การใช้ยาของผู้สูงอายุ

ผู้ดูแลควรต้องรู้เกี่ยวกับปัญหาการใช้ยาในผู้สูงอายุ!

ผู้ดูแลควรต้องรู้เกี่ยวกับปัญหาการใช้ยาในผู้สูงอายุ!

ผู้สูงอายุมักได้รับยาหลายชนิดเนื่องจากมีโรคประจำตัวหลายอย่าง รวมถึงการที่ร่างกายมีการ เปลี่ยนแปลงตามอายุ สิ่งเหล่านี้อาจทำให้ผู้สูงอายุมีโอกาสเกิดปัญหาการใช้ยามากขึ้น โดยผู้สูงอายุมักจะมีโรคหลายชนิดและได้รับยาหลายอย่าง ทำให้ยาอาจมีผลต่อกัน ผู้สูงอายุมีการเปลี่ยนแปลงของร่างกายที่มีผลต่อการทำงานของยา

รวมถึงปัญหาด้านพฤติกรรมการใช้ยาของผู้สูงอายุ เช่น ผู้สูงอายุไม่ไปพบแพทย์ อาจเนื่องจากปัญหา ด้านร่างกายและจิตใจที่ทำให้ผู้สูงอายุไม่สามารถไปพบแพทย์ได้ หรือปัญหาด้านการเดินทาง ด้านการเงิน เป็นต้น หรืออาจเกิดจากความเชื่อที่ชอบซื้อยามารับประทานเอง หรือเอายาเก่าๆ ที่เคยได้มารับประทานเอง เป็นต้น การสั่งใช้ยาที่ไม่เหมาะสมให้แก่ผู้สูงอายุ เช่น การใช้ยากลุ่มที่ผู้สูงอายุมีโอกาสสูงต่อการเกิดผล ข้างเคียงจากยา

การเปลี่ยนแปลงของร่างกายที่มีผลต่อการใช้ยาในผู้สูงอายุ คือ การดูดซึมยาลดลง แต่มักไม่ค่อยเกิดปัญหามากนักในผู้สูงอายุ การกระจายตัวของยา ผู้สูงอายุมีสัดส่วนของไขมันเพิ่มขึ้นและน้ำลดลงในร่างกาย ทำให้ยาหลายชนิด มีระดับยาสูงขึ้นในร่างกาย อาจเกิดพิษได้ง่ายและยาออกฤทธิ์นานกว่าปกติ เมตะบอลิสมของยาหรือการเปลี่ยนแปลงยาในร่างกาย โดยเฉพาะที่ตับเปลี่ยนแปลงไป จากการที่ตับ มีขนาดเล็กลง  เลือดมาเลี้ยงลดลง ทำให้มีโอกาสที่จะมียาคั่งค้างสูง และการกำจัดยาทางไต ทำได้ลดลงเนื่องจากไตทำงานลดลงตามอายุ จึงอาจทำให้ขับยาออกจากร่างกายไม่ได้

นอกจากนั้นผู้สูงอายุยังมีการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายอีกหลายอย่างที่ส่งผลต่อการใช้ยา เช่น มีความไวต่อยาบางชนิดเพิ่มขึ้น  ในขณะที่ยาบางชนิดผู้สูงอายุกลับมีความไวต่อยาลดลง เป็นต้น สิ่งเหล่านี้จึงอาจก่อให้เกิดปัญหากับการสั่งใช้ยาในผู้สูงอายุเป็นอย่างมาก

การใช้ยา

ทีนี้เราลองมาเจาะลึกเกี่ยวกับการใช้ยาในผู้สูงอายุกันค่ะ ผู้สูงอายุมักมีปัญหาสุขภาพหลายด้าน ทำให้ได้รับยาหลายรายการ ดังนั้น จึงอาจมีความเสี่ยงที่จะได้รับยาเกินความจำเป็น เกิดผลข้างเคียงหรืออันตรายจากยา รวมไปถึงอันตรกิริยาระหว่างยา หรือที่เรียกว่ายาตีกันได้

แล้วแบบนี้ผู้สูงอายุควรใช้ยาอย่างไรจึงจะปลอดภัย โดยผู้สูงอายุมีสภาพร่างกายที่เสื่อมไปตามวัย ทั้งการเคลื่อนไหว สายตา และความจำ ดังนั้นจึงควรมีผู้ดูแลคอยจัดยาให้เพื่อให้มั่นใจว่าผู้สูงอายุสามารถใช้ยาได้อย่างถูกต้อง โดยสิ่งที่สำคัญในการเริ่มใช้ยาคือ การอ่านฉลากยาให้ถี่ถ้วน เพื่อให้สามารถใช้ยาได้อย่างถูกคน ถูกโรค ถูกขนาด ถูกวิธี และถูกเวลา

รวมถึงเรียนรู้การกินยาก่อน-หลังอาหาร ว่ารับประทานอย่างไร เช่น ยาก่อนอาหารควรรับประทานก่อนอาหารอย่างน้อย 30 นาที ส่วนยาหลังอาหารสามารถรับประทานหลังอาหารได้ทันทีโดยไม่แตกต่างจากการรับประทานหลังอาหาร 15 นาทีหากลืมรับประทานยาควรจำเป็นต้องปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนว่าต้องปฏิบัติตัวอย่างไร เนื่องจากยาบางชนิดให้รับประทานทันทีที่นึกได้ ยาบางชนิดอาจต้องรอรับประทานมื้อถัดไป

หลายคนอาจเกิดคำถามว่าการลืมรับประทานยาส่งผลต่อการรักษาโรค แล้วจะทำอย่างไรให้ผู้สูงอายุไม่ลืมรับประทานยา คำตอบก็คือ นอกจากการมีผู้ดูแลคอยจัดยาแล้ว ยังมีเครื่องมืออื่นๆ ที่สามารถเลือกใช้เป็นตัวช่วยในการรับประทานยาให้ถูกต้องมากขึ้น ตัวอย่างเช่นกล่องใส่ยา เช่น กล่องใส่ยาที่ระบุวันของสัปดาห์ ผู้สูงอายุที่มีการรับประทานยาหลายชนิดและมีความซับซ้อนอาจเลือกกล่องยาที่แยกเป็นมื้อละเอียดมากขึ้น

กินยา

นาฬิกาปลุก สามารถเลือกใช้นาฬิกาข้อมือหรือโทรศัพท์มือถือตั้งเวลาปลุกเตือนเมื่อถึงเวลารับประทานยา แอพพลิเคชันสำหรับเตือนให้รับประทานยาในสมาร์ทโฟน สามารถดาวน์โหลดมาใช้ได้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย ทั้งนี้ ไม่แนะนำให้เตรียมยาล่วงหน้าครั้งละมากๆ หากเป็นยาบรรจุแผง แนะนำให้ตัดแผงยาตามเม็ดและเอาเม็ดยาออกจากแผงเมื่อจะรับประทานเท่านั้น เนื่องจากยาบางชนิดอาจไวต่อแสงหรือความชื้นทำให้เสื่อมสภาพได้ง่าย

>>อ่านต่อหน้าถัดไป<< 

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.