เจ็บหน้าอก

เจ็บหน้าอก เช็กซิเป็นโรคอะไร

เจ็บหน้าอก บอกได้นะว่าป่วยเป็นอะไร

อาการ เจ็บหน้าอก เป็นอาการที่พบบ่อยอาการหนึ่งในทุกเพศทุกวัย โดยทุกวัยพบได้จากหลากหลายสาเหตุ ทั้งโรคที่ไม่รุนแรงไปจนถึงโรครุนแรงซึ่งเป็นสาเหตุให้เสียชีวิตได้ ผู้ที่มีอาการอาจเจ็บหน้าอกมากอย่างเฉียบพลันทันที หรือเจ็บหน้าอกแต่ละครั้งไม่รุนแรงมากแต่เรื้อรังก็ได้

อาการเจ็บหน้าอกมีได้หลากหลายสาเหตุ แพทย์จึงจำเป็นต้องวินิจฉัยแยกโรคเพื่อหาสาเหตุที่แท้จริง โดยต้องพิจารณาจากประวัติอาการประวัติการเจ็บป่วยในอดีตและปัจจุบัน ประวัติการใช้ยา การตรวจสัญญาณชีพต่าง ๆ (วัดปรอท วัดความดันโลหิต จับชีพจร และจับนับอัตราการหายใจ) การตรวจร่างกาย การตรวจภาพปอดด้วยเอกซเรย์ การตรวจคลื่นหัวใจ และอาจมีการตรวจอื่นๆ เพิ่มเติม

โรคที่เกี่ยวข้องกับอาการเจ็บหน้าอก

โรคหัวใจเฉียบพลัน

มีอาการเจ็บหน้าอกแต่ไม่มากในบริเวณส่วนกลางหน้าอก โดยเป็นๆ หาย ๆ มักเกิดร่วมกับอาการเหนื่อยหอบเมื่อออกแรง และมักมีอาการบวมที่หน้า มือ แขน ขา เท้า ร่วมด้วย

โรดหัวใจเรื้อรัง เช่น โรคหัวใจล้มเหลว

มีอาการเจ็บหน้าอกไม่มาก โดยทั่วไปอาจเจ็บส่วนไหนของหน้าอกก็ได้ แต่มักไม่เจ็บในบริเวณส่วนกลาง มักเกิดร่วมกับการมีไข้สูง มีน้ำมูก และไอ (อาจไอมากหรือน้อย มีเสมหะมากหรือน้อย และสีของเสมหะขึ้นกับชนิดของเชื้อ)

โรคปอด และ / หรือโรคทางเดินลมหายใจที่เกิดจากการติดเชื้อเฉียบพลัน (จากไข้หวัด)

เจ็บหน้าอกด้านใดด้านหนึ่งหรือทั้งสองด้าน และมักเกิดร่วมกับอาการไอมาก หายใจลำบาก เหนื่อย มีไข้ และมีเสมหะ
สีเหลืองหรือเขียว สาเหตุมักเกิดจากโรคปอดบวมจากการติดเชื้อ โดยเฉพาะเชื้อแบคทีเรีย

โรคปอดบวม

เจ็บหน้าอกด้านใดด้านหนึ่งหรือสองด้าน อาจเจ็บมากขึ้นในช่วงหายใจเข้า อาจมีไข้หรือไม่มีไข้ ไอมากและอาจมีเสมหะสีใส ๆ

โรคหลอดลมอักเสบ

มักเจ็บหน้าอกด้านใดด้านหนึ่งหรือทั้งสองด้านร่วมกับหายใจลำบาก หอบเหนื่อยหายใจมีเสียงหวีด มักมีประวัติโรคภูมิแพ้ หรือโรคหืดมาก่อน

โรคหืด

เจ็บหน้าอกด้านใดด้านหนึ่งหรือทั้งสองด้าน มักเจ็บเมื่อออกแรง ร่วมกับอาการหายใจลำบากเมื่อออกแรงหรือนอนราบ
ร่วมกับมีไข้หรือไม่มีไข้ก็ได้ และมีไอได้บ้าง แต่มีเสมหะน้อยและมักเป็นสีขาว ทั้งนี้ขึ้นกับสาเหตุ

โรคปอดบวมน้ำ

เป็นการเจ็บหน้าอกมากทันทีเพียงด้านใดด้านหนึ่ง อาการเจ็บมากขึ้นเมื่อหายใจเข้า และโดยเฉพาะภายหลังออกแรง ไม่มีไข้ ไม่มีอาการไอ อาจร่วมกับแน่นหน้าอกหรือหายใจลำบาก ขึ้นกับปริมาณอากาศในโพรงเยื่อหุ้มปอด

โรคมีอากาศในโพรงเยื่อหุ้มปอด

มีอาการแสบร้อนกลางอก มักเจ็บหน้าอกเรื้อรัง แต่ไม่รุนแรง เจ็บตรงกลางหน้าอก อาจมีไอเรื้อรังหรือมีเสม เมื่อตื่นนอน เรอบ่อยโดยไม่สัมพันธ์กับการกินอาหาร (มักเรอตอนเช้าทั้งๆ ที่ยังไม่ได้กินอาหาร) อาการเจ็บอาจสัมพันธ์กับชนิดอาหาร

โรคกรดไหลย้อน

เป็นอาการเรื้อรัง โดยมักเจ็บหน้าอกด้านซ้ายเป็นบางครั้ง อาจเกิดร่วมกับอาการปวดท้องบริเวณใต้ลิ้นปี หรือปวดท้องตอนบน และมักสัมพันธ์กับชนิดอาหาร เช่น อาหารรสจัด นอกจากนั้นอาการปวดท้องจะดีขึ้นเมื่อกินอาหาร (เพราะช่วยเจือจางกรด)

โรคกระเพาะอาหารอักเสบ

เกิดได้ทั้งจากโรคถุงน้ำดีอักเสบเฉียบพลัน (มักร่วมกับมีไข้สูง) โรคถุงน้ำดีอักเสบเรื้อรัง (มีไข้ต่ำ ๆ หรือ ไม่มีไข้) และโรคนิ่วในถุงน้ำดี โดยมักเจ็บหน้าอกด้านขวาตอนล่างร่วมกับปวดท้องด้านขวาตอนบน หรือปวดท้องในส่วนบนและปวดมากขึ้นเมื่อหายใจเข้า ทั้งนี้ อาการปวดหรือเจ็บมักมากขึ้นเมื่อกินอาหาร โดยเฉพาะอาหารไขมัน เพราะไขมันจะกระตุ้นการบีบตัวของถุงน้ำดี จึงกระตุ้นอาการปวด

โรคของถุงน้ำดี

เป็นได้ทั้งอาการเฉียบพลันจากการอักเสบเฉียบพลัน และเรื้อรังจากการอักเสบเรื้อรัง ซึ่งอาการเจ็บหน้าอกมี ไม่มาก ไม่แน่นอนว่าเกิดกับหน้าอกส่วนใด แต่มักเกิด ร่วมกับอาการปวดท้องตอนบนและร้าวไปด้านหลัง หรือ ร่วมกับปวดหลัง เมื่อโรคเป็นมากอาจมีอาการตัวเหลือง และเมื่ออักเสบเฉียบพลันมักมีไข้สูง ตาเหลืองร่วมด้วย คลื่นไส้ อาเจียน

โรคตับอ่อนอักเสบ

มักเป็นอาการเจ็บหน้าอกเรื้อรัง โดยเปลี่ยนที่ไปเรื่อย ๆ ตามตำแหน่งของแก๊สที่กักคั่งในลำไส้และดันกะบังลม มักเกิดร่วมกับอาการปวดท้อง ซึ่งตำแหน่งจะเคลื่อนที่ได้เรื่อย ๆ เช่นกัน และอาการจะดีขึ้นเมื่อผายลม หรือเรอ

บทความอื่นที่น่าสนใจ

ติดตามชีวจิตได้ที่

Instagram Cheewajitmedia
Facebook นิตยสารชีวจิต

© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.