รู้หรือไม่ว่า? “ดนตรี” ช่วยกระตุ้นความทรงจำผู้สูงวัยได้!
เมื่อคนที่คุณรักต้องตกอยู่ในภาวะความจำเสื่อม สูญเสียความทรงจำหรือภาวะการรับรู้เสื่อมถอย ความทรงจำที่มีค่าค่อยๆจางและจากพวกเขาไปเรื่อยๆ นับว่าเป็นเรื่องท้าทายไม่น้อยที่จะสื่อสารและหาทางช่วยคนที่คุณรักได้กลับมาพบกับความทรงจำและความรู้สึกครั้งเก่าอีกครั้ง
นพ.เกียรติภูมิ วงศ์รจิต อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวว่า ปัจจุบันประเทศไทยเข้าสู่สังคมของ ผู้สูงวัย ซึ่งผู้สูงอายุมีจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ ปัญหาหลักสำคัญในผู้สูงอายุ คือ ปัญหาด้านสุขภาพ เนื่องจากการเปลี่ยนแปลง และ เสื่อมถอยของระบบต่างๆ ของร่างกายที่เกิดขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น การทำความเข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลงและเสื่อมถอยนี้ เป็นพื้นฐานสำคัญใน การดูแลส่งเสริมสุขภาพ รวมทั้งป้องกันปัญหาสุขภาพที่จะเกิดขึ้นในผู้สูงอายุ โดยปัญหาด้านโรคที่เกิดจากความเสื่อม ทั้งทางระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ เช่น ภาวะข้อเสื่อม โรคทางระบบประสาท เช่น ภาวะสมองเสื่อม และโรคพาร์กินสัน นับเป็นปัญหาที่มีความสำคัญในการตรวจประเมิน ดูแล รักษา ส่ง เสริมป้องกัน เพื่อให้ผู้สูงอายุที่มีปัญหาเหล่านี้ สามารถดำรงชีวิตได้โดยการพึ่งพาตนเองมากที่สุด และมีสุขภาพจิตมีคุณภาพชีวิตที่ดี
เพลงที่คุ้นเคย ช่วยกระตุ้นความทรงจำระยะยาว
หลายคนคงคุ้นเคยที่เวลาได้ยินเพลงที่เกี่ยวกับรักครั้งแรก หรือเพลงป๊อปที่ขึ้นชาร์จ ติดหู ล้วนชวนเรานึกถึงเหตุการณ์ต่างๆหรือบางเพลงฟังแล้วก็เกิดแฟลชแบล็คขึ้นมาแบบอัติโนมัติ นี่ก็เป็นเพราะว่า เพลงสามารถเชื่อมกับความทรงจำส่วนตัวของเราได้ และเมื่อเวลาผ่านไป ความทรงจำส่วนตัวเหล่านั้นก็กลายเป็นความทรงจำระยะยาว แต่ถึงอย่างไร เพลงนั้นก็ยังเชื่อมถึงความทรงจำตรงนั้นอยู่และยังสามารถพาคุณลงลึกไปเรียกอารมณ์เก่าๆของเราให้กลับมารู้สึกอีกครั้ง
เมื่อเพลงสามารถเรียกภาพความทรงจำของผู้สูงอายุ และกระตุ้นความทรงจำให้กลับคืนมา ป้องกันอัลไซเมอร์ได้ บทความที่เรานำเสนอในวันนี้จะเป็นเหมือนการพาผู้สูงวัยนั่งไทม์แมชชีนกลับไปชมนิทรรศการความทรงจำของเขาหรือเธอ ผ่านตัวแมชชีนที่ชื่อว่า “ดนตรี” กันค่ะ
มีผลงานวิจัยที่ระบุออกมาว่าผลลัพธ์หลังจากใช้ดนตรีบำบัดกับผู้สูงอายุนั้น ปรากฏว่า ผู้สูงวัยที่ค่อนข้างเงียบหรือไม่ค่อยสื่อสารสามารถเริ่มที่จะพูดหรือเริ่มเข้าสังคมได้มากขึ้น มีภาวะซึมเศร้าจะรู้สึกดีขึ้น เป็นผู้ที่เคลื่อนไหวได้น้อยสามารถขยับตัวได้มากขึ้น ผู้ป่วยแต่ละคนมีการตอบสนองที่ต่างกันไป ขึ้นอยู่กับการเสื่อมของสมองในส่วนของการรับรู้ ทั้งนี้ทั้งนั้น นับว่าเป็นโอกาสที่ดีที่คนที่คุณรักจะสามารถสัมผัสความรู้สึกดีๆ ในชีวิตได้อีกครั้ง
เลือกเพลงที่เหมาะสมและมีความส่วนบุคล
จริงๆ แล้วการเลือกเพลงตามช่วงวัยของผู้สูงอายุสามารถช่วยทำเพลย์ลิสต์( playlist) ได้ตรงเป้าหรืออาจจะไม่ตรงก็ได้ ดังนั้นขั้นตอนแรกที่ดีที่สุดคือการ “ถาม” แต่สำหรับผู้ป่วยอัลไซเมอร์อาจจะมีการสื่อสารที่ลำบากหรือขัดช้อง อาจจะต้องพึ่งคนในครอบครัวหรือเพื่อนสนิทของผู้ป่วย ซึ่งเราสามารถใช้คำถามได้ดังต่อไปนี้