อัลไซเมอร์

อดมื้อเช้า อาจทำเสี่ยง อัลไซเมอร์

อัลไซเมอร์ ถามหาแน่ ถ้าอดมื้อเช้าเป็นประจำ

คนส่วนใหญ่มักไม่ใส่ใจมื้อเช้า ซึ่งเป็นมื้อสำคัญ โดยไม่รู้ว่านั่นจะทำให้เสี่ยงต่อการป่วยด้วย อัลไซเมอร์ หรืออาการสูญเสียความทรงจำ

ทุกวันนี้คนทำงานเป็นโรคเรื้อรัง หรือที่อาจารย์สาทิส อินทรกำแหง กูรูต้นตำรับชีวจิต เรียกว่า “โรคไม่ใช่โรค” ซึ่งเกิดจากไลฟ์สไตส์ ได้แก่ การกิน นอน พักผ่อน ทำงาน และออกกำลังกายไม่สมดุล

คนทำงานจำนวนไม่น้อย ขอกินอาหารเช้าแบบจัดเต็ม ทั้งข้าวกล้อง ผัก ปลา ผลไม้ เพราะเขาและเธอต่างมีประสบการณ์เหมือนกันว่า การกินขนมปัง (ขาว) และดื่มกาแฟ (หวาน มัน เข้มข้น) แทนมื้อเช้า นอกจากทำให้เกิดอาการวิ้งในช่วงสาย ๆ แล้ว ในระยะยาวคงหนีไม่พ้นป่วยเป็นโรคอัลไซเมอร์ เหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น เรามีคำตอบมาเล่าสู่กันฟังค่ะ

แพทย์หญิงสิรินทร ฉันศิริกาญจน ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ได้อธิบายไว้ในบทความเรื่อง “อดอาหารเช้าทำร้ายสมอง” สรุปความได้ว่า การส่งเลือดมาเลี้ยงสมองเป็นการส่งเลือดโดยตรงจากหัวใจ แตกต่างจากอวัยวะส่วนอื่น ๆ ๆ ที่จะมีสต๊อกเลือดหล่อเลี้ยงไว้ตลอดเวลา หากเลือดที่ส่งมามีคุณภาพ คือมีระดับน้ำตาลในเลือดพอดี ไม่สูงหรือต่ำมากเกินไป จะช่วยให้การทำงานของสมองมีประสิทธิภาพ

การงดอาหารเช้าหรือกินอาหารไม่มีคุณภาพย่อมทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดน้อยลงหรือเพิ่มมากขึ้น ซึ่งส่งผลให้เซลล์สมองบางตัวหยุดทำงาน ดังนั้น คุณภาพของอาหารเช้าจึงมีความสำคัญต่อสุขภาพสมองมากเช่นกัน

อาจารย์สาทิส อินทรกำแหง กูรูต้นตำรับชีวจิต อธิบายได้ว่า “อาหารและเครื่องดื่มต่าง ๆ เป็นตัวเอก สิ่งแวดล้อมเป็นตัวรอง ถ้าได้สองอย่างรวมกัน แรก ๆ ก็คงไม่เป็นอะไรนัก ส่วนมากจะเริ่มที่ระบบหายใจก่อน หายใจฟืดฟาด น้ำมูกไหลประจำ ต่อไปก็ไอ เสมหะเต็มคอ

ปีที่สองปีป่วยเพราะแอมเมิลลอยด์อ่อน ๆ ยังไม่เป็นอะไรนัก สักห้าปีชักกระเสาะกระแสะ พอคลานได้ แต่ 10 ปี ก็แสดงอาการทำท่าจะไม่ไหว ถ้า 80 ปีก็เลยรับประกาศนียบัตรจำตัวเองไม่ได้ ลืมหมดทุกอย่าง นั่นก็คืออัลไซเมอร์

ตกลงอัลไซเมอร์ไม่ใช่มีอาการวันสองวันก็เป็นแล้ว แต่มักจะเริ่มด้วยไม่มีอาการ แล้วก็อาการน้อย จากนั้นก็เริ่มพรวดพราดเป็นมากๆ”

How-to ป้องกัน อัลไซเมอร์ ง่ายนิดเดียว

เห็นไหมคะว่า การป่วยเป็นอัลไซเมอร์อยู่ที่พฤติกรรมทำมา ไม่ได้ปุ๊ปปั๊ปเป็นฉับพลัน และก็สามาถป้องกันได้ด้วยการเริ่มลงมือปฎิบัติเสียตั้งแต่วันนี้ โดยเฉพาะเริ่มที่การกินอาหารเช้าอย่างมีคุณภาพ อาจารย์สาทิสแนะนำวิธีป้องกันไว้ดังนี้ค่ะ

  1. กินอาหารแบบชีวจิต

(มีสูตรอาหารสูตร 1 และ 2) พร้อมกันนั้นให้เน้นกินผักและผลไม้ที่มีโลโคปีน (Lycopene) สารนี้มีอยู่ในผักและผลไม้สีแดง เช่น มะเขือเทศ แครอต แตงโม ส้มโอแดง สารไลโคปีนนี้เป็นสารชนิดเดียวกับแคโรทีนไลโคปีน (Carotene Lycopene) ซึ่งจะช่วยสร้างโฟเลต (Folate) ในเลือด และโฟเลตจะช่วยทำลายโฮโมซิสเตอีน(Homocysteine) ซึ่งเป็นกลุ่มแอมเมิลลอยด์และเป็นตัวซ้ำเติมให้สมองฝ่อเร็วขึ้น

ควรกินผลไม้สดและผักสดให้มากขึ้นด้วย (ล้างให้สะอาด ระวังสารพิษ ยาฆ่าแมลง ยาปราบศัครูพืชในผักและผลไม้)

  1. วิตามินบำรุงสมอง

กินวิตามินซี ขนาด 1,000 มิลลิกรัม 1 เม็ด 2 มื้อ เช้า – เย็น

กินวิตามินกลุ่มบี คือ บี 1 บี 2 บี 6 บี 12 และบีคอมเพล็กซ์ อย่างละ 1 เม็ด วันเว้นวัน (ให้กินแยกอย่างละตัว อย่าใช้วิตามินรวม เพราะโดส (Dose) ของยาไม่พอ)

กินโคเอนไซม์คิวเทน (Coenzyme Q10) ขนาด 100 หรือ 200 มิลลิกรัม ครั้งละ 1 เม็ด วันเว้นวัน

กินใบแปะก๊วย (Ginkgo Biloba) ขนาด 100 – 200 มิลลิกรัม ครั้งละ 1 เม็ด วันเว้นวัน

กินซีลีเนียม (Selenium) 200 ไมโครกรัม 1 เม็ด ทุกวัน

กินแคลเซียม ขนาด 200 มิลิกรัม 1 เม็ด ทุกวัน

กินแมกนีเซียม ขนาด 100 มิลิกรัม 1 เม็ด ทุกวัน

การกินวิตามินและแร่ธาตุที่แนะนำให้กินวันเว้นวันนั้น ให้นำจำนวนเม็ดทั้งหมดมารวมกัน แล้วจึงแบ่งออกเป็น 2 พวกเท่า ๆ กัน กินวันเว้นวัน สลับกัน 2 พวก อย่ากินวันเดียว สมมติว่าแบ่งออกเป็น 2 พวก กลุ่ม A วันนี้ รุ่งขึ้นกินกลุ่ม B วันต่อไปกินกลุ่ม A สลับกันไปอย่างนี้ตลอด

ไม่อยากป่วยเป็นอัลไซเมอร์ กินอาหารให้ครบทุกมื้อ และควรเป็นอาการชีวจิต รับรองว่า สมองไบรท์ ห่างไกลอัลไซเมอร์ค่ะ

ข้อมูลเรื่อง “รู้ยัง! อดมื้อเช้า อัลไซเมอร์ ถามหา” เขียนโดย ชมนาด จากคอลัมน์ Healthy Lifestyle นิตยสารชีวจิต ฉบับที่ 340

บทความอื่นที่น่าสนใจ

เพราะอากาศเปลี่ยนแปลงบ่อย โรคซึมเศร้า จึงสัมพันธ์กับฤดูกาล

วิธี ฝึกกล้ามเนื้อ “ป้องกันล้ม” ในผู้สูงวัย

เรื่องต้องรู้ เมื่อจะ “ล้างจมูก”

ลืมความกังวล ด้วยกิจกรรมง่ายๆ วันละ 5 นาที

ติดตามชีวจิตได้ที่

Instagram Cheewajitmedia
Facebook นิตยสารชีวจิต

© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.