ฮอร์โมน คือสารเคมีที่ส่งข้อมูลจากเซลล์ในต่อมไร้ท่อไปตามกระแสเลือด ไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกาย เพื่อกระตุ้นการทำงานต่างๆ ในอวัยวะ เพื่อทำหน้าที่ควบคุมกระบวนการต่างๆ ในร่างกาย เช่น การเจริญเติบโต การสืบพันธุ์ และอารมณ์ความรู้สึกต่างๆ
วันนี้แอดจะพามารู้จักกับฮอร์ตัวสำคัญของร่างกาย ที่มีส่วนทั้งในเรื่องของอารมณ์ ความรู้สึก รวมไปถึงความแข็งแรงของร่างกายเรากันนะคะ จะมีอะไรบ้างมาดูกัน
โดพามีน
ฮอร์โมนความพึงพอใจ ความรัก ความยินดี ออกมาจากสมองกับเซลล์ประสาท โดพามีนทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับระบบประสาทในหลายๆ ส่วน เช่น การเคลื่อนไหว ความจำ และการเรียนรู้ หากโดพามีนต่ำจะทำให้รู้สึกซึมเศร้า หดหู่ ในปัจจุบันมีการพัฒนาโดพามีนเพื่อนำมาใช้เป็นหนึ่งในยารักษาอาการซึมเศร้า
ในผู้สูงอายุ หากมีโดพามีนต่ำเกินไปทำให้เป็นโรคพาร์กินสันได้ เพราะฮอร์โมนที่น้อยลงทำให้ระบบการทำงานของประสาทและกล้ามเนื้อไม่สัมพันธ์กัน จึงทำให้เกิดการสั่นของร่างกาย
เพิ่มระดับฮอร์โมน
1. ออกกำลังกาย
2. ทานอาหารที่มีกรดอะมิโนและโปรตีน เช่น ไข่ นม ถั่ว
คอร์ติซอล
คอร์ติซอล ฮอร์โมนแห่งความเครียด มาจากต่อมหมวกไต หากอยู่ในภาวะเครียด คับขัน ร่างกายจะหลั่งออกมา เพื่อเตรียมให้ร่างกายพร้อมรับมือ และตื้นตัว อีกทั้งยังเพิ่มการหลั่งน้ำตาลในร่างกายด้วย แต่ถึงอย่างนั้นคอร์ติซอลเองก็มีประโยชน์ด้วยเช่นกัน โดยทำให้ร่างกายรู้สึกประปรี้กระเปร่า พร้อมรับมือกับสิ่งต่างๆ
เพิ่มระดับฮอร์โมน
ฮอร์โมนคอร์ติซอลจะหลั่งมากในช่วงเช้า และค่อยลดลงในช่วงบ่าย และการทำให้ฮอร์โมนคอร์ติซอลสมดุลก็ต้องเข้านอนเร็ว
อะดรีนาลีน
เป็นฮอร์โมนแห่งความโกรธ ที่ออกมาจากต่อมหมวกไต หลั่งออกมาเมื่อเข้าสู่ภาวะฉุกเฉิน ร่างกายต้องใช้พลังงาน ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจทำงานอย่างเต็มที่ หัวใจบีบตัวหนักมากขึ้น ความดัน มักหลั่งออกมาเมื่อรู้สึกตื่นเต้น เป็นสาเหตุที่ทำให้ที่ไม่คาดคิดได้ เช่น ในยามไฟไหม้สามารถยกของหนักได้
ปกติแล้วอะดรีนาลีนจะหลั่งในยามที่ตื่นเต้นหรือเกิดเหตุฉุกเฉิน แต่หากมีมากเกินไปอาจเกิดจากเนื้องอกที่ต่อมหมวกไต ซึ่งจะทำให้รู้สึก หัวใจเต้นเร็ว ความดันโลหิตสูงเรื้อรัง
เอ็นดอร์ฟิน
ฮอร์โมนแห่งความสุข ที่หลั่งออกมาแล้วรู้สึกมีความสุข มีความพอใจ กระตุ้นความรู้สึกในแง่บวก เป็นสารที่เรียกได้ว่าเป็นมอร์ฟีนตามธรรมชาติ ที่ทำให้รู้สึกบรรเทาความเจ็บปวดลงได้
เพิ่มระดับฮอร์โมน
- ทำสิ่งที่ตัวเองชอบ
- ออกกำลังกาย 20 นาทีขึ้นไป
- ทำสมาธิ
เทสโทสเตอโรน
ฮอร์โมนเพศชาย ที่มาจากอัณฑะ ใช้คอเลสเตอรอลในการสังเคราะห์ เป็นฮอร์โมนที่ทำให้ร่างกายของเด็กชายเปลี่ยนแปลงจนกลายเป็นผู้ชายวัยรุ่น เช่น เสียงแตก มีหนวดขึ้น เป็นต้น หากมีเป็นปกติจะทำให้ร่างกายมีพัฒนาการที่สมบูรณ์ตามวัย แต่หากพร่องไปจะทำให้พัฒนาการไม่สมบูรณ์
ฮอร์โมนเพศชายจะเริ่มลดลงเมื่ออายุ 70 ปี โดยจะทำให้มีผลกับกล้ามเนื้อ มวลกระดูก ที่ฝ่อลง ลีบเล็กลง และส่งผลต่อการแข็งตัวของอวัยวะเพศด้วย
เพิ่มระดับฮอร์โมน
- ออกกำลังกายและพักผ่อนให้เพียงพอ
- ทานอาหารที่มีแร่ธาตุเสริมฮอร์โมนเพศชาย เช่น สังกะสี ซึ่งมีในหอยนางรม
เอสโตรเจน
ฮอร์โมนเพศหญิง ผลิตจากรังไข่ ทำให้ผู้หญิงมีการเจริญเติบโตที่สมบูรณ์ โดยมีการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายคือ มีหน้าอก สะโพกพาย ผิวพรรณเปล่งปลั่ง มีการตกไข่ เป็นต้น นอกจากนั้นแล้วยังรวมถึงการคงอยู่ของกระดูกและกล้ามเนื้อด้วย
ฮอร์โมนเอสโตรเจนในผู้หญิงจะลดลงเมื่ออายุประมาณ 45-50 ปี หรือที่เราเรียกว่า วัยทอง นั้นเอง โดยจะส่งผลต่ออารมณ์ที่ฉุนเฉียวง่าย อาการสะบัดร้อน สะบัดหนาว ระบบเผาผลาญเริ่มลดลง มวลกระดูกและกล้ามเนื้อลดลงอย่างรวดเร็ว ผมร้อน ผิวพรรณหยาบกร้าน
เพิ่มฮอร์โมน
เลือกกินอาหารที่เอสโตรเจน เช่น นมถั่วเหลือง น้ำมะพร้าว เป็นต้น
เช็กฮอร์โมนสมดุล
ในฮอร์โมนต่างๆ เมื่อร่างกายมีไม่สมดุลจะแสดงให้เห็นผ่านระบบที่เกี่ยวข้องกับฮอร์โมนชนิดนั้นๆ เช่นเมื่อมีฮอร์โมนอะดรีนาลีน หรือคอร์ติซอลมากเกินไปจะรู้สึก ใจสั่นรัว ความดันโลหิตสูง หรือมือสั่น เมื่อขาดฮอร์โมนโดพามีน
สำหรับผู้หญิง มีอาการที่เห็นได้ชัดคื ประจำเดือนไม่ปกติ มีอาการร้อนวูบวาบ วัยทอง ขาดชีวิตชีวา รู้สึกเฉื่อย หดหู่ หงุดหงิด ปวดหัว ผิวพรรณแห้งกร้าน และทำให้ช่องคลอดแห้ง กระดูกพรุน
สำหรับผู้ชาย จะรู้สึกอ่อนเพลีย เหนื่อยล้า ขาดสมาธิ ปวดหลัง ปวดข้อ แรงลดน้อยลง ตื่นตระหนก วิตกกังวล และมีความเครียดสูง
เรื่องฮอร์โมนที่น่าสนใจ
ชวนกิน 5 อาหารบำรุง ฮอร์โมนเพศหญิง ป้องกันโรค
กำจัด ความเครียด ปรับสมดุลฮอร์โมนคอร์ติซอร์
รู้หรือไม่ ฮอร์โมนไม่สมดุล ส่งผลเสียต่อร่างกายอย่างไรบ้าง
ที่มา
- มหาวิทยาลัยมหิดล
- โรงพยาบาลพญาไท