ไมโครพลาสติก

พบ ไมโครพลาสติก ในอาหาร พร้อมแนะวิธี หุงข้าวยังไงให้รอด

พบ ไมโครพลาสติก ในอาหาร แบบแทบจะเลี่ยงไม่ได้

หนึ่งในปัญหาสิ่งแวดล้อม ที่ส่งผลต่อสิ่งมีชีวิตในโลกแบบเรื้อรังมายาวนานที่ทุกคนรู้กันดีอยู่แล้ว และทั่วโลกพยายามร่วมมือหาทางแก้ไขคือ ไมโครพลาสติก เพราะด้วยขนาดที่เล็กจิ๋ว จนบางทีก็มองด้วยตาเปล่าไม่เห็น แต่ในวันนี้ ปัญหาเหล่านี้ จากทำลายโลก ได้ส่งผลกระทบมาถึงปัญหาสุขภาพแล้ว เพราะมัน แทบจะแทรกซึมอยู่ในทุกอย่างรอบตัวเรา

ไมโครพลาสติก ปัญหาใหญ่ของสิ่งแวดล้อม

มีรายงานจาก Consumer Report องค์กรพิทักษ์ผู้บริโภคใน สหรัฐอเมริกา เมื่อเดือนมกราคม 2567 จากการสุ่มตรวจอาหารฟาสต์ฟู้ดทั้งสิ้น 85 รายการ พบว่า 84 รายการมีการพบสาร พทาเลท” (Phthalates) และ 79% พบสาร“บิสฟีนอล เอ” (bisphenol A) ซึ่งสารเคมีทั้งสองชนิด เป็นส่วนประกอบในการผลิตพลาสติก

ทั้งนี้มีการรายงานอีกด้วยว่า ในหนึ่งปี ชาวอเมริกันมีโอกาสสัมผัสไมโครพลาสติกได้ถึงคนละ 11,000 – 29,000 ชิ้นต่อปี แต่ก็มีโอกาสได้สูงถึง 3.8 ล้านชิ้นต่อปี เลยทีเดียว

ไมโครพลาสติกไปอยู่ในอาหารได้อย่างไร

ไมโครพลาสติก หรือชิ้นพลาสติกขนาดเล็กจิ๋ว ปนเปือนไปทั่วสิ่งแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็นในดิน หรือในน้ำ โดยพืชผัก ผลไม้ ที่เราทานกันอยู่ จะดูดซึมไมโครพลาสติกผ่านราก และสะสมไปอยู่ทั่วไม่ว่าจะเป็น ลำต้น ใบ เมล็ด และผล ในขณะที่สัตว์ต่างๆ ดูดซึมผ่านการกินเข้าไปโดยไม่รู้ตัว และส่งต่อสู่คนอีกทอดหนึ่ง

โดยผักผลไม้ที่ครองปริมาณไมโครพลาสติกสูงที่สุด คือ แอปเปิ้ล และแครอต โดยมีโอกาสที่จะมีการปะปนของพลาสติกขนาด 10 ไมโครเมตร ได้สูงถึง 52,050 – 233,000 ชิ้น

สำหรับผักที่พบการปนเปื้อนน้อยที่สุดคือ ผักกาดหอม

มีการศึกษาพบว่า ในข้าว 100 กรัม อาจมีไมโครพลาสติกปะปนอยู่ถึง 3-4 มิลลิกรัม และอาจสูงได้ถึว 13 มิลลิกรัมในอาหารกึ่งสำเร็จรูป!

ส่วนเมนูอาหารที่มีการศึกษา มากกว่า 12 ชนิด พบว่า กุ้งชุบแป้งทอด เป็นเมนูที่มีไมโครพลาสติกสูงที่สุด ประมาณ 300 ชิ้น ต่อมื้อ รองลงมาคือ นักเก็ตแพลนต์เบส นักเก็ตไก่ ปลาพอลล็อค ส่วนที่พบการปนเปื้อนน้อยที่สุด อกไก่

ในส่วนของเครื่องปรุงมีการศึกษาเมื่อ 2023 พบว่า เกลือหิมาลัย แทนที่จะเป็นเครื่องปรุงเพื่อสุขภาพ แต่กลายเป็นว่าพบไมโครพลาสติกปนเปื้อนสูงที่สุด รองลงมาคือเกลือดำ และเกลือทะเล ในขณะที่น้ำตาล ก็เป็นอีกหนึ่งเครื่องปรุงที่ทำให้ไมโครพลาสติกเข้าสู่ร่างกายมนุษย์ด้วยเช่นกัน

และเครื่องดื่ม ที่เพิ่มไมโครพลาสติกให้กับโลก และเข้าสู่ร่างกายมนุษย์ คือ ถุงชาพลาสติก โดยชา 1 ถุง จะปล่อยไมโครพลาสติกประมาณ 11,600 ล้านอนุภาค และนาโน 3,100 ล้านอนุภาค ลงในน้ำ และขวดน้ำพลาสติกขนาด 1 ลิตร มีอนุภาคพลาสติกประมาณ 240,000 ชิ้น

ไมโครพลาสติก

ไมโครพลาสติก กับ ปัญหาสุขภาพ

ในอดีต ไมโครพลาสติก เป็นปัญหาสิ่งแวดล้อม แต่ในปัจจุนี้มีการศึกษาพบว่าเป็นหนึ่งในปัญหาสุขภาพ โดยมีการศึกษาในปี 2567 พบว่า ผู้ที่มีไมโครพลาสติกหรือนาโนพลาสติกในหลอดเลือดแดงที่คอ มีโอกาสเป็นโรคหัวใจวาย โรคหลอดลือดสมอง หรือเสียชีวิตภายใน 3 ปี มากกว่าผู้ที่ไม่มีพลาสติกในร่างกายถึง 2 เท่า เนื่องจากอนุภาคของไมโครพลาสติกเหล่านี้จะเข้าไปสู่เซลล์และเนื้อเยื่อในอวัยวะต่างๆ ได้ ไม่ว่าจะเป็น ระบบเลือด ปอด ตับ ไต และสมอง โดยพลาสติกเหล่านี้อาจขัดขวางกระบวนการทำงานของเซลล์ และรบกวนต่อมไร้ท่อ รวมถึงทำให้เกิดการสะสมสารอันตรายต่างๆ ได้

นอกจากนั้นแล้ว ไมโครพลาสติกยังสามารถส่งต่อจากแม่สู่ลูก ผ่านทางเยื่อรกมารดาในครรภ์ หรือผ่านทางนมแม่ได้

สำหรับสารเคมีพทาเลทและบิสฟีนอล ที่มีการสุ่มพบนั้น จะเข้าไปขัดขวาการผลิต และการควบคุมฮอร์โมนเอสโตรเจน และฮอร์โมนอื่นๆ ที่อาจเพิ่มความเสี่ยงโรคมะเร็ง เบาหวาน โรคอ้วน รวมถึงสร้างความผิดปกติของพัฒนาการทางระบบประสาท และสมอง และยังทำให้เกิดภาวะมีบุตรยาก หรือทำให้เกิดความพิการแต่กำเนิด

เลือกอาหารลดไมโครพลาสติก

มีคำแนะนำจาก เชอร์รี แซม เมสัน ผู้อำนวยการฝ่ายความยั่งยืนของมหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนียสเตต ผู้ทำการศึกษาวิจัยเรื่องต่อมไร้ท่อ ว่า

  • หลีกเลี่ยงการทานอาหารในภาชนะพลาสติก
  • ไม่นำภาชนะพลาสติกเข้าไมโครเวฟ
  • ลดการซื้ออาหารแปรรูป
  • เลือกใช้ผลิตภัณฑ์อุปโภค บริโภคที่มาจากธรรมชาติ รวมถึงใช้บรรจุภัณฑ์ธรรมชาติ

ส่วนการหุงข้าว ที่จะช่วยลดปริมาณไมโครพลาสติกได้นั้น คือภูมิปัญญาดั้งเดิมของไทย อย่างการ ซาวข้าวก่อนหุง เพราะการซาวข้าว และเทน้ำทิ้งนั้น เป็นการชะล้างเอาสิ่งสปกรกทั้งที่มองเห็น และไม่เห็นออก ก่อนนำไปหุง หรือนำไปปรุงอาหาร

ที่มา กรุงเทพธุรกิจ

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

ติดตามชีวจิตได้ที่

Instagram Cheewajitmedia
Facebook นิตยสาชีวจิต

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.