ลิ้นหัวใจซ่อมได้ …. ไม่ต้องเปลี่ยน

      โรคหัวใจเป็นโรคที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศ ทุกวัย แม้ว่าคุณจะทานอาหารที่ถูกต้องเหมาะสม ได้รับการพักผ่อนที่เพียงพอ หรือแม้แต่ออกกำลังกายอยู่เป็นประจำ สิ่งเหล่านี้ไม่ได้เป็นเครื่องยืนยันว่า คุณจะรอดพ้นจาก โรคหัวใจ แต่ทราบหรือไม่ ?
      นอกจากปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ที่กล่าวมาข้างต้น ลิ้นหัวใจรั่ว นับเป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคหัวใจได้ เพราะลิ้นหัวใจนั้น เกี่ยวข้องกับหัวใจของเราโดยตรง ถ้าหากเกิดรั่ว หรือทำงานผิดปกติขึ้นมา หัวใจของเราจะไม่สมารถทำงานได้อย่างเต็มที่ หรืออาจส่งผลร้ายแรงถึงขั้นหัวใจวายได้

shutterstock_171523613

ลิ้นหัวใจเป็นส่วนหนึ่งของระบบไหลเวียนหลอดเลือดในร่างกาย การทำงานของลิ้นหัวใจเปรียบเสมือนวาล์วน้ำ ทำหน้าที่หลักคือ คอยกั้นระหว่างห้องของหัวใจให้เลือดไหลไปในทิศทางเดียวกันไม่ไหลย้อนกลับ เพื่อให้ระบบหัวใจทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
      คนเรามีหัวใจ 4 ห้อง และมีลิ้นหัวใจไว้ เพื่อกั้นห้องหัวใจในแต่ละห้อง โดยจะแบ่งเป็น 2 ชนิด ได้แก่
1. ลิ้นหัวใจที่กั้นระหว่างหัวใจห้องบน และหัวใจห้องล่าง
2. ลิ้นหัวใจที่กั้นอยู่บริเวณหลอดเลือดอาร์เตอรีที่ออกจากหัวใจ เพื่อไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ซึ่งบางครั้งลิ้นหัวใจอาจเกิดความผิดปกติขึ้น เช่น ลิ้นหัวใจตีบ เปิดออกได้ไม่เต็มที่ หรือลิ้นหัวใจรั่วปิดไม่สนิทในช่วงเวลาที่ควรจะปิด ส่งผลให้หัวใจต้องทำงานหนักขึ้น เพื่อชดเชยความผิดปกติดังกล่าวหากเกิดความผิดปกติติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน จะทำให้เกิดภาวะลิ้นหัวใจตีบและรั่วได้

shutterstock_176855243

สำหรับโรคที่เกิดขึ้นจากความผิดปกติของลิ้นหัวใจ มี 3 ประเภทคือ
1. ลิ้นหัวใจรูมาติค (Rheumatic heart disease) : เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย และเชื้อแบคทีเรียได้เข้าไปทำลายเนื้อเยื่อ ระบบภูมิคุ้มกัน รวมถึงลิ้นหัวใจ ส่งผลให้ลิ้นหัวใจเกิดพังพืดและหินปูนมาเกาะ จนไม่สามารถเปิด – ปิด ได้เหมือนปกติทั่วไป ทำให้ลิ้นหัวใจเกิดการตีบ หรือรั่วขึ้น และอาจส่งผลถึงขั้นหัวใจวายได้
2. ลิ้นหัวใจเสื่อมสภาพตามวัย (Degenerative) : เกิดจากการที่ลิ้นหัวใจเสื่อมสภาพตามอายุ ส่วนมากจะพบได้ในคนอายุ 40 ปีขึ้นไป เนื่องจากความยืดหยุ่นของเนื้อเยื่อที่เสื่อมสภาพไป ทำให้ลิ้นหัวใจผิดรูป เกิดการเปิดปิดที่ไม่สนิท ซึ่งจะทำให้เกิดอาการลิ้นหัวใจรั่วได้
3. เส้นเลือดหัวใจตีบ : เกิดจากการที่กล้ามเนื้อตาย อ่อนแรง เมื่อหัวใจตีบนานๆ ก็จะทำให้ลิ้นหัวใจรั่ว ส่วนใหญ่จะเป็นกับคนอายุ 50 – 60 ปี
      สาเหตุหลักที่ทำให้คนส่วนใหญ่เสียชีวิตจากลิ้นหัวใจรั่ว มักมีความเข้าใจผิดว่า หากเป็นโรคนี้แล้วต้องรักษาโดยการผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจ ความจริงแล้วการรักษาลิ้นหัวใจ ยังสามารถทำได้อีกวิธีคือ การซ่อมลิ้นหัวใจนั่นเอง ปัจจุบันการรักษาลิ้นหัวใจมีการพัฒนาให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น นอกจากการรักษาแบบเปลี่ยนลิ้นหัวใจแล้ว ทางโรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพ ยังมีการรักษาแบบซ่อมลิ้นหัวใจ ซึ่งการซ่อมลิ้นหัวใจ เป็นการซ่อมแซ่มลิ้นหัวใจเดิม ดังนั้นจึงไม่มีการใช้ลิ้นหัวใจที่เป็นโลหะ หรือลิ้นหัวใจที่ทำจากเยื้อหุ้มหัวใจหมู หรือวัว เข้าไปแทนที่ ข้อดีทำให้ผู้ป่วยไม่ต้องทานยาละลามลิ่มเลือดควบคู่ไปด้วยตลอดชีวิต
shutterstock_384724927
      ใครที่มีข้อสงสัยว่า การผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจมีความแตกต่างจากการซ่อมลิ้นหัวใจอย่างไร ทางโรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพมีคำแนะนำจาก นายแพทย์ทวีศักดิ์ โชติวัฒนพงษ์ ( PCU Director of Cardiovascular Surgery / Cardiothoracic Surgeon โรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพ) “สำหรับการเปลี่ยนลิ้นหัวใจยังเป็นวิธีการรักษาที่ดีที่สุด แต่การซ่อมลิ้นหัวใจจะเป็นวิธีการหนึ่งที่ดี เพื่อทำให้คนไข้มีชีวิตใกล้เคียงกับคนทั่วไป และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นเมื่อเทียบกับการเปลี่ยนลิ้นหัวใจ เนื่องจากการซ่อมลิ้นหัวใจ คนไข้ไม่ต้องกินยาละลายเลือด และไม่เกิดปัญหาแทรกซ้อนจากการกินยา หรือเกิดปัญหาจากลิ้นหัวใจเทียม และที่สำคัญผู้หญิงยังสามารถมีบุตรได้ตามปกติ”
      วิธีการดูแลตัวเองหลังจากการซ่อมลิ้นหัวใจเรียบร้อยแล้วนั้น คุณหมอทวีศักดิ์ มีข้อแนะนำว่า สามารถใช้ชีวิตได้อย่างตามปกติทั่วไป แต่ขอให้พยายามรักษาสุขภาพตนเองด้วยคือ
1. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ แต่ไม่ควรหักโหมจนเกินไป
2. หลีกเลี่ยงอาหารรสจัด โดยเฉพาะรสเค็ม
3. พักผ่อนให้เพียงพอ
4. ห้ามสูบบุหรี่
5. สามารถดื่มแอลกอฮอล์ได้ แต่อยู่ปริมาณที่พอดี
      สำหรับใครที่สงสัยว่าตนเอง เป็นลิ้นหัวใจรั่วหรือไม่ คุณหมอทวีศักดิ์ มีวิธีการสังเกตตัวเองง่าย ๆ ดังนี้
1. มีอาการบวมของท้อง หรือขา
2. เห็นเส้นเลือดดำที่บริเวณคออย่างชัดเจน
3. เหนื่อยเร็วกว่าปกติที่เคยเป็น อยู่เฉย ๆ ก็เหนื่อย
4. ไม่สามารถนอนราบได้
shutterstock_383964799

      หากมีอาการดังกล่าวให้มาพบแพทย์โดยด่วน ….. การมาพบแพทย์ไม่ใช่เรื่องน่ากังวลอีกต่อไป รีบตรวจเสียตั้งแต่ตอนนี้เพื่อเป็นการป้องกันตนเองจากความเสี่ยงของโรคร้ายในอนาคต
      โรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพ มีทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในการรักษา และมีเครื่องมือแพทย์ที่ทันสมัยได้มาตรฐาน มีเครือข่ายโรงพยาบาลครอบคลุมทั่วประเทศ สามารถให้คำปรึกษา หรือแม้กระทั่งทำการผ่าตัดให้ได้อย่างทันท่วงที อีกทั้งยังมีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในการฝึกอบรมให้ความรู้แก่แพทย์ด้วยกันอีกด้วย ถือได้ว่าเป็นการให้บริการด้านโรคหัวใจในทุกด้าน
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ โรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพ โทร. 0 2310 3000 หรือ โทร.1719

© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.