ป้องกันปวด

รวมเคล็ดลับ ป้องกันปวด หลังออกกำลังกาย

รวมเคล็ดลับ ป้องกันปวด หลังออกกำลังกาย

อาการปวดหลังออกกำลังกาย โดยทั่วไปนั้น เกิดได้จาก 3 สาเหตุ ได้แก่ การไหลเวียนเลือดไม่ดี การไหลเวียนน้ำเหลืองมีปัญหา หรือมีการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อ หรือเส้นเอ็นบริเวณนั้น ทั้งนี้เพื่อ ป้องกันปวด หลังออกกำลังกาย เรามีวิธีดังนี้

ก่อนอื่นต้องสังเกตลักษณะอาการบาดเจ็บแบบง่าย ๆ คือ หากอาการปวดรุนแรงมากขึ้น เมื่อเราทำงาน คือ สัญญาณของการไหลเวียนเลือดไม่ดี ในขณะที่อาการปวดตึงนั้น เป็นผลมาจากการไหลเวียนน้ำเหลืองมีปัญหา ในขณะที่การบาดเจ็บของเส้นเอ็น จะเป็นอาการเจ็บแบบชัดเจนเมื่อมีการขยับข้อต่อ

HOW TO ป้องกันการเจ็บปวด

อย่างที่ได้กล่าวไว้ข้างต้นว่า อาการปวดหลังจากการออกกำลังกาย โดยทั่วไปนั้น เกิดได้จาก 3 สาเหตุ เพราะฉะนั้น การป้องกันให้ตรงจุด จึงสำคัญอย่างยิ่ง โดยสามารถปฏิบัติตามได้ ดังนี้

1. ระบบไหลเวียนเลือดไม่ดี หากการเจ็บปวดนั้น เกิดจากระบบไหลเวียนเลือดไม่ดี ก็อาจเป็นเพราะเส้นเลือดไม่สะอาด มีไขมันพอกเส้นเลือดมาก หรือในบางคน ที่มีภาวะทางพันธุกรรมเส้นเลือดตีบง่าย จึงทำให้การไหลเวียนโลหิตมีปัญหา การดูแลสุขภาพโดยรวม และหมั่นตรวจเช็กระดับไขมันในเลือด จึงเป็นสิ่งที่ไม่ควรละเลย นอกจากนี้ ยังควรหมั่นเคลื่อนไหวร่างกายอยู่เสมอ เพื่อให้การไหลเวียนของเลือด ป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ จะเริ่มจากการลุกจากโต๊ะทำงานบ่อย ๆ หรือใช้บันไดแทนลิฟต์ก็ได้เช่นกัน

ในขณะที่ฮอร์โมนในผู้หญิง ก็เป็นอีกสาเหตุที่ไม่อาจมองข้ามได้ โดยเฉพาะ ฮอร์โมนในยาคุมกำเนิดสำหรับผู้หญิง ซึ่งช่วงอายุที่สามารถใช้ยาคุมกำเนิดได้ คือ 18 – 35 ปี โดยพบว่าหากยังใช้ยาคุมกำเนิดหลังจากนั้น ฮอร์โมนจากยาคุมกำเนิด จะเริ่มสร้างความเสี่ยงให้ผนังหลอดเลือดตีบลงเรื่อย ๆ จนทำให้เกิดปัญหาการไหลเวียนของเลือดตามมา

2. ระบบไหลเวียนน้ำเหลืองมีปัญหา เป็นระบบที่มีกลไกการทำงานต่างจากระบบไหลเวียนเลือด ในขณะที่ระบบไหลเวียนเลือดนั้น มีหัวใจคอยปั๊มอยู่ตลอด แต่ระบบไหลเวียนน้ำเหลืองนั้น จะวิ่งไปมาตามจังหวะการเคลื่อนไหวของร่างกาย ซึ่งวิธีการดูแลระบบไหลเวียนน้ำเหลืองเพื่อไม่ให้เกิดอาการเจ็บปวดหลังออกกำลังกาย ก็คือ การนวดคลึงเบา ๆ บริเวณกล้ามเนื้อก่อนการออกกำลังกาย

3. การบาดเจ็บจากกล้ามเนื้อและเส้นเอ็น โดยทั่วไปการบาดเจ็บแบบนี้ เกิดจาก 2 สาเหตุหลัก คือ เทคนิคการออกกำลังกาย หรือโครงสร้างร่างกายที่ไม่ดี เช่น หลังค่อม หรือเดินขาบิด เป็นต้น ซึ่งการป้องกันการบาดเจ็บ คือ หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายหนัก โดยเลือกการออกกำลังกายบริหารแบบปานกลางจะดีที่สุด

ส่วนอีกหนึ่งสาเหตุ ก็คือ ขาดการยึดเหยียดก่อนการออกกำลังกายนั่นเอง

ดังนั้น การเตรียมความพร้อมก่อนออกกำลังกาย ทั้งการยืดเหยียดเพื่อกระตุ้นการไหลเวียนของเลือด และการนวดคลึงบริเวณกล้ามเนื้อเพื่อกระตุ้นการไหลเวียนน้ำเหลือง จึงเป็นสิ่งที่คนออกกำลังกายทั้งหลายควรให้ความสำคัญ

FIRST AID TIPS

ในกรณีที่เกิดการบาดเจ็บ สิ่งแรกที่ควรทำ คือ การประคบเย็น และหลีกเลี่ยงการเคลื่อนไหวบริเวณนั้น จากนั้น ให้สังเกตอาการตัวเอง โดยถ้าลักษณะการบาดเจ็บนั้นเห็นเป็นอาการห้อเลือด บวม หรือไม่สามารถขยับส่วนปลายของอวัยวะนั้นได้ ก็อาจเป็นสัญญาณของการบาดเจ็บชั้นที่ลึกลงไป ซึ่งในกรณีนี้ควรรีบพบแพทย์จะดีที่สุด

เรื่อง นายแพทย์สมบูรณ์ รุ่งพรชัย เรียบเรียง ชวลิดา เชียงกูล ภาพจาก Pixabay

ชีวจิต 523 – คู่มือหยุดปวดตั้งแต่หัวจรดเท้า

นิตยาสารรายปักษ์ ปีที่ 22 : 16 กรกฎาคม 2563

– – –  – – – – –  – – – – –  – – – –  – – – –  – – –  – – –  – – –  – – –  – –  – –

บทความอื่นที่น่าสนใจ

การวิ่ง บอกลาเข่าเสื่อม พร้อมเทคนิควิ่งเสริมข้อแข็งแรง

5 เทคนิควิ่ง วิ่งอย่างไร ไม่ปวดเข่า

ท่าบริหารข้อเท้า และหัวเข่า ทำทุกวัน ไม่มีปวด

3 เทคนิคแก้ เข่าเสื่อม ประหยัดเงินแสน

ติดตามชีวจิตได้ที่

Instagram Cheewajitmedia
Facebook นิตยสาชีวจิต

© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.