7 พฤติกรรมสุขภาพปลอม ทําไปก็ไม่เวิร์ค
พูดถึง การดูแลสุขภาพ เป็นสิ่งที่สำคัญเหนือสิ่งอื่นใด เพราะแต่ละปีเมื่อเริ่มต้นปีใหม่หลายคนตั้งเป้าหมายการเริ่มต้นใหม่ ไม่ว่าจะเป็นหน้าที่การเรื่องงาน เป้าหมายการใช้ชีวิต รวมถึงการมีสุขภาพดีด้วย จะเห็นได้ว่าปัจจุบันคนหันมาสนใจ และ ใส่ใจในเรื่องสุขภาพกันมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการทำให้ตัวเองนอนหลับสบาย มีสุขภาพแข็งแรง หรือการหลุดพ้นจากความเครียดเมื่อเราเรียนรู้ที่จะดูแลสุขภาพกายและใจตัวเองให้ดีแล้ว เราก็จะสามารถดูแลตัวเองและจัดการกับความเครียดและภาระหน้าที่ต่าง ๆ ให้ดียิ่งขึ้นกว่าเดิม
รู้ไหมว่าหากอยากดูแลสุขภาพแต่กลับมีความเข้าใจที่ไม่ถ่องแท้ วิธีการเหล่านั้นก็แทบเปล่าประโยชน์ เผลอๆ จะเสียสุขภาพอีกด้วยคําแนะนําของพีท แมคคอล เทรนเนอร์มืออาชีพ และมิเชลโอลสัน ผู้เชี่ยวชาญด้านสรีรวิทยาการออกกําลังกายจากมหาวิทยาลัยออเบิร์น ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ระบุถึง 7 พฤติกรรมสุขภาพผิดๆ ที่หากคุณทําอยู่ จงหยุดเสียเดี๋ยวนี้
1.ใช้สมาร์ทโฟนขณะออกกําลังกาย ปกติแล้วการใช้ฟังก์ชันบนสมาร์ทโฟนอย่างชาญฉลาดย่อมมีผลดี แต่หากคุณคือคนที่ไม่ยอมละสายตาจากหน้าจอ เช่น หยิบขึ้นมาดู เช็กข่าวสาร แชตอยู่ตลอดเวลาแม้จะอยู่บนเทรดมิลล์ นั่นแปลว่าความสนใจของคุณถูกดึงดูดไปผิดจุด ทําให้คุณใช้เวลากับการออกกําลังกายได้ไม่เต็มที่
2.อยู่กับกิจกรรมเดิมๆ ติดต่อกัน การเข้าฟิตเนสแล้วเล่นแต่เครื่องบริหารชนิดเดิมๆ จะทําให้ร่างกายของคุณรู้จักแต่การขยับเขยื้อนแบบเดิมๆ กระตุ้นกล้ามเนื้อในจุดเดิมๆ ดังนั้นควรทํากิจกรรมให้หลากหลาย เพื่อให้ร่างกายทุกส่วนได้ใช้งานอย่างเต็มประสิทธิภาพ
3.อยู่แต่บนโซฟาในวันพักผ่อน การเอาแต่นอนดูทีวีอยู่บนโซฟาจะทําให้ร่างกายไม่ได้ขยับเขยื้อนส่งผลให้อัตราการเต้นของหัวใจไม่สูงพอ ระบบเผาผลาญพลังงานต่างๆ ก็เฉื่อยชาไปด้วย จึงควรเปิดโอกาสให้ร่างกายได้ผ่อนคลายความเมื่อยล้าสะสมจากการทํางานด้วยการออกไปทํากิจกรรมเพื่อให้ร่างกายได้ยืดเหยียด และหัวใจได้ทํางานอย่างมีประสิทธิภาพ
4.โฟกัสแต่จุดที่มีปัญหา หลายคนมัวแต่บริหารหรือให้ความสนใจรูปร่าง เฉพาะส่วนที่อยากให้ดูดีที่สุดแต่กลับลืมว่ารูปร่างที่ดีมาจากภาพลักษณ์ของร่างกายโดยรวม ดังนั้นการให้ความสําคัญกับภาพในมุมที่กว้างขึ้นจะให้ผลลัพธ์ที่ดีกว่า เช่น โฟกัสร่างกายช่วงบนทั้งหมดไปเลย
5.วอร์มอัพก่อนการยืดเหยียด การยืดเหยียดกล้ามเนื้อก่อนการวอร์มอัพจะทําให้กล้ามเนื้อเกิดการตึงตัวและอาจเกิดอาการบาดเจ็บหรือทําให้ออกกําลังกายได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ ทางที่ดีควรเคลื่อนไหวร่างกายก่อน เช่น การแกว่งแขน ไปมา การซอยเท้าอยู่กับที่เพื่อวอร์มอัพร่างกายจะเป็นวิธีที่ถูกต้องและสนับสนุน ให้คุณออกกําลังกายได้ดียิ่งขึ้น
6.ไม่สนใจเวลาอาหาร คนที่ลดน้ำหนักมักละเลยเวลากิน หรือพยายามกินให้น้อยที่สุด แต่หารู้ไม่ว่าชนิดอาหารและเวลาในการกินมีส่วนสําคัญอย่างมาก มีงานวิจัยระบุว่า หากกินอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตก่อนการออกกําลังกายที่ต้องใช้แรงต้านจะช่วยยืดเวลาการออกกําลังกายได้ และหากกินหลังออกกําลังกายภายใน 1 ชั่วโมงจะช่วยให้ร่างกายสังเคราะห์โปรตีนได้ดียิ่งขึ้นด้วย
7.เลิกกินคาร์บโดยสิ้นเชิงต่อจากข้อ 6 คือมีคนจํานวนไม่น้อยที่เลิกกิน อาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตไปเลยเพราะคิดว่าเป็นอาหารที่ให้พลังงานสูง และกลัวจะเหลือสะสมในร่างกายแต่ความเป็นจริงแล้วร่างกายยังต้องการคาร์โบไฮเดรตอยู่ เพราะเป็นตัวช่วยในการสังเคราะห์โปรตีนและเมื่อทํางานร่วมกันจะช่วยเพิ่มการกักเก็บไกลโคเจนในกล้ามเนื้อซึ่งส่งผลให้กล้ามเนื้อแข็งแรงแต่ถึงอย่างนั้นก็ควรเลือก กินคาร์โบไฮเดรตที่ดี เช่น ข้าวไม่ขัดสี ข้าวกล้อง ข้าวซ้อมมือ ขนมปังโฮลวีตหากหยุดพฤติกรรมผิดๆ
ทั้งหมดที่กล่าวมาได้ รับรองว่าวิถีการดูแลสุขภาพของผู้อ่านจะมีคุณภาพมากขึ้นหลายเท่าตัว การมีสุขภาพดีและแข็งแรงเป็นพื้นฐานของการมีชีวิตที่ดี ถือเป็นวิธีที่ทำให้ตัวเองมีความสุขได้ง่ายที่สุด เพราะเมื่อเรามีสุขภาพที่ดีแล้วเราก็จะมีความพร้อมมากพอในการทำกิจกรรมต่างๆ ได้อย่างมีคุณภาพ รวมถึงสามารถใช้เวลากับคนที่คุณรักได้ยาวนานกว่าที่เคย
ยิ่งไปกว่านั้นสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงสมบูรณ์และการมีสุขภาพจิตที่ดี ไม่เพียงแต่จะทำให้คุณสามารถสัมผัสกับความสุขที่อยู่ตรงหน้าได้อย่างเต็มที่เท่านั้น แต่มันยังเป็นแหล่งกำเนิดของความสุขด้วยตัวของมันเอง และมันคงไม่ใช่เรื่องที่ยากลำบากอะไรถ้าคุณจะหันมาใส่ใจกับสุขภาพเสียแต่บัดนี้ เพื่อที่คุณจะได้มีความสุขได้มากขึ้นในทุกวันที่ผ่านไป
ที่มา : นิตยสาร ฉบับที่ 433
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ