หมูกระทะ ก่อมะเร็ง กับภูมิปัญหาชาวบ้าน ลดมะเร็ง เพิ่มความอร่อย
หมูกระทะ ความอร่อยที่มาพร้อมสุข ยิ่งกินกันหลายคนยิ่งอร่อย แต่ในรสชาติถูกปากนั้น อุดมไปด้วยสารก่อ มะเร็ง เรียกว่าเมนูเดียว แต่มีสารก่อมะเร็งอยู่ถึง 3 ตัว! แต่เรายังโชคดี ที่มีตัวช่วยลดก่อมะเร็ง แต่จะเป็นอะไรนั้น มาติดตามกันค่ะ
สารก่อมะเร็งในหมูกระทะ
- สารไนโตรซามีน (nitrosamines) พบในปลาหมึก ปลาทะเลย่าง และเนื้อสัตว์แปรรูปที่ใส่สารไนเตรท เช่น แหนม ไส้กรอก เบคอน แฮม โดยสารไนโตรซามีน เป็นสารก่อมะเร็ง ทั้งมะเร็งตับ มะเร็งหลอดอาหาร
- สารพัยโรลัยเซต (Pyrolysates) เป็นสารที่พบในส่วนไหม้เกรียมของอาหาร โดยสารกลุ่มนี้มีฤทธิ์ก่อการกลายพันธุ์สูงมาก หรือก็คือเปลี่ยนเซลล์ปกติ ให้กลายเป็นเซลล์มะเร็งนั่นเอง
- สารพีเอเอช หรือสารในกลุ่ม โพลีไซคลิก อะโรมาติก ไฮโดรคาร์บอน (Polycyclic aromatic hydrocarbon) เป็นสารชนิดเดียวกับที่อยู่ในควันรถ ควันจากเตาเชื้อเพลิงในโรงงาน โดยสารชนิดนี้จะพบในเนื้อสัตว์ที่ปิ้งย่างจนไหม้เกรียม และในบริเวณที่มีไขมันติดอยู่ด้วย เช่น หมูย่างติดมัน เนื้อติดมัน โดยไขมันที่ละลายลงไปโดนเตาไฟ ทำให้เกิดเขม่าควันลอยขึ้นมาเกาะที่อาหาร ซึ่งหากได้รับบ่อยๆ จะทำให้มีโอกาสเสี่ยงโดยเฉพาะมะเร็งตับและท่อน้ำดี ซึ่งจากข้อมูลในปี 57 มะเร็งทั้งสองชนิดคืออันดับหนึ่งของสาเหตุการเสียชีวิตจากมะเร็ง
เคล็ดลับลดมะเร็ง
ตัวช่วยที่จะลดสารก่อมะเร็งได้นั่นก็คือ ใบตอง เพราะใบตองรองจะช่วยลดปริมาณไขมันที่หยดใส่เตาไฟให้น้อยลง นอกจากนั้นยังทำให้เนื้อมีกลิ่นหอม เกิดเขม่ามาเกาะที่เนื้อสัตว์น้อยลง จึงลดโอกาสเสี่ยงก่อนเกิดมะเร็งได้
ลดมะเร็งได้ง่าย
- หากทำกินเอง ควรเลือกส่วนที่ติดไขมันให้น้อยที่สุด
- หากใช้ถ่าน ควรเลือกถ่านอัดก้อน หรือใช้ฟืนที่เป็นไม้เนื้อแข็ง
- ไม่กินส่วนที่ไหม้เกรียม
ข้อมูล กรมอนามัย, ศูนย์ข้อมูลพิษวิทยา
เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ
6 WAY ลดรับสารพิษ ลดเสี่ยงมะเร็ง