FOOD TIPS อาหารเพื่อผู้ป่วยโรคหัวใจ
แม้จะบอกว่าเป็น อาหารเพื่อผู้ป่วยโรคหัวใจ แต่เทคนิคการกินอาหารที่เราเอามาบอกวันนี้ ทุกวันกินได้ แถมดีเสียอีก เพราะช่วยให้ห่างไกลโรคต่าง ๆ ไม่ใช่แค่โรคหัวใจ แต่ยังรวมไปถึง ความดันโลหิตสูง ไขมันสูง หรือโรคเบาหวาน นอกจากนั้นแล้ว บุคคลทั่วไป ที่ไม่อยากเป็นโรคก็ควรกินตามนี้เช่นเดียวกันค่ะ
จํากัดปริมาณอาหารกลุ่มแป้งและน้ําตาล
ถ้าเป็นกลุ่มอาหารพลังงานสูง สารอาหารต่ํา ให้งดเด็ดขาดจะดีกว่า แนะนําให้เปลี่ยนไปกินแป้งที่มีโมเลกุลเชิงซ้อน เช่น ข้าวกล้อง ธัญพืชต่างๆ และต้องคุมปริมาณอาหารโดยรวม ไม่ควรกินเกิน
กรณีที่มีระดับไขมันในเลือดสูง ควรหลีกเลี่ยงไขมันจากสัตว์และลดปริมาณไขมันจากพืช
เรื่องการกินไขมัน คนก็เข้าใจผิดกันมาก ตัวอย่างเช่น น้ํามันมะกอกเป็นไขมันดี แต่ถ้าเอาไปปรุงโดยผ่านความร้อนสูงๆ ก็จะกลายเป็นไขมันไม่ดี น้ํามันที่เป็นไขมันดีและมีจุดเดือดสูงหน่อยก็มี เช่น น้ํามันเมล็ดชา น้ํามันรําข้าว
กรณีน้ำมันมะพร้าวสกัดเย็น ซึ่งช่วงหลังกําลังได้รับความนิยมในกลุ่มผู้บริโภค แต่ถ้ากินมากไปก็ทําให้ไตรกลีเซอไรด์สูงได้ เกณฑ์ที่กรมอนามัยระบุให้กินไขมันได้เพียงวันละ 6 ช้อนชา นับว่าน้อยมาก ถ้ากินเกินก็ก่อโรคแน่นอน
หลีกเลี่ยงอาหารรสเค็ม
- หลีกเลี่ยงอาหารแปรรูป / อาหารหมักดอง / อาหารแช่แข็ง เช่น ไส้กรอก แฮม เบคอน หมูแผ่น หมูหยอง บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป โจ๊กผง ซุปผง ผักผลไม้ดอง ไข่เค็ม
- หลีกเลี่ยงการรับประทานน้ำซุป / น้ำแกง เนื่องจากส่วนใหญ่มักมีส่วนประกอบของผงชูรสและเครื่องปรุง
- ลดการปรุงอาหาร
- อ่านฉลากโภชนาการ เลือกผลิตภัณฑ์ที่โซเดียมน้อยกว่า 100 มก
คำแนะนำกินเค็มในแต่ละวัน
- เติมเกลือในอาหารไม่เกิน 1 ช้อนชา ต่อวัน
- เติมน้ำปลา ซีอิ้ว ซอสถั่วเหลือง น้ำมันหอย ไม่เกิน 3 ช้อนชา ต่อวัน
- ซอสพริก ซอสมะเขือเทศ ไม่เกิน 1ช้อนโต๊ะ
เน้นอาหารที่มีเส้นใย (Fiber)
เลือกทานข้าว/ขนมปัง/ธัญพืชที่ไม่ขัดสี เพิ่มการทานผักและผลไม้ เพราะเส้นใยจากอาหารจะช่วยลดการดูดซึมไขมัน ทำให้ลดการสะสมหรือการอุดตันของไขมันในเส้นเลือด
บริโภคอาหารในปริมาณที่เหมาะสมกับการใช้พลังงานในแต่ละวัน
ไม่ควรบริโภคอาหารมากเกินไป ควรให้พอเหมาะกับการใช้พลังงานในแต่ละวัน จะช่วยป้องกันการเก็บพลังงานที่เกินในรูปของไขมัน อันจะทำให้เกิดโรคอ้วน ที่เป็นอันตรายทำให้เกิดโรคหัวใจตามมาได้
นอกจากการรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพแล้ว การออกกำลังกาย ทำจิตใจให้แจ่มใส ไม่เครียด และรับประทานยาอย่างสม่ำเสมอตามแพทย์สั่ง ก็จะช่วยไม่ให้โรคลุกลามมากขึ้น
แนะนำ อาหารเพื่อผู้ป่วยโรคหัวใจ
หอม ทั้งหอมหัวใหญ่ หอมเล็ก และต้นหอม
มีข้อดีในเรื่องการช่วยบำรุงเลือดและหัวใจ เนื่องจากในหอมจะมี สารพลาโวนอยด์ที่ช่วยยับยั้งไม่ให้เกล็ดเลือดไปรวมตัวกันจนแข็งตัวแล้วไปอุดตันตามเส้นเลือด ทำให้ลดความเสี่ยงที่จะป็นโรคหัวใจลงไปได้ นอกจากนี้หอมต่างๆ ยังช่วยลดอาารอักเสบ แก้หวัด คัดจมูก และยังมีสารเควอร์ซิทิน ที่ช่วยต้านอนุมูลอิสระ จึงป้องกันโรคมะเร็งได้
พริก
มีสารแคปไซซินที่ให้ความเผ็ด ช่วยทำให้จับกลุ่มของเกล็ดเลือด ลดการสร้างไขมันในร่างกาย ลดการดูดซึมไขมันในเส้นเลือด ซึ่งทั้งหมดนี้ส่งผลให้หัวใจสูบฉีดเลือดไปใช้ได้สะดวก ไม่มีเลือดมาอุดตันตามหลอดเลือด
ใบบัวบก
มีธาตุเหล็กสูง ซึ่งธาตุเหล็กเป็นสารช่วยบำรุงหัวใจ และยังมีสรรพคุณที่ช่วยบำรุงเลือด ป้องกันการเป็นโรดเลือดจางช่วยให้ผนังหลอดเลือดแข็งแรงขึ้น และยังช่วยแก้อาการชำในและร้อนในด้วย โดยวิธีการทำใบบัวบกรับประทาน ให้นำก้านและใบมาล้างให้สะอาด จากนั้นนำมาบดให้ละเอียดและคั้นเอาส่วนที่เป็นน้ำไปต้ม อาจจะเติมน้ำตาลหรือเกลือบ้างเล็กน้อย เสร็จแล้วก็นำมาดื่มได้เลย
กระเจี๊ยบแดง
นำกระเจี๊ยบแดงมาต้มกับน้ำ แล้วเติมน้ำตาลลงไปเล็กน้อยเพื่อลดความเปรี้ยว หากดื่มบ่อย ๆ จะช่วยลดไขมันในเส้นเลือด ลดความดันเลือด บำรุงเลือดให้ไหลเวียนดีขึ้น เป็นการบำรุงร่างกายได้ หรือจะนำกระเจี๊ยบแดงมาต้มกับพุทราจีนก็ช่วยกำจัด ไขมันไม่ดีในร่างกายได้
กระเทียม
เป็นสมุนไพรที่ถือได้ว่าต้องมีคิดอยู่ทุกบ้านมีสรรพคุณและประโยชน์ดี ๆ มากมายที่มีต่อสุขภาพหัวใจ ในกระเทียมนั้นมีสารอัลลิชินที่ช่วยลดไขมันเลวในเลือด และลดระดับไตรกลีเซอไรด์ซึ่งเป็นศัตรูตัวร้ายของหัวใจ กระเทียมจึงช่วยลดโอกาสการอุดตันไขมันในหลอดเลือด ซึ่งทำให้เกิดโรคหัวใจได้ นอกจากนี้ยังมีการศึกษาที่พบว่ากระเทียมมีฤทธิ์ช่วยยับยั้งการแข็งตัวของเลือด ช่วยลดความดันเลือด รวมทั้งเป็นสารต้านการจับตัวเป็นก้อนของเลือดด้วยการทำให้เกล็ดเลือดบางลง จึงป้องกันภาวะหัวใจขาดเลือดหรือสมองขาดเลือดได้ด้วย ซึ่งจากงานวิจัยพบว่าหากกินกระเทียมสดวันละ 2 – 3 กลีบ จะช่วยบำรุงหัวใจให้แข็งแรงขึ้นได้
ดอกคำฝอย
นำมาต้มน้ำดื่มช่วยป้องกันโรคหัวใจและรักษาหลอดเลือดได้ เพราะน้ำมันจากดอกคำฝอยมีฤทธิ์ลดการจับตัวของเกล็ดเลือด ช่วยลดไขมันในเส้นเลือด ลดความดันเลือดสูง บำรุงเลือด ทำให้เลือดไปเลี้ยงหัวใจได้มากขึ้น ช่วยป้องกันโรคหัวใจวาย หัวใจเต้นผิดจังหวะ และเส้นเลือดหัวใจตีบได้
เสาวรส
นำเสาวรสที่แก่จัดหลายๆ ลูกมาล้าง คั้นเป็นน้ำผลไม้ เติมเกลือกับน้ำตาลเข้าไปเล็กน้อย เมื่อดื่มกินบ่อยๆ จะช่วยลดไขมันในเส้นเลือด ทำให้ไม่เป็นโรคหัวใจได้ เพราะการที่เส้นเลือดของเรามีไขมันสูงมากเกินไปจะไปกระตุ้นทำให้เกิดความเสี่ยงเป็นโรคหัวใจได้ นอกจากนี้ในเสาวรสยังอุดมไปด้วยโพแทสเซียมถึง 384 มิลลิกรัมต่อเสาวรส 100 ซึ่งโพแทสเซียมมีความสำคัญต่อเซลล์และของเหลวในร่างกาย รวมทั้งช่วยควบคุมการทำงานของหัวใจและความดันโลหิตให้เป็นปกติได้ด้วย
ใบเตยหอม
ช่วยบำรุงหัวใจและลดความดันโลหิตสูงได้ ซึ่งวิธีการคือนำใบสดมาคั้นดื่ม ครั้งละประมาณ 2 – 4 ช้อนแกง (4 -8 ช้อนโต๊ะ) หรือต้มใบเตยกับน้ำเปล่าแล้วดื่มเช้า – เย็น จะช่วยให้ร่างกายสดชื่นกระปรี้กระเปร่า เพราะใบเตยมีฤทธิ์บำรุงกำลังและระบบประสาท
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ
- ป้องกันโรคหัวใจ ตามแบบฉบับแพทย์แผนจีน
- 3 อาการเหนื่อย ที่ไม่ควรมองข้าม เสี่ยงโรคหัวใจสูง
- พฤติกรรมอันตราย ก่อโรคหัวใจ
ติดตามชีวจิตได้ที่