยชน์สูงสุด ควรกินแบบสดๆ เพราะกระเทียมสดจะมีสารอัลลิซิน(Allicin) ที่สามารถลดระดับ คอเลสเตอรอลให้น้อยลงได้ โดยควรกินวันละ 800 มิลลิกรัม หรือประมาณ 7 กลีบ จะดีกับหัวใจมากที่สุด

พริก รสเผ็ดร้อน บํารุงหัวใจ

เนื่องจากพริกเป็นอาหารที่มีคุณสมบัติช่วยลดการแข็งตัวของเลือดเช่นกัน เนื่องจากมีการศึกษาในห้องทดลองพบว่า สารแคปไซซิน(Capsaicin) ในพริกสามารถลดการจับตัวของเกล็ดเลือดได้ และจากการศึกษาในมนุษย์ เมื่อให้กินพริกขี้หนูสดสับละเอียด 5 กรัม พร้อมน้ํา 1 แก้ว แล้ววัดค่าการจับตัวของเกล็ดเลือด หลังจากนั้น 1 ชั่วโมง พบว่า แคปไซซินช่วยยืดระยะเวลาในการจับตัวของเกล็ดเลือดให้ช้าลง

นอกจากนี้ ยังพบว่า สารดังกล่าวช่วยลดคอเลสเตอรอลชนิดไม่ดี พร้อมๆ กับเพิ่มคอเลสเตอรอลชนิดดีแก่ร่างกาย รวมถึงช่วยลดไตรกลีเซอไรด์ในกระแสเลือดให้ต่ําลง จึงทําให้ไม่มีไขมันไปอุดตัน เส้นเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจ การกินพริกจึงช่วยให้หัวใจแข็งแรง รักษาสมดุลระบบไหลเวียนโลหิต และบรรเทาอาการใจสั่น สําหรับใครที่ไม่รู้จะกินพริกอย่างไรดี เราขอแนะนําน้ําพริกแดงเมนูเผ็ดร้อนสําหรับคนรักหัวใจ เพราะมีส่วนผสมทั้งจากกระเทียมและพริก เป็นเมนูป้องกันภาวะ ไขมันอุดตันในเส้นเลือดและภาวะหัวใจขาดเลือด ยิ่งถ้าได้กินคู่กับ ข้าวกล้องร้อนๆ เคียงผักสุกและผักสดด้วยแล้ว จะยิ่งอร่อยแบบได้สุขภาพยกกําลังสอง

หอมหัวใหญ่ ผู้ช่วยสําคัญของคนรักหัวใจ

ถ้าพูดถึงอาหารสําหรับหัวใจแล้ว ไม่พูดถึงหอมหัวใหญ่ก็คงจะไม่ได้ เพราะเป็น อาหารที่ขึ้นชื่อในเรื่องบํารุงหัวใจและกระตุ้นระบบไหลเวียนโลหิตมาเนิ่นนานแล้ว ข้อมูลจากหนังสือสารานุกรมผักของ ศาสตราจารย์ ดร.ทวีทอง หงษ์วิวัฒน์ อธิบายไว้ว่า มีความเชื่อมาตั้งแต่สมัยคริสต์ศตวรรษที่ 16 ว่า หอมหัวใหญ่ช่วยรักษาหัวใจและเพิ่ม การหมุนเวียนเลือดในร่างกาย

โดยชาวฝรั่งเศสมักใช้หอมหัวใหญ่เลี้ยงม้าที่มีปัญหา เรื่องการไหลเวียนเลือด ต่อมาในปีค.ศ.1975 นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยนิวคาสเซิล ประเทศอังกฤษ ได้ศึกษาพบว่า หอมหัวใหญ่มีสารไซโคลอัลลิซิน(Cyclo-allicin) ช่วยละลายลิ่มเลือดที่จับตัวกันในหลอดเลือดได้ สอดคล้องกับงานวิจัยจากประเทศเนเธอร์แลนด์และฟินแลนด์ ที่พบว่า หอมหัวใหญ่ยังมีสารเควอร์ซิทิน(Quercetin) ซึ่งอยู่ในกลุ่มฟลาโวนอยด์(Flavonoid) พบมากในพืชผักตระกูลหอม มีสรรพคุณช่วยลดความเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจและเส้นเลือดในสมองอุดตันได้ และเมื่อ 38 ปีที่แล้ว นักวิจัยจากสถาบันวิจัยระบบหลอดเลือดแห่งเมืองบอสตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา ระบุว่า หอมหัวใหญ่ไม่เพียงลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือดเท่านั้น แต่ยังเพิ่มคอเลสเตอรอลดี(HDL:High-densityLipoprotein)ด้วย

อย่างไรก็ดี ก่อนจะนําไปปรุงอาหารบํารุงหัวใจ เรามีเทคนิคในการเลือก เก็บหั่นหอมหัวใหญ่ให้คงคุณภาพและความอร่อยมาฝากกัน

เลือกให้เป็น

ควรเลือกหัวขนาดกลางๆ เปลือกนอกตึง ไม่เหี่ยวหรือมีต้นอ่อนสีเขียวงอกออกมา

เก็บให้ดี

ควรเก็บในที่เย็น อากาศถ่ายเทสะดวก ไม่จําเป็นต้องแช่ตู้เย็นเก็บได้นานประมาณ 1 เดือน

วิธีหั่นให้ปราศจากน้ําตา

วิธีที่ 1 ปอกเปลือกออก ใช้มีดจิ้มรอบหัว นําไปแช่น้ําสักครู่ แล้วจึงค่อยนําขึ้นมาหั่น

วิธีที่2 แช่ในตู้เย็นประมาณ 10-20 นาที ค่อยนําออกมาหั่น

วิธีการ ป้องกันโรคหัวใจ-โรคหัวใจ-อาหาร-ผู้สูงอายุ-ซูเปอร์ฟู้ด
กระเทียมได้ชื่อว่าเป็น สุดยอดสมุนไพร ที่มีสรรพคุณบํารุงหัวใจ

อย่าลืมนําอาหารเหล่านี้ไปปรุงให้คนที่คุณรักดูบ้าง เป็นอีกหนึ่งเคล็ดลับดีๆที่จะถนอมความรักและรักษาหัวใจของเขา และเธอให้อยู่คู่กับคุณไปนานๆ


บทความอื่นที่น่าสนใจ

เริ่มต้นกินคีโต ต้องรู้อะไรบ้าง อาหารควรกินเเละไม่ควรกิน

โรคหน้าร้อน ยอดฮิต ของผู้สูงวัย

Q&A รู้ครบขั้นตอนการตรวจ รักษาโรคหัวใจ

สามารถติดตาม ชีวจิต ในช่องทางอื่นๆ ได้ที่

© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.