สธ. ห่วง โรคพิษสุนัขบ้า ระบาดซ้ำหน้าร้อน
วอนเจ้าของพาสัตว์เลี้ยงฉีดวัคซีน
อย่าคิดว่าไทยเราสามารถจัดการกับ โรคพิษสุนัขบ้า ได้แล้ว โดยเฉพาะช่วง หน้าร้อนและคงไม่คิดว่ามีโรคนี้อยู่ จึงไม่มีใครพาสุขนัขไปรับการฉีดวัคซีน
ล่าสุด ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ผู้อำนวยการศูนย์โรคติดเชื้อ โรคอุบัติใหม่ สภากาชาดไทย และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ผู้ป่วยและผู้เสียชีวิตจากโรคพิษสุนัขบ้า กำลังเพิ่มขึ้น! โดยกว่าร้อยละ 80 ของผู้เสียชีวิต ถูกสุนัขที่เลี้ยงเองหรือสุนัขของเพื่อนบ้าน ที่ไม่ได้ฉีดวัคซีนป้องกันโรคกัดหรือข่วน แล้วไม่ยอมไปหาหมอ
นอกจากสุนัขที่นำโรคพิษสุนัขบ้า หน้าร้อน ดังกล่าวกว่าร้อยละ 95 แล้ว แมวเองก็เป็นตัวนำโรค โรคพิษสุนัขบ้า หน้าร้อน ด้วย นายแพทย์อำนวย กาจีนะ อธิบดีกรมควบคุมโรค ชี้แจงว่า โอกาสที่คนจะติดเชื้อหลังถูกสัตว์ที่มีเชื้อโรคพิษสุนัขบ้า หน้าร้อน กัดหรือข่วน ขึ้นอยู่กับจำนวนเชื้อโรคพิษสุนัขบ้า ที่เข้าไปในร่างกาย ตำแหน่งที่ถูกกัด เช่น ศีรษะ อายุ เช่น เด็กและผู้สูงอายุ จะมีความต้านทานต่อโรคต่ำกว่าหนุ่มสาว และสายพันธุ์ของเชื้อโรคพิษสุนัขบ้า
โรคพิษสุนัขบ้า มีระยะฟักตัวตั้งแต่เป็นสัปดาห์หรืออาจนานเกิน 1 ปี โดยมีอาการตั้งแต่เบื่ออาหาร เจ็บคอ มีไข้ อ่อนเพลีย คันรุนแรงบริเวณที่ถูกกัดและลามไปส่วนอื่น กระสับกระส่าย กลัวแสง กลัวลม ไม่ชอบเสียงดัง กลืนลำบาก โดยเฉพาะของเหลว กลัวน้ำ ปวดท้องน้อยและกล้ามเนื้อขากระตุก แน่นหน้าอก หายใจลำบาก หรืออาจชัก เร็ง อัมพาต หมดสติ จนอาจเสียชีวิตในที่สุด
อย่างไรก็ตาม โรคพิษสุนัขบ้า หน้าร้อน สามารถป้องกันได้โดย 1.ฉีดวัคซีนป้องกัน โรคพิษสุนัขบ้า ให้สัตว์เลี้ยง ครั้งแรกตั้งแต่อายุ 2-4 เดือน และฉีดซ้ำทุกปี 2.เลี้ยงสุนัขด้วยความรับผิดชอบ ไม่ไปปล่อยทิ้งในสถานที่สาธารณะ รวมทั้งช่วยกันลดจำนวนสุนัข/แมวจรจัดในชุมชน 3.ปฏิบัติตามคำแนะนำ “คาถา 5 ย” เพื่อป้องกันการถูกสุนัขกัด ได้แก่ อย่าแหย่ให้สุนัขโมโห อย่าเหยียบสุนัข หรือทำให้สุนัขตกใจ อย่าแยกสุนัขที่กำลังกัดกันด้วยมือเปล่า อย่าหยิบชามอาหารขณะสุนัขกำลังกิน และอย่ายุ่งกับสุนัขนอกบ้านหรือที่ไม่ทราบประวัติ และ4.เมื่อถูกกัด ให้ล้างแผลให้สะอาด ขังสุนัข/แมวที่กัด ดูอาการ อย่างน้อย 10 วัน และรีบไปหาหมอ เพื่อพิจารณาให้วัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า ตามแนวทางมาตรฐาน ซึ่งฟรี
สำหรับการตรวจยืนยันโรคพิษสุนัขบ้า ในคน สามารถส่งตัวอย่างตรวจได้ที่ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ สภากาชาดไทย และโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ซึ่งส่งได้ทุกเวลา แม้ว่าจะไม่ใช่ หน้าร้อน
ที่มา: กระทรวงสาธารณสุข