ลืม ความกังวล ด้วยกิจกรรมง่ายๆ วันละ 5 นาที

ลืม ความกังวล ด้วยกิจกรรมง่ายๆ วันละ 5 นาที ทำตามสิ สุขภาพจิตดีจริง

หลังจากทำงานหนักมาทั้งวัน และยังมีอีกหลายเรื่องให้คิด เราลองมาฝึกลืม ความกังวล ด้วยกิจกรรมง่ายๆ วันละ 5 นาที ซึ่งจะช่วยให้จิตใจของเราแจ่มใส และมีความสุขกันเถอะ

คนคิดบวกลืมความทรงจำแย่ๆ เก่ง

ในโลกนี้มีคนที่สามารถสับเปลี่ยนอารมณ์ได้อย่างรวดเร็ว แม้จะทำอะไรผิดพลาดก็สามารถเริ่มสิ่งอื่นต่อได้ทันที ที่จริงแล้วคนแบบนี้ยังสามารถลืมความทรงจำแย่ๆ ได้อย่างรวดเร็วอีกด้วย

ความทรงจำจะฝังอยู่ในสมองกลีบขมับซึ่งอยู่ในสมองใหญ่ก่อนเป็นอันดับแรก และจะถูกดึงออกมาเพื่อส่งต่อไปยังสมองส่วนหน้ำ และเก็บไว้ในความจำใช้งาน การลืมก็คือสภาพที่แม้ความทรงจำจะยังหลงเหลืออยู่ในสมองกลีบขมับ แต่ถูกลบไปจากความจำใช้งานซึ่งอยู่ในสมองส่วนหน้า

เราไม่สามารถลบความทรงจำออกจากสมองได้ทั้งหมดก็จริง แต่ถ้ามันไม่อยู่ในความจำใช้งานแล้วก็ยากที่จะนึกออก โดยสรุปแล้วถ้าอยากจะลืม อย่างนัอยเราก็ต้องทำให้มันหายไปจากความจำใช้งานซึ่งต้องอาศัยการเปลี่ยนบรรยากาศ ด้วย

คั่นจังหวะให้ชีวิตประจำวัน

การเปลี่ยนบรรยากาศนั้นใช่ว่าเราต้องทำอะไรเป็นพิเศษ ขอเพียงแค่ให้คั่นจังหวะการใช้ชีวิตประจำวันเหมือนเวลาเราใส่จุดลงที่ท้ายประโยคเพื่อแสดงการจบประโยคก็พอ

การที่ไม่เก็บความเครียดไว้อีกต่อไปนั้นเป็นเพราะรู้จักการคั่นจังหวะนี้เอง ตั้งแต่เด็กจนถึงราวๆ สมัยมหาวิทยาลัย เรามีนิสัยชอบคิดมากไม่เลิกเวลาทำอะไรผิดพลาด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความสัมพันธ์กับคนอื่นหรือเรื่องความรัก หากพลาดขึ้นมาก็จะซ้ำเติมตัวเองเกินพอดีอยู่เรื่อย

จนมาวันหนึ่งก็คิดขึ้นมาได้ว่า ทำอย่างนั้นไปก็ไม่ได้เกิดผลดีขึ้นมาแต่อย่างใด้ จากนั้นพอมีเรื่องอะไรกังวลขึ้นมา ก็จะไม่ค่อยย้ำคิดย้ำทำมากเท่าเดิมอีกต่อไป

ถ้าถามว่าเราจะคั่นจังหวะให้ชีวิตประจำวันอย่างไร มันมีกลวิธีอยู่ ทั้งนี้ ไม่ใช่การพยายามฝืนเปลี่ยนความรู้สึก แต่ต้องอาศัยการทำแบบฝึกหัด นั่นก็คือ ให้ทำอะไรที่เป็นการเคลื่อนไหวร่างกายสักอย่างละ 5 นาที เช่น ทำความสะอาดบ้าน ล้างจาน อาบน้ำ เดินเล่น หรือวิ่ง เพื่อคั่นจังหวะชีวิตประจำวัน รวมทั้ง สับเปลี่ยนความรู้สึกไปด้วยพร้อมๆ กัน

ข้อดีของตัวอย่างกิจกรรมง่ายๆ เหล่านี้คือ มันทำให้เราสามารถทำกิจกรรมสั้นๆ ได้อย่างมีสมาธิ ทำให้ความทรงจำที่ไม่ต้องการไม่มีโอกาสเข้ามาฝังตัวอยู่ในความจำใช้งานได้นั่นเอง

นอกจากนี้ การมีสมาธิจดจ่อกับกิจกรรมที่ได้เคลื่อนไหวร่างกายก็ถือเป็น การใช้ชีวิตอยู่กับ “ปัจจุบันขณะ” ด้วย ในทางตรงกันข้าม สภาพที่มีความกังวล ไม่เลิกต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่งแสดงให้เห็นว่าเราถูกระบบความทรงจำเข้าครอบงำและ ไม่สามารถอยู่กับ “ปัจจุบันขณะ”ได้ ดังนั้นข้อสำคัญก็คือ ถ้าเราทำท่าจะถูกความทรงจำเข้าครอบงำ ให้รีบขยับตัวทำอะไรทันที

ข้อมูลจาก หนังสือฝึกสมอง ให้สมอง มีแต่ความสุข

บทความอื่นที่น่าสนใจ

พาใจของเรากลับบ้าน เรียนรู้ที่จะอยู่กับปัจจุบัน

10 วิธี ดูแลจิตใจ เจอหนักแค่ไหนก็เอาอยู่

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.