ปวดคอ

ปวดคอ ปวดไหล่เกิดจาก อะไร ฮีลแบบไหน ด้วยธรรมชาติใกล้ตัว – ชีวจิต

ปวดคอ ปวดไหล่เกิดจาก อะไร ฮีลแบบไหน ด้วยธรรมชาติใกล้ตัว

ไม่ว่าจะเป็นการทำงานในออฟฟิศ หรือ work from home  หากหนุ่มสาววัยทำงานต้องนั่งหน้าคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน ก็ต้องประสบกับปัญหาการเจ็บปวด แม้จะฟังดูธรรมดา แต่อาการเหล่านี้กลับไม่ธรรมดาเอาซะเลย และผลจากการนั่งทำงานนาน ๆ ก็คือ ปวดคอ ปวดไหล่ ปวดไปตามร่างกาย วันนี้ชีวจิตจึงมาให้คำแนะนำวิธีการฮีลลิ่งง่าย ๆ ด้วยธรรมชาติใกล้ตัวของเรา โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญค่ะ

นายแพทย์ยุวพงศ์ สุทธินันท์ อธิบายท่านั่งทำงานผิดก่อโรคไว้ว่า  “กลุ่มอาการปวดพังผืดกล้ามเนื้อ (Myofascial Pain Syndrome) เป็นโรคที่พบได้มากขึ้นในปัจจุบัน โดยมีสาเหตุมาจากการใช้งานของกล้ามเนื้อให้หดตัวอยู่ในท่าเดิมเป็นเวลานานเกินไป เมื่อกล้ามเนื้อหดตัวแล้วคลายออกไม่ได้ จึงทำให้เกิดปมของกล้ามเนื้อ (Trigger Point) ปมของกล้ามเนื้อนี้เอง ที่ทำให้เกิดอาการปวด นอกจากปวดตรงตำแหน่งปมของกล้ามเนื้อ ผู้ป่วยบางคนยังปวดที่บริเวณอื่นร่วมด้วย อาทิ ปวดศีรษะ คอ และบ่า”

NATURAL HEALING

นายแพทย์ยุวพงศ์ สุทธินันท์ แนะนำว่าต้องแก้ที่สาเหตุ คือการปรับท่านั่งในการทำงาน โดย

  • ปรับท่านั่ง 

ปรับศีรษะให้อยู่ในแนวตรงเป็นเส้นตรงเดียวกับลำตัว (หากนั่งทำงานนวนควรมีที่พิงศีรษะ) และนั่งหลังตรงหรือพิงพนักเก้าอี้และไม่ห่อไหล่

สมุนไพร

อาจารย์มานพ ประภาษานนท์ ผู้เขียนหนังสือ คัมภีร์รักษาอาการปวดด้วยตัวเอง สำนักพิมพ์อมรินทร์สุขภาพ ได้แนะนำเรื่องประคบร้อนและประคบเย็น

  • ประคบร้อน – เย็น

อุปกรณ์  มีดังนี้ค่ะ

  1. ผ้าขนหนูขาดพอเหมาะกับคอหรือบริเวณที่ประคบ
  2. แหล่งความร้อน เช่น น้ำร้อน  หม้อนึ่ง
  3. แหล่งความเย็น เช่น น้ำแข็ง ตู้เย็น
  4. สมุนไพรฤทธิ์ร้อน เช่น  ขิง ข่า ตะไคร้ ใบมะกรูด ต้นหอม หอมหัวใหญ่ หอมเล็ก กะเพรา โหระพา ฯลฯ และฤทธิ์เย็น เช่น ลูกเดือย หัวไช้เท้า กวางตุ้ง ใบเตย ผักติ้ว ยอดตำลึง บัวบก ย่านาง ฯลฯ

วิธีรักษา

  1. ต้มสมุนไพรกับน้ำร้อนพอประมาณ หรือใช้ลูกประคบสมุนไพรนึ่งให้ร้อนพอสมควร
  2. ใช้ผ้าชุบน้ำสมุนไพรพอหมาด ๆ ประคบบริเวณที่มีอาการปวดและอาการตึงตัว หมั่นเปลี่ยนผ้าเพื่อรักษาอุณหภูมิให้ร้อนพอสบายตลอดเวลา ถ้าใช้ลูกประคบสมุนไพรก็ให้คลึงนวดไปตามกล้ามเนื้อด้วยยิ่งดี
  3. ใช้เวลา 10-20 นาทีตามความเหมาะสมของขนาดและความรุนแรง เรื่องเวลาไม่เคร่งตายตัวนัก ให้ทำเท่าที่รู้สึกว่ากล้ามเนื้อคลายตัวปวดน้อยลงก็พอ อย่าใช้ความร้อนนานเกินไป เพราะความร้อนจะสะสมมากจนร่างกายทั้งหมดเสียสมดุลได้
  4. ทำซ้ำบ่อย ๆ ตามต้องการ

เราอาจจะเลือกประคบร้อนหรือเย็นได้ตามความเหมาะสมในช่วงเวลานั้น ๆ แบบไหนประคบแล้วรู้สึกดีก็ให้ใช้แบบนั้นค่ะ  เพราะเราก็สามารถปรับตำราให้เหมาะสมกับตัวเรา นั่นคือสิ่งที่ดีที่สุด

อ่านเพิ่มเติม  ปวดคอ เมื่อยคอ แก้ได้ด้วยวิธีง่ายๆ จากสมุนไพรใกล้ตัว

ข้อมูลจาก : นิตยสารชีวจิต 523  และ คัมภีร์รักษาอาการปวดด้วยตัวเอง สำนักพิมพ์อมรินทร์สุขภาพ

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

5 วิธีรักษา อาการปวด ของคนทำงาน

© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.