วิธีปฏิบัติ เดินตลาด ซูเปอร์มาร์เก็ต หลังรัฐบาลผ่อนปรน การแพร่ระบาดโควิด-19
เมื่อจำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 ลดลงเรื่อยๆจนถึงหลักหน่วย มาตรการเเรกๆที่จะให้คนในประเทศสามารถใช้ชีวิต ประกอบอาชีพได้อย่างปกติ หลักจากหยุดชะงักมาร่วมเดือน คือการผ่อนปรนให้สามารถเปิดตลาด ร้านอาหาร ซูเปอร์มาร์เก็ตได้
เเต่ผู้ใช้บริการอย่างเราใช่ว่าจะปลอดภัย ล่าสุดรัฐบาลได้ออกมาตรการและข้อปฏิบัติสำหรับเอาใจขาช้อป คนเดินตลาด ร้านอาหาร เพื่อเป็นแนวทางในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมใหม่ในการดำเนินชีวิต
1.ร้านอาหารทั่วไป ร้านเครื่องดื่ม ขนมหวาน ไอศกรีม (นอกห้างสรรพสินค้า) ร้านอาหารริมทาง/ รถเข็น/หาบเร่/ ซุปเปอร์มาร์เก็ตหรือร้านสะดวกซื้อในบริเวณพื้นที่นั่งหรือยืนรับประทานอาหาร (ไม่รวมถึงสถานบริการ ผับ บาร์)
มีแนวทางปฏิบัติสําหรับผู้ใช้บริการ มีดังต่อไปนี้
การเตรียมตัวก่อนใช้บริการ
1.หากผู้ใช้บริการมีอาการป่วย ไข้ ไอ จาม หรือเป็นหวัด ให้งดการไปรับประทานอาหาร ที่ร้านอาหาร
2. ควรพิจารณาจองคิวล่วงหน้า ด้วยระบบออนไลน์ โทรศัพท์ หรือจองคิวหน้าร้าน และควรเว้น ช่วงที่มีผู้ใช้บริการจํานวนมาก
3. ควรงดไปรับประทานอาหารที่ร้านอาหารเป็นกลุ่ม เพื่อลดการพูดคุย
ระหว่างและหลังการใช้บริการ
1. ควรตรวจสอบความสะอาดของสถานที่ ภาชนะ การจัดที่นั่ง ก่อนนั่งรับประทานอาหาร เพื่อให้ใช้บริการได้อย่างปลอดภัย
2. ระหว่างรอคิวและชําระเงิน ให้เว้นระยะห่างตามจุดหรือสัญลักษณ์ที่ร้านอาหารกําหนด
3. ให้สวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้าอยู่เสมอ ทั้งก่อนและหลังรับประทานอาหาร
4. ให้ล้างมือทุกครั้งก่อนรับประทานอาหาร
5. ควรพูดโดยใช้ระดับเสียงปกติ ไม่ควรตะโกนหรือเปิดหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้าในขณะอยู่ในร้านอาหาร และเลี่ยงไอ จาม ใกล้ผู้อื่น ระหว่างนั่งรับประทานอาหารหากมีการไอ หรือจาม ให้ปิด ปาก และจมูกให้สนิท
6. ไม่ทิ้งกระดาษชําระใช้แล้วลงในจานอาหารหรือบนโต๊ะ ให้ทิ้งในถังที่จัดไว้เท่านั้น
7. ผู้ใช้บริการควรแจ้งหน่วยงานที่รับผิดชอบ หากพบว่าการให้บริการไม่เป็นไปตามมาตรการ ป้องกันควบคุมโรค ตามแนวทางประชาสัมพันธ์ของจังหวัด
2. ร้านค้าปลีกขนาดย่อม/ร้านค้าปลีกชุมชน แผงลอย รถเร่หรือรถคล้ายคลึงกันวิ่งจําหน่ายสินค้า อุปโภคบริโภค ซุปเปอร์มาร์เก็ต ร้านสะดวกซื้อ กิจการส่งอาหารและสินค้า
มีแนวทางปฏิบัติสําหรับผู้ใช้บริการ มีดังต่อไปนี้
การเตรียมตัวก่อนใช้บริการ
1.หากผู้ใช้บริการมีอาการป่วย ไข้ ไอ จาม หรือเป็นหวัด ให้งดการไปใช้บริการที่ร้านค้า ซุปเปอร์ มาร์เก็ต ร้านสะดวกซื้อ
2. ควรพิจารณาจองคิวล่วงหน้า สั่งซื้อสินค้า หรือบริการด้วยระบบออนไลน์ หรือโทรศัพท์ ช่วงที่มี ผู้ใช้บริการจํานวนมาก
ระหว่างและหลังการใช้บริการ
1. ควรตรวจสอบความสะอาดของสถานที่ การจัดที่นั่ง ก่อนใช้บริการ เพื่อให้ใช้บริการได้อย่าง ปลอดภัย
2. ระหว่างรอคิวและชําระเงิน ให้เว้นระยะห่างตามจุดหรือสัญลักษณ์ที่ร้านค้า ซุปเปอร์มาร์เก็ต ร้านสะดวกซื้อกําหนด
3. ให้สวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้าอยู่เสมอ ระหว่างการเข้ารับบริการ รวมทั้งล้างมือทุกครั้ง หลังรับสินค้า
4. ควรพูดโดยใช้ระดับเสียงปกติไม่ควรตะโกนหรือเปิดหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้าในขณะอยู่ ในร้านค้า ซุปเปอร์มาร์เก็ต ร้านสะดวกซื้อ และเลี่ยงไอ จาม ใกล้ผู้อื่น ระหว่างนั่งรับประทาน อาหารหากมีการไอ หรือจาม ให้ปิด ปาก และจมูกให้สนิท
5. ตรวจสอบคุณภาพอาหารและสินค้าทันทีหลังได้รับจากร้านค้า หลีกเลี่ยงสั่งซื้ออาหารและสินค้า กลุ่มเสี่ยง เช่น อาหารประเภทเนื้อสัตว์หรือเครื่องในสัตว์ที่ปรุงไม่สุก อาหารที่เน่าเสียง่าย
6. ผู้ใช้บริการควรแจ้งหน่วยงานที่รับผิดชอบ หากพบว่าการให้บริการไม่เป็นไปตามมาตรการ ป้องกันควบคุมโรค ตามแนวทางประชาสัมพันธ์ของจังหวัด และผู้ประกอบการ
7. อาจพิจารณาใช้แอปพลิเคชั่นลงทะเบียนเพื่อให้สามารถบันทึกข้อมูลวันและเวลา การใช้บริการ ในร้านค้า ซุปเปอร์มาร์เก็ต ร้านสะดวกซื้อ เพื่อให้ตดิ ตามกรณีพบผู้ป่วยมาใช้บริการในขณะเวลา เดียวกัน
8. หลังการใช้บริการ หากมีอาการป่วยจากการติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ และได้พบแพทย์ให้แจ้ง ประวัติการเข้าใช้บริการในร้านค้า ซุปเปอร์มาร์เก็ต ร้านสะดวกซื้อ พร้อมทั้งระบุวันที่และเวลา การเข้าใช้บริการด้วย
3. ตลาดสด ตลาดนัด ตลาดน้ํา ตลาดชุมชน
มีแนวทางปฏิบัติสําหรับผู้ใช้บริการ มีดังต่อไปนี้
การเตรียมตัวก่อนใช้บริการ
1. หากผู้ใช้บริการมีอาการป่วย ไข้ ไอ จาม หรือเป็นหวัด ให้งดการไปตลาดและที่สาธารณะอื่น ๆ
2. วางแผนการซื้อสินค้าที่ต้องการล่วงหน้า เพื่อซื้อสินค้าได้สะดวกรวดเร็ว
ระหว่างและหลังการใช้บริการ
1. สวมหน้ากากผ้าหรือหน้ากากอนามัยตลอดเวลา
2. หมั่นล้างมือด้วยสบู่ หรือแอลกอฮอล์เจล 70% สําหรับทําความสะอาด ก่อนและหลัง การเข้ามาใช้บริการตลาด รวมทั้งหลังจากการใช้ห้องสุขาสาธารณะ
3. ระมัดระวังไม่ให้มือสัมผัสใบหน้า ตา จมูก ปาก
4. ระหว่างรอคิวและชําระเงิน ให้เว้นระยะห่างตามจุดหรือสัญลักษณ์ที่ตลาดกําหนด
5. ผู้ใช้บริการควรแจ้งหน่วยงานที่รับผิดชอบ หากพบว่าการให้บริการไม่เป็นไปตามมาตรการ ป้องกันควบคุมโรค ตามแนวทางประชาสัมพันธ์ของจังหวัด
6. อาจพิจารณาลงทะเบียนในแอปพลิเคชั่นเพื่อให้สามารถบันทึกข้อมูลวันและเวลา การใช้ บริการในตลาด เพื่อให้ติดตามกรณีพบผู้ป่วยมาใช้บริการในขณะเวลาเดียวกัน
7. หลังการใช้บริการ หากมีอาการป่วยจากการติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ และได้พบแพทย์ให้ แจ้งประวัติการเข้าใช้บริการในตลาด พร้อมทั้งระบุวันที่และเวลาการเข้าใช้บริการด้วย
อย่าลืมนำ วิธีปฏิบัติ เดินตลาด ซูเปอร์มาร์เก็ต เหล่านี้ปรับประยุกต์ใช้ในชีวิต เพื่อป้องกันลดการแพร่เชื้อโควิด-19 นะคะ
อ้างอิง : คู่มือการปฏิบัติตามมาตรการผ่อนปรนกิจการและกิจกรรม เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 สําหรับประเภทกิจการและกิจกรรม กลุ่มที่ 1 (สีขาว) โดยกระทรวงสาธารณสุข
อ่านเพิ่มเติม
รับมือกับ โควิด-19หลังประกาศปลดล็อค