ฟังเสียงตัวเอง

How-to ฟังเสียงตัวเอง รักษาโรคได้ ง่าย ไว

ฟังเสียงตัวเอง

เราได้ยินประโยค “You are your own doctor” จากนักปรัชญาการแพทย์มาบ่อยๆ รวมทั้งประโยคที่ว่า “Listen to your body” ซึ่งหมายถึงการให้เรารู้จัก ฟังเสียงตัวเอง เพื่อรักษาสุขภาพของตนเอง

อึมมมม…สำหรับเรา มันต้องเริ่มจากการอยู่กับลมหายใจบ่อยๆ จนจิตละเอียดในระดับหนึ่ง สามารถแยกอารมณ์ความรู้สึกวูบวาบ กับความต้องการแท้จริงได้ (ออกแนวแยกรูปแยกนามได้…ยากเนอะ)

เอาง่ายๆ ดีกว่าค่ะ ให้สังเกตตนเองว่ามีอารมณ์และความรู้สึกไหม แล้วระหว่างอารมณ์กับความรู้สึกนั้นเชื่อมโยงกันอย่างไร เช่น โมโหเลยหิว อยากได้สิ่งนี้มากเลยใจสั่น กังวลเรื่องนี้เหลือเกินเลยปวดท้อง ถ้าพบความเชื่อมโยงแบบนี้ แปลว่าอาการดังกล่าว “ไม่ใช่” เสียงจากร่างกายตนเอง

รักษาโรคด้วยตัวเอง

จึงต้องพยายามทำจิตใจให้สงบ เพราะเมื่อละวางอารมณ์เหล่านั้นได้ ความรู้สึกที่ตามมาก็จะหายไปด้วย เพื่อหลังจากนี้ เสียงจากร่างกายของตนเองก็จะปรากฏ เช่น อยากกินผัก เพราะร่างกายขาดวิตามิน อยากดื่มน้ำเยอะๆ เพราะร่างกายได้รับน้ำไม่เพียงพอ และเมื่อร่างกายได้รับการตอบสนอง ความต้องการนั้นก็จะหายไป

หรือในรายของเรา สามารถกินข้าวกล้อง และอาหารสุขภาพอย่างเอร็ดอร่อยได้นาน เพราะร่างกายขาดสิ่งเหล่านี้มาเป็นเวลานานนั่นเอง (แฟนบ.ก.ขอแชร์ตั้งแต่ตอนแรกจะรู้ว่า ก่อนป่วย เราไม่กินข้าวกินปลาเอาเลย)

คลิกเลข 2 เพื่ออ่านหน้าถัดไป

ถ้าฝึกบ่อยๆ เราก็จะเห็นข้างในตัวเองชัดขึ้นเรื่อยๆ จนกระทั่งรู้ว่า ถ้ากินไข่ถี่เกินไป จะเกิดกลิ่นตัว ถ้ากินน้ำตาลขาวหรือแป้งขาวเยอะเกินร่างกายรับได้ จะเกิดไมเกรน (โดยก่อนเกิดอาการปวดจริงๆ ก็จะมีอาการที่เรียกว่าออร่า เตือนก่อนด้วย) รู้ถึงขั้นว่า การกินวิตามินบี1, 2, 6, 12 เข้าไป สมองส่วนไหนจะทำงาน และต่างจากการกินโปรตีนจากไข่ต้มอย่างไร 5555 (จริงนะ)

ดร. โจแอน โบรีเซนโก้ จากโรงเรียนแพทย์ฮาร์วาร์ด มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ประเทศสหรัฐอเมริกา ผู้เขียนหนังสือเรื่อง Minding the Body, Mending the Mind กล่าวว่า “จิตและกายของมนุษย์เชื่อมโยงกัน ร่างกายภายในสามารถสื่อสารบอกเล่าเรื่องราวต่างๆตลอดเวลา ผ่านสิ่งที่เรียกว่า intuition” (หรือภาษาไทยเรียกว่า สหัชญาณ หรือ “การหยั่งรู้”) และเมื่ออ้างแล้ว เราจึงจะขอนำวิธีการสอนการหยั่งรู้ของคุณหมอท่านนี้มาฝาก แน่นอนว่า ไม่ใช่การทำให้จิตว่างและผุดผ่องแบบพระพุทธศาสนาที่เราทำ จึงอยากให้คิดว่า เป็นทางเลือกหนึ่งล่ะกันค่ะ

ฟังเสียงหัวใจ

  • ถ้าเกิดอาการอะไรสักอย่าง ให้สังเกตว่าเกิดเมื่อไร ตรงกับเหตุการณ์ใดในชีวิต
  • มองเข้าไปในอาการผิดปกติ ดูว่ามีเรื่องราวอะไรอยู่เบื้องหลังบ้าง จากนั้นเขียนออกมา
  • ลองออกแบบกิจกรรม ที่สัมพันธ์กับความรู้สึกข้างใน แล้วลองลงมือทำ สังเกตว่า หลังจากนั้น ความรู้สึกข้างในเจือจางหรือหายไปหรือไม่

เรื่องโดย : เอื้อมพร แสงสุวรรณ

© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.