การได้ยิน

6 SIGNS CHECK ผู้สูงวัยสูญเสียการได้ยินจากโรคเบาหวาน

6 SIGNS CHECK ผู้สูงวัยสูญเสียการได้ยินจากโรคเบาหวาน

มีผู้สูงอายุจำนวนไม่น้อยที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานและต่อมามีอาการสูญเสียการได้ยินร่วมด้วย โดยพบว่ามีจำนวนมากเป็น2 เท่าของผู้ป่วยสูญเสียการได้ยินทั่วไป ที่สำคัญในกลุ่มของผู้สูญเสียการได้ยินที่ไม่ได้เป็นโรคเบาหวานก็พบว่ามีระดับกลูโคสในเลือดสูงและมีแนวโน้มจะป่วยเป็นโรคเบาหวานในอนาคตได้เช่นกันด้วยเหตุนี้

เหตุนี้สมาพันธ์โรคเบาหวานสหรัฐอเมริกา (American Diabetes Association) จึงแนะนำการสังเกต 6 อาการ ที่เป็นสัญญาณการสูญเสียการได้ยินในกลุ่มนี้ให้คุณสังเกตผู้สูงวัยใกล้ตัว

  1. ถามบางคำถามซ้ำบ่อยๆ
  2. พบปัญหาการสื่อสารผิดพลาดคลาดเคลื่อนมากกว่า 2 ครั้งขึ้นไป
  3. มักรู้สึกหูแว่ว ได้ยินคนในบ้านบ่นหรือแอบต่อว่าบ่อย ๆ
  4. มีปัญหาการสื่อสารในพื้นที่กว้าง หรือพื้นที่ที่มีผู้คนจอแจอย่างชัดเจน เช่น เมื่ออยู่ในร้านอาหาร ห้างสรรพสินค้า หรือในงานกิจกรรมกลางแจ้งต่าง ๆ
  5. มีปัญหาการฟังเสียงที่ไม่เข้มอย่างเสียงผู้หญิงหรือเสียงพูดของเด็กเล็ก
  6. เปิดทีวีหรือวิทยุเสียงดังจนคนข้างเคียงทนไม่ได้ แต่ยังคงรู้สึกว่าได้ยินไม่ชัดเช่นเดิม

ปัญหาหูผู้สูงวัย

หากคุณพบเห็นสัญญาณลักษณะนี้ในผู้สูงอายุใกล้ตัว ควรรีบพาท่านไปตรวจการได้ยินรวมถึงตรวจโรคเบาหวานโดยละเอียดก่อนจะสูญเสียการได้ยินอย่างถาวรนะคะ

CAREGIVERS MUST KNOW! เทคนิคใส่ใจตัวเองเมื่อต้องเป็น “ผู้ดูแลคนป่วย”

การได้ดูแลคนที่เรารักนอกจากสร้างความนับถือตัวเองให้มากขึ้นแล้ว ยังเพิ่มความพร้อมในการรับมือปัญหายากๆ ได้ง่ายขึ้น

วันนี้เรามี 4 คำแนะนำดีๆ ที่จะช่วยให้ผู้ดูแลสุขภาพแข็งแรงไปด้วยกันค่ะ

  1. ผู้ดูแลผู้ป่วยเรื้อรังส่วนใหญ่มักประสบปัญหา ความดันโลหิตสูง คำแนะนำคือ ควรแบ่งเวลาออกไปทำในสิ่งที่ชอบจะช่วยให้ภาวะความดันโลหิตสูงลดลงได้
  2. ผู้ดูแลมักมี ความรู้สึกกดดัน จากการดูแลผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุ แนะนำให้ออกกำลังกาย หรือนัดเพื่อนสนิทกินข้าวพูดคุยหรือระบายความกังวลใจ ก็เป็นอีกทางที่ช่วยได้

หูไม่ดี

  1. กล้าเอ่ยปากขอความช่วยเหลือเมื่อจำเป็น โดยหากรู้สึกกดดันมากๆ ควรขอความช่วยเหลือคนใกล้ชิดคนอื่นมาดูแลผู้ป่วย เพื่อหาเวลาพักให้ตัวเอง
  2. ให้ความสำคัญกับสุขภาพของตัวเองความคิดที่ว่าสุขภาพของผู้ป่วยเรื้อรังสำคัญมากกว่าสุขภาพของตนเองนั้นเป็นสิ่งผิดผู้ดูแลต้องให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพตัวเองมากๆ ทั้งเรื่องอาหารการกินการออกกำลังกาย และการพักผ่อน รวมถึงหากมีโรคประจำตัวก็ต้องให้ความสำคัญกับการกินยาให้ตรงเวลาด้วย

ทำได้ทุกข้อที่กล่าวมาสุขภาพของคุณซึ่งเป็นผู้ดูแลก็จะแข็งแรง และพร้อมจะดูแลผู้ป่วยหรือผู้สูงวัยที่คุณรักไปได้อย่างต่อเนื่องยาวนานค่ะ

ที่มา: นิตยสารชีวจิต ฉบับ511

 

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ 

เครื่องชั่งน้ำหนักแบบไหน เหมาะกับผู้สูงวัยที่เรารักมากที่สุด

รู้หรือไม่! ติดเชื้อบ่อยอาจทำตาบอดในผู้สูงอายุ

สุขภาพจิตของผู้สูงวัย คือเรื่องสำคัญที่ทุกคนต้องใส่ใจ

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.