บอกต่อทางรอด หัวใจล้มเหลว

หัวใจล้มเหลว ความเป็น ความตาย ในชั่วเสี้ยววินาที

หัวใจล้มเหลว นับเป็นสาเหตุการเสียชีวิตของผู้คนเป็นอันดับต้นๆ และแม้ว่าส่วนใหญ่จะเกิดในผู้สูงอายุ แต่คนอายุน้อยที่ร่างกายแข็งแรงก็อาจหัวใจล้มเหลวได้ อย่างที่ไม่น่าเชื่อเลยทีเดียว และที่น่าตกใจมากกว่าก็คือ แนวโน้มคนที่มีภาวะดังกล่าวอายุน้อยลงเรื่อยๆ ทั้งนี้ก็เป็นผลมาจากการใช้ชีวิตเป็นหลักเลยล่ะค่ะ

ทำความเข้าใจ หัวใจล้มเหลว

หัวใจล้มเหลว หลายคนเข้าใจว่าเป็นโรค และหมายถึงอยู่ๆ หัวใจก็หยุดทำงานไปเสียดื้อๆ แต่ที่จริงแล้วไม่ใช่แบบนั้นเลยค่ะ เพราะที่จริงแล้ว เรื่องเป็นแบบนี้

  • ไม่ใช่ภาวะที่อยู่ๆ หัวใจก็หยุดทำงานไปอย่างกระทันหัน แต่เป็นภาวะที่หัวใจทำงานผิดปกติ ทำงานได้ไม่เต็มที่เหมือนเดิม เปรียบเสมือนการล้มเหลวในหน้าที่นั้นเอง โดยมาจาก 2 กรณีคือ
    • กล้ามเนื้อหัวใจสูบฉีบเลือดน้อยลง ส่งผลให้การไหลเวียนของเลือดน้อยลงตามไปด้วย หัวใจจึงต้งบีบตัวให้มากขึ้น เพื่อให้ได้เลือดในปริมาณเท่าเดิมเพื่อไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆ ของร่างกาย กล้ามเนื้อหัวใจที่ถูกบีบให้ทำงานหนักจึงอ่อนแรง และหยุดทำงานในที่สุด
    • เกิดจากความผิดปกติของโครงสร้างหัวใจ ไม่ว่าจะเป็น เยื่อหุ้มหัวใจ กล้ามเนื้อหัวใจ ลิ้นหัวใจ และหลอดเลือด ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญ โดยโรคที่ทำให้เกิดความผิดปกตินี้คือ โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ (ที่มาจากไขมันอุดตัน) โรคความดันโลหิตสูง นอกจากนั้นยังอาจเกิดจากความผิดปกติแต่กำเนิด เช่น โรคลิ้นหัวใจรูมาร์ติก โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด
  • เป็นภาวะที่ทำให้หัวใจอ่อนแอ

    สำหรับภาวะหัวใจล้มเหลว มีด้วยกัน 2 แบบคือ

    • ภาวะหัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน เป็นภาวะอันตราย ที่ทำให้เสียชีวิตได้ในทันทีทันใด
    • ภาวะหัวใจล้มเหลวเรื้อรัง เป็นภาวะที่ทำให้หัวใจอ่อนแอ มักเกิดปัญหาน้ำขังในปอด และหัวใจจะมีปัญหาภาวะหัวใจล้มเหลวมากขึ้น จนเสียชีวิตในที่สุด

    เซ็กอาการต้องสงสัย

    หากสงสัยว่า ตัวเองหรือคนใกล้ชิดเสี่ยงต่อภาวะหัวใจล้มเหลวหรือไม่ ให้หมั่นสังเกตอาการสุ่มเสี่ยงตาม 5 ข้อนี้

    • เหนื่อยง่ายกว่าปกติ โดยสังเกตจากการออกแรงทำกิจกรรมในชีวิตประจำวัน ว่ารู้สึกเหนื่อยง่ายกว่าที่เคยทำได้
    • นอนราบไม่ได้ นอนราบแล้วเหนื่อย อึดอัด หรือไอ ต้องลุกนั่งจึงจะดีขึ้น
    • น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งมากกว่า 2 กิโลกรัม ภายใน 2 วัน
    • ข้อเท้าหรือหน้าแข้งบวม ซึ่งอาจเกิดจากการคั่งของน้ำและเกลือ
    • เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน หรือแน่นท้อง ซึ่งอาจเกิดจากน้ำคั่งในช่องท้อง และตับ

    ถ้าพบว่าเข้าข่ายอาการข้างต้น ควรเข้ารับการตรวจวินิจฉัยจากแพทย์ โดยปกติแล้วผู้ป่วยมักมาด้วยอาการ น้ำขังในร่างกาย เช่น เหนื่อยหอบง่าย หายใจไม่สะดวก อ่อนแรง ไม่มีเรี่ยวแรง มีอาการบวม หรือคิดอะไรไม่ออก และเบื่ออาหาร

    หัวใจล้มเหลว

    กลุ่มเสี่ยง หัวใจล้มเหลว

    กลุ่มเสี่ยงที่จะเกิดภาวะหัวใจล้มเหลวนั้น นอกจากภาวะผิดปกติแต่กำเนิดแล้ว โรคประจำตัวบางโรค ก็เป็นตัวเพิ่มความเสี่ยงได้ ไม่ว่าจะเป็น

    • โรคหัวใจขาดเลือด (หลอดเลือดหัวใจ)
    • โรคของกล้ามเนื้อหัวใจ ( Dilated cardiomyopathy)
    • โรคลิ้นหัวใจรั่ว โรคลิ้นหัวใจตีบ
    • โรคความดันโลหิตสูง
    • ภาวะโลหิตจาง (ภาวะซีด)
    • ไทรอยด์เป็นพิษ (ไฮเปอร์ไทรอยด์)
    • ผู้ที่มีหยุดยาความดันโลหิตสูงกระทันหัน

    สำหรับผู้ที่เกิดภาวะหัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน อาจมีสาเหตุมาจากภาวะภาวะลิ่มเลือดอุดตันหลอดเลือด

    ปรับพฤติกรรม ลดความเสี่ยง

    พฤติกรรมการกิน

    การดูแลตัวเองให้ห่างไกลจากภาวะหัวใจล้มเหลว ทำได้ด้วยการใส่ใจ รักษาสุขภาพให้ดีตามแนวทางส่งเสริมสุขภาพ ทั้งเรื่องอาหาร การพักผ่อน และการ ออกกำลังกาย โดยเฉพาะหนึ่งพฤติกรรมที่ควรหลีกเลี่ยงคือ การรับประทานอาหาร ที่มีเกลือหรือโซเดียมสูง เพราะเป็นปัจจัยส่งเสริมให้ผู้คนเกิดภาวะหัวใจล้มเหลว มากขึ้นในปัจจุบัน โดยเฉพาะผู้ป่วยที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง หากบริโภคอาหารรสเค็ม หรือโซเดียมสูงเป็นประจำอาจทำให้เกิดอาการบวมน้ำ น้ำท่วมปอด และภาวะ หัวใจล้มเหลวกำเริบได้ ข้อแนะนำคือ การปรุงอาหารรับประทานเองจะสามารถ ควบคุมปริมาณโซเดียมได้ ซึ่งใน 1 วันควรบริโภคเกลือไม่เกิน 2 กรัมหรือ 1 ซ้อนชา หากเป็นน้ำปลาไม่ควรเกิน 4 ช้อนซา เชื่อเถอะว่า แค่เปลี่ยนพฤติกรรมการกิน ก็ลดความเสี่ยงได้แล้ว

    เลิกบุหรี่

    มีรายงานการศึกษาพบว่า การสูบบุหรี่จะเป็นการเพิ่มเความเสี่ยงของภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน อันเป็นหนึ่งในสาเหตุหัวใจล้มเหลวสูงกว่าคนที่ไม่สูบบุหรี่ถึง 10 เท่า และเป็นการเร่งความเสื่อมของหลอดเลือดได้มากกว่าผู้ที่ไม่สูง 10 – 15 ปี เลยทีเดียว

    สำหรับการหยุดสูบบุหรีเพียงไม่กี่ชั่วโมง ก็จะทำให้อัตราการเต้นของหัวใจช้าลง ส่งผลต่อความดันโลหิตที่จะต่ำลงไปด้วย นอกจากนั้นแล้วยังความแข็งแรงของหัวใจยังเพิ่มขึ้นตามระยะเวลาที่เลิกสูบบุหรี่ สำหรับผู้ที่มีปัญหาโรคหัวใจ หากเลิกสูบบุหรี่ โอกาสที่จะกลับมาเป็นภาวะหลอดเลือดเลือดหัวใจตีบตันเฉียบพลันซ้ำจะลดลงถึง 50%

    ข้อมูลจาก

    • โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย
    • โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์
    • โรงพยาบาลกรุงเทพ
    • โรงพยาบาลพญาไทย

    บทความอื่นที่น่าสนใจ

    CPR ช่วยชีวิตคน ต้องทำให้ถูก

    วิตามินบี 12 ป้องกันโรคหัวใจ ฉบับคนกินมังสวิรัติ

    10 แหล่งโอเมก้า-3 บำรุงสมอง หัวใจ ป้องกันซึมเศร้า

    ติดตามชีวจิตได้ที่

    Instagram Cheewajitmedia
    Facebook นิตยสารชีวจิต

    © COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.