บรูซ วิลลิส

อะเฟเซีย ภาวะสมองเสื่อม เสียการสื่อความ ของ บรูซ วิลลิส

เมื่อเร็วๆ นี้ทั่วโรคได้ทราบข่าวที่ทำให้รู้สึกตกใจไม่น้อย นั้นก็คืออาการป่วยของพระเอกชื่อก้องโลก ที่แอดเชื่อว่าผลงานของเขาต้องเคยผ่านสายตาทุกคน ไม่มากก็น้อย นั้นคืออาการป่วยภาวะสมองเสื่อม อะเฟเซีย ที่ทำให้เสียการสื่อความของ บรูซ วิลลิส วันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับภาวะดังกล่าว เพราะไม่ใช่แค่โรคของคนดัง แต่อะเฟเซีย ยังเป็นภาวะสมองเสื่อมที่เกิดขึ้นมากที่สุดกับคนในวัยต่ำกว่า 65 ปี

อะเฟเซีย คือ 

เป็นความผิดปกติของระบบประสาท ที่เกิดขึ้นในสมองซีกซ้ายที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับภาษา ทำให้สูญเสียความสามารถทางภาษาไม่ว่าจะเป็นในด้าน ฟัง พูด อ่าน หรือเขียน  ซึ่งอาการที่แสดงออกจะแตกต่างไปตามรูปแบบความผิดปกติที่เกิดขึ้น

สำหรับความหนักเบาของอาการ ขึ้นอยู่กับว่ารอยของโรคมีขนาดเล็ก ใหญ่เท่าไหร่ และเกิดขึ้นในส่วนใด หากมีขนาดใหญ่ครอบคลุมเนื้อสมองที่ทำหน้าที่ภาษาทั้งหมด ก็จะทำให้สียความสามารถทางการสื่อสารไปโดยสมบูรณ์

สาเหตุของ อะเฟเซีย 

เกิดขึ้นได้หลายสาเหตุ ไม่ว่าจะทั้งจากโรคภัย และจากอุบัติเหตุ โดยภาวะดังกล่าวอาจเกิดขึ้นได้แบบชั่วคราว และแบบถาวร ซึ่งมีสาเหตุที่แตกต่างกัน คือ

แบบถาวร 

  1. ภาวะสมองขาดเลือด
  2. เส้นเลือดในสมองแตก
  3. สมองได้รับการกระทบกระเทือน เช่น จากอุบัติเหตุ จากการผ่าตัด
  4. โรคทางสมอง เช่น ติดเชื้อในสมอง อัลไซเมอร์
  5. เนื้องอก

แบบถาวร 

  1. ภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราว
  2. ไมเกรน
  3. ชัก

อาการของ อะเฟเซีย 

เนื่องจากเป็นภาวะที่เกิดกับการสื่อความ และภาษา จึงทำให้มีอาการหลากหลายรูปแบบ

  • พูดและสื่อสารผ่านภาษากายไมไ่ด้
  • ฟังไม่เข้าใจ ตอบไม่ตรงคำถาม
  • พูดไม่ชัด
  • พูดลำบาก ทั้งจากการพูด และการคิดคำ
  • ลืมชื่อเรียก
  • ไม่เข้าใจคำสั่ง
  • พูดตามไม่ได้
  • ปาก ลิ้น ขากรรไกร แข็งตัว

นอกจากนั้นแล้ว บริเวณที่เกิดความเสื่อม จะเป็นตัวกำหนดอาการที่แสดงออกมา คือ

  1. Broca’s aphasia/non fluent aphasia เกิดปัญหาในสมองซึกซ้ายส่วนหน้า  ผู้ป่วยเข้าใจความหมาย ทำตามคำสั่งได้ แต่ไม่สามารถออกเสียงได้ หรืออาจออกเสียงได้เป็นคำๆ สั้นๆ
  2. Wernicke’s aphasia/ fluent aphasia เกิดปัญหาในส่วนกลางของสมองซึกซ้าย  ผู้ป่วยไม่เข้าใจความหมายของประโยค ทั้งที่พูด หรือได้ยิน แต่ยังสามารถพูดได้คล่อง แต่ตอบกลับคนละเรื่อง คนละประเด็น
  3. Nominal Aphasia  เกิดปัญหาในส่วนสมองกลีบข้าง บริเวณขมับ ทำให้พูดตาม หรือคิดคำที่จะพูดไมไ่ด้
  4. Global aphasia เกิดปัญหาในสมองซึกซ้ายส่วนหน้า และส่วนกลาง ผู้ป่วยสูญเสียความสามารถทางภาษาทั้งหมด

การรักษา

เป็นการรักษาตามสาเหตุของการโรค เช่น หากเกิดจากเนื้องอก ก็จะต้องมีการผ่าตัด หากเกิดจากเส้นเลือดในสมองก็จะต้องทำการรักษา นอกจากนั้นยังต้องทำการฟื้นฟูบำบัดด้านการพูด การใช้ภาษา รวมถึงการใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เข้าช่วย เช่น เครื่องช่วยการสื่อสาร

สำหรับโอกาสหายนั้นขึ้นอยู่กับความหนักเบาของอาการ หากมีอาการไม่มาก และอายุไม่เยอะ ก็มีโอกาสหายได้สูง แต่หากเป็นผู้ป่วยที่อายุมากแล้ว อาจทำให้โรครุนแรงขึ้น หรือการฟื้นฟูไม่สมบูรณ์ หรือใช้เวลาในการฟื้นฟูยาวนานมากขึ้น

ข้อมูล mayoclinic, โรงพยาบาลเพชรเวช, คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, โรงพยาบาลเมดพาร์ค,

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.