กินเท่าไรก็ไม่อิ่ม กินได้เรื่อยๆ กินตลอดเวลา หรือบางครั้งกินทีครั้งละมากๆ (หมายถึงมากจนผิดปกติกว่าคนทั่วไป) แบบนี้อาจเข้าข่ายอาการผิดปกติ มาลองสังเกตกันว่าตัวเราหรือคนรอบข้างมีอาการแบบนี้บ้างไหม ?
โรคที่เกิดขึ้นขึ้นมีชื่อเรียกว่า “Binge Eating Disorder” เป็นการที่เราสามารถกินอาหารหมดได้อย่างรวดเร็ว หรือกินในปริมาณมากๆ มากจนเกินคนทั่วไป อาจจะเกิดขึ้นได้เป็นบางช่วง ซึ่งเวลาที่เกิดขึ้นมักจะไม่สามารถควบคุมตัวเองได้
สำหรับโรคนี้เป็นไปได้ว่า ได้รับการพัฒนามาจาก การที่เรากินอาหารตามอารมณ์มากเกินไป แต่จะมีความแตกต่างกันที่หากเป็นการกินตามอารมณ์จะมีเรื่องของ ความสุข ความเศร้า ความเครียดเข้ามาเกี่ยวข้อง
โดยสาเหตุที่ทำให้เกิดขึ้น ทางการแพทย์ยังหาสาเหตุที่ชัดเจนไม่ได้อย่างชัดเจน แต่สันนิษฐานว่า เกิดจาก 3 อย่างนี้
– เคยลดน้ำหนักโดยใช้วิธีที่ผิดมาก่อน
– มีปัญหาทางด้านครอบครัว ที่มีผลกระทบต่อจิตใจโดยตรง
– ความเครียดสะสม
โรคนี้มักจะพบมากที่วัยรุ่นตอนปลาย ช่วงอายุ 23 ปี และมักพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย เพราะมันพัฒนามาจากการกินที่ผิดปกติ การลดน้ำหนักที่ผิดวิธี ไม่ยอมกินอาหาร นานวันเข้ามันได้พัฒนากลับมาเป็นอีกขั้ว คือกินเท่าไรก็ไม่รู้จักพอ
ลองเช็กอาการเบื้องต้นว่าเราหรือคนรอบตัวเข้าข่ายโรคนี้กันหรือยัง ?
– ทุกครั้งที่เริ่มกินอาหาร รู้สึกว่าไม่สามารถควบคุมปริมาณอาหารที่กินได้
– ถึงแม้จะไม่รู้สึกหิว หากมีคนมาชวนกินก็สามารถกินได้แถมยังกินได้ในปริมาณที่มากกว่าคนอื่น
– กินอาหารด้วยความรวดเร็ว หมดก่อนคนอื่นเสมอ เฉลี่ยแล้วกินไวมากเกินไป
– ยังสามารถกินอาหารได้อีก ถึงแม้ว่าจะรู้สึกแน่นท้อง
– เมื่อมีความเครียดเกิดขึ้น หรือมีเรื่องที่ทำให้หงุดหงิด จะกินมากขึ้นกว่าเดิมอย่างมาก แต่เมื่อมีสติจะรู้สึกผิด และรู้สึกเฟลกับเรื่องที่เกิดขึ้น
– พยายยามจะควบคุมอาหาร ควบคุมน้ำหนักตัวเอง แต่กลับทำในสิ่งที่ตรงกันข้าม คือกินไม่หยุด และมารู้สึกแย่กับตัวเองหลังกินอาหารเสร็จ
– หลบหน้าคนอื่น เพราะรู้สึกอาย เครียด กังวลว่าคนอื่นจะรู้ว่าเรากินมากกว่าปกติ
หากมีอาการตามที่ลิลต์ไว้เกิน 3 ข้อ แนะนำว่าควรไปพบแพทย์เพื่อหาวิธีรักษากันต่อไป
ที่มา : Ramkhamhaeng Hospital