เบาหวาน, ของหวาน, โรคแทรกซ้อน, ป้องกันเบาหวาน, ผู้ป่วยเบาหวาน

วิธีตัดวงจรโรคแทรกซ้อน เพื่อคน เบาหวาน สุขภาพเลิศ

วิธีตัดวงจรโรคแทรกซ้อน เพื่อคน เบาหวาน สุขภาพเลิศ

เบาหวาน หรือ น้ำตาลในเลือดสูง เป็นอาการที่ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักละเลย โดยหารู้ไม่ว่า โรคดังกล่าวจะค่อยๆ กัดกร่อนร่างกายทีละน้อย กว่าจะไหวตัวทันก็เกิดโรคแทรกซ้อนกับอวัยวะอย่างตา สมอง หัวใจ ไต และขาเสียแล้วใครที่คิดว่าโรค เบาหวาน ไม่ร้ายแรง คงต้องเปลี่ยนความคิดใหม่เสียแล้วละค่ะ

 

คุมน้ำตาลไม่ได้ อันตรายจากโรคแทรกซ้อน

การปล่อยให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงผิดปกติเป็นเวลานานส่งผลเสียอย่างไร อาจารย์สาทิส อินทรกำแหง กูรูต้นตำรับชีวจิต กล่าวไว้ในบทความ การแพทย์ทางเลือก - การแพทย์ผสมผสาน ในหนังสือพิมพ์ ไทยรัฐ ฉบับวันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548 ว่า

“เบาหวาน เป็นโรคที่ไม่มีเชื้อโรค เกิดจากพฤติกรรมการกินที่ผิด เราสามารถป้องกันและรักษาตัวเองด้วยวิธีปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิต โดยเฉพาะการกิน ในขณะที่แพทย์แผนปัจจุบันจะให้กินยาซึ่งต้องกินไปตลอดชีวิต เพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ วิธีนี้ไม่ใช่การรักษา แต่เป็นเพียงการคุมอาการไม่ให้แย่ลง (ระดับน้ำตาลในเลือดสูง) กว่าเดิม”

หลายคนเข้าใจผิด คิดว่ากินยาแล้วก็สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ จึงกินตามใจปาก ความคิดเช่นนี้คือหลุมพรางขนาดใหญ่ เพราะการกินยาเป็นเวลานานย่อมมีผลข้างเคียง โดยยาลดระดับน้ำตาลในเลือดมีผลต่อระบบย่อยอาหาร ระบบขับถ่าย ระบบประสาท เกิดอาการแพ้ทางผิวหนัง ทำให้ปวดศีรษะ กล้ามเนื้ออ่อนแรง ฯลฯ

แม้จะกินยาเป็นประจำ แต่ไม่ปรับอาหารการกินเลย ปล่อยให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงโรคเบาหวานจะค่อยๆ บ่อนทำลายร่างกายไปทีละน้อย และในที่สุดจะเกิดโรคแทรกซ้อนตามมา

น้ำตาล, เบาหวาน, โรคเบาหวาน, ติดหวาน, น้ำตาลในเลือดสูง
กินน้ำตาลมาก เสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

น้ำตาล วายร้ายทำลายอวัยวะ

อาจารย์สาทิส อินทรกำแหง กูรูต้นตำรับชีวจิต ได้กล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่างน้ำตาลกับอวัยวะต่างๆ ว่า

“การกินของรสหวานจำพวกขนมหวานหรือเครื่องดื่มต่างๆ เป็นการป้อนน้ำตาลเลวหรือน้ำตาลซูโครส (Sucrose) เข้าไปในร่างกาย ซึ่งเมื่อเข้าไปแล้ว น้ำตาลนี้จะถูกเปลี่ยนเป็นกลุ่มโปรตีนที่เรียกว่าไกลโคโปรตีน (Glycoprotein) เมื่อไกลโคโปรตีนไปผสมกับกรดแอมิโน จะทำให้กลายเป็นท็อกซิน (Toxin) หากไปเกาะอยู่ตามอวัยวะส่วนใดในร่างกายก็ตาม เช่น เกาะที่ตับจะทำให้อวัยวะนั้นอ่อนแอลงและทำงานไม่ได้ ปกติตับมีหน้าที่รับอินซูลินจากตับอ่อน เพื่อเปลี่ยนน้ำตาลในเลือดให้เป็นไกลโคเจน ซึ่งมีหน้าที่ปรับระดับน้ำตาลในเลือดให้คงที่อยู่ตลอดเวลา เมื่อตับทำงานไม่ได้ ก็ส่งผลให้อินซูลินทำงานได้น้อยลง จึงเกิดภาวะดื้ออินซูลิน ซึ่งส่งผลให้น้ำตาลยังคงอยู่ในเลือดและสะสมมากขึ้นเรื่อยๆ จนเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้คนป่วยเป็นเบาหวานนั่นเอง”

 

โรคแทรกซ้อนจาก เบาหวาน ที่จะกล่าวถึงนี้ ผู้เขียนขอแบ่งตามตำแหน่งของอวัยวะในร่างกาย เป็นโรคแทรกซ้อนกับอวัยวะส่วนบน ส่วนกลาง และส่วนล่างของร่างกาย ดังนี้

 

 

<< อ่านต่อหน้าที่ 2 >>

© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.