บอกต่อทางรอด“ภาวะหัวใจล้มเหลว”

ภาวะหัวใจล้มเหลว นับเป็นสาเหตุการเสียชีวิตของผู้คนเป็นอันดับต้นๆ และแม้ว่าส่วนใหญ่จะเกิดในผู้สูงอายุ แต่คนอายุน้อยที่ร่างกายแข็งแรงก็อาจหัวใจล้มเหลวได้

เซ็กอาการต้องสงสัย

หากสงสัยว่า ตัวเองหรือคนใกล้ชิดเสี่ยงต่อภาวะหัวใจล้มเหลวหรือไม่ ให้หมั่นสังเกตอาการสุ่มเสี่ยงตาม 5 ข้อนี้

-เหนื่อยง่ายกว่าปกติ โดยสังเกตจากการออกแรงทำกิจกรรมในชีวิตประจำวัน ว่ารู้สึกเหนื่อยง่ายกว่าที่เคยทำได้

-นอนราบไม่ได้ นอนราบแล้วเหนื่อย อึดอัด หรือไอ ต้องลุกนั่งจึงจะดีขึ้น

-น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งมากกว่า 2 กิโลกรัม ภายใน 2 วัน

-ข้อเท้าหรือหน้าแช้งบวม ซึ่งอาจเกิดจากการคั่งของน้ำและเกลือ

-เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน หรือแน่นท้อง ซึ่งอาจเกิดจากน้ำคั่งในช่องท้อง และตับ

ถ้าพบว่าเข้าข่ายอาการข้างต้น ควรเข้ารับการตรวจวินิจฉัยจากที่มแพทย์ ซึ่งปัจจุบันทำได้ 2 ทาง ทั้งการตรวจที่โรงพยาบาล และปรึกษาแพทย์ผ่านระบบ การรักษาทางไกล หรือ Telemedicine เมื่อรู้ตัวเร็วก็จะรักษาได้เร็วขึ้น

ปรับการกิน ลดความเสี่ยง

การดูแลตัวเองให้ห่างไกลจากภาวะหัวใจล้มเหลว ทำได้ด้วยการใส่ใจ รักษาสุขภาพให้ดีตามแนวทางส่งเสริมสุขภาพ ทั้งเรื่องอาหาร การพักผ่อน และการ ออกกำลังกาย โดยเฉพาะหนึ่งพฤติกรรมที่ควรหลีกเลี่ยงคือ การรับประทานอาหาร ที่มีเกลือหรือโซเดียมสูง เพราะเป็นปัจจัยส่งเสริมให้ผู้คนเกิดภาวะหัวใจล้มเหลว มากขึ้นในปัจจุบัน โดยเฉพาะผู้ป่วยที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง หากบริโภคอาหารรสเค็ม หรือโซเดียมสูงเป็นประจำอาจทำให้เกิดอาการบวมน้ำ น้ำท่วมปอด และภาวะ หัวใจล้มเหลวกำเริบได้ ข้อแนะนำคือ การปรุงอาหารรับประทานเองจะสามารถ ควบคุมปริมาณโซเดียมได้ ซึ่งใน 1 วันควรบริโภคเกลือไม่เกิน 2 กรัมหรือ 1 ซ้อนชา หากเป็นน้ำปลาไม่ควรเกิน 4 ช้อนซา เชื่อเถอะว่า แค่เปลี่ยนพฤติกรรมการกิน ก็ลดความเสี่ยงได้แล้ว

ข้อมูลจาก โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย

บทความอื่นที่น่าสนใจ

ว่าด้วยเรื่องของ “ริดสีดวง” ถาม-ตอบหมดเปลือกไม่ต้องอาย

รู้ทันอาการ น้ำตาลสูง น้ำตาลต่ำ

รู้หรือไม่? แอลกอฮอล์ ส่งผลต่อสมองและสายตา

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.