ต้นเหตุทำอ่อนเพลีเรื้อรัง

Unknown 5 โรคเหตุอ่อนเพลียเรื้อรัง

Unknown 5 โรคเหตุอ่อนเพลียเรื้อรัง

หนุ่มสาววัยทํางานมี อาการอ่อนเพลียเรื้อรัง กันมากขึ้น หลายคนลองปรับเปลี่ยนการใช้ชีวิตตามแนวทางชีวจิตแล้ว แต่อาการเดิมๆ ยังคงอยู่ ฉะนั้นลองเช็กสาเหตุที่คุณอาจคิดไม่ถึงดังต่อไปนี้ดูค่ะ

ทำความรู้จักรู้จักอาการอ่อนเพลียเรื้อรัง

อาการอ่อนเพลียเรื้อรัง หรือ Chronic fatigue syndrome (CFS) คือ กลุ่มอาการอิดโรยเรื้อรังที่เกิดจากความผิดปกติจากระบบกลไกของร่างกาย ซึ่งในปัจจุบันยังไม่สามารถสรุปสาเหตุที่แท้จริงของกลุ่มอาการเหล่านี้ได้เพราะอาการแสดงออกคล้ายกับหลายโรค เช่น ไข้หวัดใหญ่ เป็นต้น สำหรับใครที่ป่วยเป็นโรคอ่อนเพลียเรื้อรังแล้ว ย่อมส่งผลให้ร่างกายมีภูมิต้านทานลดลง รู้สึกอ่อนเพลีย เหนื่อยล้า ไม่มีสมาธิ เจ็บคอ ต่อมน้ำเหลืองโตบริเวณคอหรือรักแร้ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อโดยไม่ทราบสาเหตุ ปวดศีรษะ นอนหลับไม่สนิท

เมื่อตื่นนอนขึ้นมาแล้วจะรู้สึกไม่สดชื่น หรือรู้สึกเหนื่อยแบบหมดแรงนานมากกว่า 1 วัน ถึงแม้จะได้พักผ่อนอย่างเพียงพอแล้วก็ตาม นอกจากนี้ ยังอาจพบอาการอื่นร่วมด้วย เช่น ปวดมวนท้อง คลื่นไส้ อาเจียน ท้องอืด ท้องเสีย ไอเรื้อรัง วิงเวียน มีอาการจะเป็นลมเวลายืนนานๆ รวมถึงพบความผิดปกติในการมองเห็น เช่น ปวดตา ตาแห้ง มองเห็นภาพเบลอ หรือจู่ๆ ก็มีอาการแพ้อาหารบางชนิดที่ไม่เคยแพ้มาก่อน

อย่าเพิ่งคิดว่าอาการเหล่านี้ไม่ใช่เรื่องอันตราย เพราะถึงรู้สึกอ่อนเพลียมากๆ ก็อาจทำให้หมดเรี่ยวหมดแรงที่จะทำงานได้ นำไปสู่ภาวะเครียดจนถึงขั้นซึมเศร้า จึงนับว่าเป็นโรคที่กระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำอยู่ไม่น้อย หากใครมีอาการเหล่านี้ต่อเนื่องมานานไม่น้อยกว่า 6 เดือน อีกทั้งมีอาการรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ แนะนำว่าควรไปพบแพทย์ เพื่อรับการวินิจฉัยหาสาเหตุและดำเนินการรักษาต่อไปค่ะ

อ่อนเพลีย

ตามดูโรคเหตุอ่อนเพลียเรื้อรัง

1.โรคไทรอยด์

อาจเป็นได้ทั้งแบบไฮเปอร์ไทรอยด์และไฮโปไทรอยด์ เพราะล้วนแต่ทําให้มีอาการอ่อนเพลียทั้งสิ้น โรคนี้เป็นอาการของการมีภาวะเมตาบอลิสมในร่างกายที่น้อยเกิน ได้แก่ ความคิดช้า เฉื่อยชา ง่วงนอน น้ำหนักขึ้น ขี้หนาว ผมร่วง ผิวแห้งหยาบ ตัวบวม หน้าบวม เป็นตะคริวบ่อย ท้องผูก อาการเหล่านี้มักค่อยเป็นค่อยไป ทำให้ได้รับการวินิจฉัยล่าช้า หากไม่ได้รับการรักษาอาจมีผลเสียต่อระบบหัวใจและระบบไขมันในเลือดได้

เมื่อไหร่ควรได้รับการตรวจการทำงานของต่อม ไทรอยด์ คำตอบคือเมื่อมีอาการของฮอร์โมนไทรอยด์สูงหรือต่ำเกินไป, มีประวัติเคยตรวจเลือดแล้วพบความผิดปกติของไทรอยด์ฮอร์โมนมาก่อน, มีประวัติได้รับการรักษาโรคไทรอยด์มาก่อน เช่น การผ่าตัดต่อมไทรอยด์ การกลืนแร่ไอโอดีน, มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคไทรอยด์, เป็นเบาหวานชนิดที่ 1, มีภาวะมีบุตรยาก และคอพอกหรือมีก้อนที่คอ

 

2.โรคเบาหวาน

โรคนี้ทําให้อ่อนเพลียเรื้อรังฉะนั้นหากคุณรู้สึกเฉื่อยชา เซื่องซึม ไม่มีชีวิตชีวา บวกกับมีอาการตาพร่ามัว และปัสสาวะบ่อยควรไปตรวจหาโรคเบาหวาน

โรคนี้ เป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติของการทำงานของฮอร์โมนที่ชื่อว่า อินสุลิน (Insulin) ซึ่งโดยปกติแล้วร่างกายของคนเราจำเป็นต้องมีอินสุลิน เพื่อนำน้ำตาลในกระแสเลือดไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆของร่างกาย โดยเฉพาะสมองและกล้ามเนื้อ ในภาวะที่อินสุลินมีความผิดปกติ ไม่ว่าจะเป็นการลดลงของปริมาณอินสุลินในร่างกาย หรือการที่อวัยวะต่างๆของร่างกายตอบสนองต่ออินสุลินลดลง (หรือที่เรียกว่า ภาวะดื้ออินสุลิน)

โรคเบาหวาน

จะทำให้ร่างกายไม่สามารถนำน้ำตาลที่อยู่ในกระแสเลือดไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้มีปริมาณน้ำตาลคงเหลือในกระแสเลือดมากกว่าปกติ หากน้ำตาลในกระแสเลือดสูงมากขึ้นถึงระดับหนึ่ง จะทำให้ไตซึ่งปกติจะมีหน้าที่ดูดกลับน้ำตาลจากสารที่ถูกกรองจากหน่วยไตไปใช้ ดูดกลับน้ำตาลได้ไม่หมด ส่งผลให้มีน้ำตาลรั่วออกมากับปัสสาวะ จึงเป็นที่มาของคำว่า “โรคเบาหวาน” หากเราปล่อยให้เกิดภาวะเช่นนี้ไปนานๆ โดยไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกวิธี จะทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่ร้ายแรงตามมาในที่สุด

3.โรคหัวใจ

หากปัจจุบันออกกําลังกายแล้วเหนื่อยง่ายกว่าแต่ก่อน นั่นอาจบ่งบอกว่าโรคหัวใจกําลังถมหาเพราะอาการ อ่อนเพลียเป็นสัญญาณของโรคหัวใจโดยเฉพาะในผู้หญิง

เซื่องซึมไม่มีชีวิตชีวา

สำหรับอาการที่บ่งบอกว่าเป็นโรคหัวใจ คือ เจ็บแน่นบริเวณหน้าอกข้างซ้าย หรือทั้งสองด้าน บางรายอาจมีอาการเจ็บร้าวไปถึงแขนซ้าย หรือแขนทั้งสองข้าง มักมีอาการเจ็บแน่นหน้าอกเวลาเคลื่อนไหวร่างกายที่ต้องใช้กำลังมาก หรือขณะออกกำลังกาย เช่น การเดินขึ้นบันได โดยอาการดังกล่าวจะดีขึ้นหลังหยุดออกกำลัง รู้สึกหอบ หรือเหนื่อยง่ายมากกว่าปกติ ใจสั่น ใจเต้นเร็วผิดปกติ รู้สึกบ้านหมุน หน้ามืดคล้ายจะเป็นลม สายตาพร่าเบลอ โดยอาการจะเกิดขึ้นเพียงชั่วขณะหนึ่งแล้วจะหายไปเอง รวมถึงอาการขาบวม เพราะหัวใจด้านขวาทำงานลดลง เลือดจึงไหลจากขาไปที่หัวใจได้ไม่สะดวกจนทำให้เกิดเลือดค้างอยู่บริเวณขานั่นเอง

4.โรคโลหิตจาง

มีอาการอ่อนเพลียเป็นหลักจึงควรหาโอกาสไปตรวจเลือดเพื่อเช็กโรคนี้ให้แน่ใจ โดยภาวะนี้เราจะเรียกกันว่าภาวะซีด เป็นภาวะที่เกิดจากร่างกายมีเม็ดเลือดแดงน้อยกว่าปกติ  ภาวะนี้พบได้บ่อยในประชากรทั่วไป การจะบอกว่าใครมีภาวะโลหิตจางหรือไม่นั้นอาจดูได้จากอาการที่เกิดขึ้น  เนื่องจากเม็ดเลือดแดงมีหน้าที่ในการส่งออกซิเจนไปให้เซลล์และเนื้อเยื่อต่างๆ ทั่วร่างกาย การที่เม็ดเลือดแดงลดลงจึงส่งผลให้เกิดความผิดปกติได้หลากหลาย ตั้งแต่อาการเหนื่อยง่ายขึ้นกว่าเดิม

บางคนอาจรู้สึกว่าเมื่อออกแรงทำกิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่งแล้วเหนื่อยมากขึ้น เช่น เดิมขึ้นบันไดสองสามชั้นไม่เหนื่อย ต่อมากลับเหนื่อยมากขึ้น หรือบางคนอยู่เฉยๆ ก็อาจรู้สึกเหนื่อย อ่อนเพลียก็ได้ บางคนอาจมีความรู้สึกหงุดหงิด ความคิดความอ่านไม่แจ่มใส หากป็นโลหิตจางรุนแรง อาจกระทบการทำงานของหัวใจ เกิดภาวะหัวใจทำงานมากขึ้นจนถึงขั้นหัวใจล้มเหลวได้ หรือกระทบกับการทำงานของสมอง  ทำให้มีอาการวูบหรือหมดสติ อาการต่างๆ อาจเกิดมากน้อยแตกต่างกันในแต่ละคน ขึ้นอยู่กับระดับของเม็ดเลือดแดงในร่างกายและความสามารถในการปรับตัวต่อภาวะโลหิตจาง ในทางเวชปฏิบัติส่วนใหญ่แล้วเราสามารถตรวจพบภาวะโลหิตจางได้ตั้งแต่ยังไม่มีอาการ เช่น พบจากการตรวจเลือดเวลาไปบริจาคเลือด หรือตรวจสุขภาพประจำปี

โรคซึมเศร้า

5.โรคซึมเศร้า

ถ้ารู้สึกหมดแรงใจ หดหู่ ไม่รู้สึกสนุกกับกิจกรรมที่เคยชอบทําแล้วเลยไปถึงอาการเบื่ออาหาร  แน่นอนว่าอาการอ่อนเพลียจะตามมา จึงต้องเร่งฟื้นฟูความสุขให้กลับมาด่วน

นอกจากนี้ การเป็นโรคซึมเศร้าสามารถทำให้เรารู้สึกเหนื่อย และทำให้กิจกรรมง่ายๆ กลายเป็นเรื่องยาก ซึ่งมีการรายงานว่า คนที่เป็นโรคซึมเศร้ามากกว่า 90% มีอาการเหนื่อยล้า ซึ่งสาเหตุที่ทำให้ผู้ป่วยโรคซึมเศร้ามีอาการอ่อนเพลียนั้นเกิดจากการเกิดความรู้สึกเหนื่อยล้าเป็นอาการทั่วไปของโรคซึมเศร้า ซึ่งคนที่เป็นโรคซึมเศร้ามีแนวโน้มที่จะอ่อนเพลีย และคนที่มีอาการอ่อนเพลียเรื้อรังก็มีแนวโน้มเป็นโรคซึมเศร้า ทำให้ยากที่จะหยุดวงจรนี้ได้

คามจริงยาดีที่สุดสําหรับเยียวยาอาการอ่อนเพลีย  คือการกิน นอน พักผ่อน ออกกําลังกาย และทํางานให้สมดุลตามหลักชีวจิตค่ะ

ข้อมูลประกอบจาก: นิตยสาร ชีวจิต ฉบับที่ 332

 

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

อายุ 40+ ประจำเดือนมาน้อย อ่อนเพลีย เป็นโรคอะไรได้บ้าง

อาหารต้องห้าม ทําเครียด

ไทรอยด์ เมื่อเกาะไม่ป้องกัน ซ้ำทำให้คอพอก

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.