จริงหรือมั่ว 5 ความเชื่อเรื่องการออกกำลังกาย ที่หลายคนยังไม่ได้คำตอบ
ความเชื่อเรื่องการออกกำลังกาย มีอะไรบ้าง ไม่เจ็บไม่ได้กล้าม กล้ามเนื้อยาวขึ้นได้ ออกกำลังกายลดน้ำหนัก กินแป้งเยอะๆ ก่อนออกกำลังกาย เช้าและเย็นคือเวลาเพื่อการออกกำลังกาย ความเชื่อเหล่านี้ ควรทำตามจริงหรือ
หากการตั้งเป้าเหลาหุ่นต้องมีบุคคลตัวอย่างไว้เป็นแรงบันดาลใจ หลายคนก็มักจะยึดเคล็ดลับหรือคําแนะนําจากเทรนเนอร์กูรู และบล็อกเกอร์ที่ตัวเองชื่นชอบ แต่ข้อมูลเหล่านั้นอาจมีทั้งถูกต้องและผิดถนัด เราจึงขอชวนทุกคนมาเช็กคําแนะนําที่ได้มาว่า ควรทําตามหรือบอกผ่าน มาดูกันเลยค่ะ
1. หากอยากลดน้ำหนักก็ต้องออกกำลังกาย
มั่ว: แม้การออกกําลังกายจะเป็นเรื่องดี เกิดประโยชน์มากมาย แต่การจะลดน้ําหนักให้สําเร็จ จะต้องหยุดบริโภคพลังงานเกินความจําเป็นร่วมด้วย
จริง: ควรกินอาหารสุขภาพอย่างเพียงพอ แต่ไม่เกินความต้องการ การรับพลังงานจากอาหารให้น้อยเข้าไว้คือกุญแจสําคัญและการมีเพื่อนร่วมอุดมการณ์ลดหุ่นด้วยจะยิ่งดี ข้อมูลจากวารสารวิชาการเกี่ยวกับโรคอ้วน (Journal Obesity) ระบุว่า คนที่ตั้งใจจะลดความอ้วนไปพร้อมๆ เพื่อน จะส่งอิทธิพลในการไปถึงเป้าหมายต่อกันและกัน
2. ไม่บาดเจ็บก็ไม่ได้อะไร
มั่ว: คํากล่าวนี้จัดเป็นกลยุทธ์การออกกําลังกายในระยะยาวที่ผิดถนัด นายแพทย์ไมเคิล ออตโต ผู้เขียนหนังสือ Exercise for Mood and Anxiety กล่าวว่า ไม่จําเป็นต้อง
“เจ็บ” เพราะเราสามารถได้รับประโยชน์ต่อสุขภาพนี้โดยเจ็บปวดน้อยที่สุด และการออกกําลังกายใดๆ ที่สร้างความเจ็บปวด ล้วนเป็นสิ่งที่ต้องหลีกเลี่ยง
จริง: แค่เลือกออกกําลังกายระดับปานกลางประมาณสัปดาห์ละ 4-5 ครั้ง ครั้งละ 40 นาที ไม่ว่าจะเป็นเดิน วิ่งจ๊อกกิ้ง เต้นรํา ว่ายน้ํา เล่นบาสเกตบอล ก็เพียงพอต่อการตักตวงประโยชน์เพื่อสุขภาพ
3. เราสามารถเพิ่มความยาวของกล้ามเนื้อได้
มั่ว: เชน ดอลล์ เทรนเนอร์อาชีพจากชาร์ลสตัน เซาท์ แคโรไลนา ประเทศสหรัฐอเมริกา ระบุว่า คํากล่าวนี้เป็นไปไม่ได้ เพราะในวัยผู้ใหญ่อย่างเราๆ ความยาวของข้อต่อหรือกระดูกต่างๆ จะไม่เปลี่ยนแปลงแล้ว ดังนั้นการเล่นเวตหรือพิลาทีสให้แขนเรียวยาวขึ้นจึงเป็นไปไม่ได้
จริง: แม้จะเพิ่มความยาวของกล้ามเนื้อไม่ได้ แต่หากอยากให้แขนเรียวสวย เชน แนะนําการออกกําลังกายที่มีแรงต้าน เช่น การเล่นยางยืด โดยมีความถี่อยู่ที่ 8-20 ครั้งต่อ
1 เซต โดยแต่ละเซตใช้เวลาราวๆ 30 วินาที จะช่วยรักษารูปร่างและเรียวแขนให้กระชับได้
อ่านต่อหน้า 2
4. อัดคาร์โบไฮเดรตให้เยอะก่อนออกกำลังกาย
มั่ว: แนนซี่ คลาร์ก ผู้เชี่ยวชาญด้านโภชนาการและผู้เขียนหนังสือคู่มือโภชนาการการกีฬา ให้ข้อมูลไว้ว่า “หากคุณไม่ได้คิดจะออกกําลังกายเกิน 90 นาที ในวันรุ่งขึ้น คุณ
ก็ไม่จําเป็นต้องกินคาร์โบไฮเดรตมากกว่าความต้องการปกติ”
จริง: หากต้องการเตรียมตัวเพื่อกิจกรรมเรียกเหงื่อ สิ่งที่ต้องทํามีเพียงกินอาหารตามปกติ เน้นอาหารสุขภาพที่ประกอบไปด้วยธัญพืช 2 ใน 3 ส่วน แป้ง ผักผลไม้ และโปรตีน 1 ใน 3 ส่วน
5. ช่วงเวลาที่ออกกำลังกายที่ดีที่สุดคือเช้าและกลางคืน
มั่ว: เพื่อนบางคนอาจบอกว่าตอนเช้าดีที่สุด เพราะเปี่ยมพลังงาน ช่วยกระตุ้นระบบเผาผลาญ อีกคนหนึ่งก็บอกว่ากลางคืนดีที่สุด จะได้เผาผลาญทุกอย่างที่กินมาทั้งวัน แล้วอย่างนี้ใครกันที่คิดถูก เชน ดอลล์ มีความเห็นว่า หากจะเผาผลาญไขมัน ไม่มีช่วงไหนดีไปกว่ากัน เพราะยังมีอีกหลายๆ ปัจจัยที่มีส่วนช่วยให้การออกกําลังกายมีประสิทธิภาพ ทั้งอาหารการกินและพฤติกรรมในชีวิตประจําวัน
จริง: เวลาที่ดีที่สุดคือเวลาที่คุณพร้อมจะออกกําลังกายอย่างเต็มที่และสามารถจัดการกับตารางชีวิตของตัวเองได้ ไม่ใช่ทําเพราะคิดว่าเป็นเวลาที่ควรทํา แต่ทําเพราะพร้อมที่จะทําต่างหากคือหัวใจสําคัญ
หวังว่าข้อมูลเหล่านี้จะช่วยปรับความเข้าใจเกี่ยวกับการออกกําลังกายเพื่อรูปร่างที่ดี ให้รู้สึกผ่อนคลายและมีความสุขในการเวิร์คเอ๊าต์ครั้งต่อไป
บทความอื่นที่น่าสนใจ