หัวเราะ, หัวเราะบำบัด, ฝึกหัวเราะ, ประโยชน์จากการหัวเราะ, อารมณ์ดี, อารมณ์ขัน

10 ระบบร่างกาย ที่ได้ประโยชน์จากการหัวเราะ

ประโยชน์จากการหัวเราะ ต่อระบบในร่างกาย

อยากรู้ ประโยชน์จากการหัวเราะ กันมั้ยคะ ? ก่อนอื่นต้องเริ่มด้วยการเล่าเรื่องต่อมไร้ท่อ (endocrine system) ในร่างกายต่อมไร้ท่อ เป็นต่อม ขนาดเล็กกระจายอยู่ตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย ระบบประสาทและระบบต่อมไร้ท่อทำงานร่วมกันและมีความสำคัญ

…ต่อมไร้ท่อจะหลั่งสารเคมีที่เรียกว่า ฮอร์โมนŽ แพร่เป็นสื่อไปตามกระแสเลือด ส่งผลต่อเซลล์เป้าหมายที่อยู่ห่างออกไปตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย

ฮอร์โมนจะเป็นตัวควบคุมและรักษาสภาวะสมดุลภายในร่างกายเราให้คงที่ เช่นรักษาระดับเกลือแร่และน้ำภายในร่างกาย ระดับน้ำตาลในเลือด และระดับเกลือในเหงื่อให้เหมาะสมกับสภาวะของร่างกาย

ฮอร์โมนบางประเภทอาจส่งผลระยะยาว เช่น ฮอร์โมนที่ควบคุมการเติบโตของร่างกายและทางเพศ บางชนิดส่งผลชั่วคราวเป็นจังหวะสม่ำเสมอ เช่น ฮอร์โมนที่กำกับรอบประจำเดือนในเพศหญิง

หรืออาจมีผลอย่างรวดเร็ว เช่น ฮอร์โมนที่ร่างกายสร้างขึ้นเมื่อเจ็บป่วย บาดเจ็บ หรือเมื่อสมองรับรู้ถึงอันตราย ทั้งยังมีบทบาทเกี่ยวกับอารมณ์ เช่น ความกลัว ความโกรธ ความสุข และความเศร้า

ระบบต่อมไร้ท่อจะตอบสนองในทันทีต่อความเครียด โดยต่อมหมวกไตชั้นในจะหลั่งอะดรีนาลีนและนอร์อะดรีนาลีน ทำให้หัวใจเต้นเร็วขึ้น ขยายปอดให้สูดอากาศได้มากขึ้น

ฮอร์โมนที่สำคัญที่สุดคือ คอร์ติซอลŽ (cortisol) หรือที่เรียกกันว่า ไฮโดรคอร์ติโซนŽ (hydrocortisone) ความเครียดจะทำให้ต่อมหมวกไตหลั่งคอร์ติซอลมากกว่าปรกติถึง 20 เท่า

พลังบังคับการระบบต่อมไร้ท่อสัมพันธ์กันโดยตรงกับ ไฮโปทาลามัสŽ ที่ควบคุมระบบต่อมไร้ท่อผ่านทางต่อมใต้สมอง มีน้ำหนักไม่กี่กรัม และมีขนาดราวปลายนิ้วหัวแม่มือ แต่เป็นอวัยวะที่ควบคุมระบบต่อมไร้ท่อทั้งหมด และเป็นส่วนหนึ่งของสมองที่ทรงพลัง มีหน้าที่หลากหลายที่สุดเมื่อเทียบกับขนาดอันจำกัด

สมองส่วนนี้เกี่ยวข้องกับอารมณ์ความรู้สึก และการแสดงออก รวมถึงการควบคุมกระบวนการอัตโนมัติของร่างกายและแรงขับดันต่างๆ

ต่อมไร้ท่อในร่างกายการตอบสนองต่อความเครียด

ทุกครั้งที่เสียงหัวเราะจางหายไปจากใบหน้า แน่นอน ความเครียดได้เริ่มเข้ามาทักทายคุณเข้าให้แล้ว

อาจารย์สาทิส อินทรกำแหง เคยพูดถึงความเครียดว่าส่งผลต่อระบบอวัยวะภายในร่างกายอย่างไรไว้ดังนี้

…เวลาที่คุณโกรธ กระเพาะ ลำไส้บีบน้ำย่อยออกมามากเกินไป พอถึงเวลาอาหารจริงๆ น้ำย่อยไม่มี กินข้าวไม่ลง เวลาที่เราเสียใจ น้อยใจ ฮอร์โมนร่วมกับเอนไซม์ ซึ่งเป็นตัวที่จะช่วยเรื่องการย่อยช่วยทำให้เส้นเลือด บีบตัว ช่วยในการขยายเส้นเลือดหลอดลมต่างๆ ทั้งฮอร์โมนเอนไซม์กว่า 50 ตัวทำงานด้อยลง เปลี่ยนแปลงไปหมด ผลคือเส้นเลือดตีบ เลือดขึ้นไปที่หน้าไม่ได้ เป็นผลให้หน้าเขียว

…บางคนมีความเครียดตกค้างมากๆ ผมบอกให้ลองเอาคางจรดอก หลายคนจรดไม่ได้ ทั้งๆ ที่มีอายุไม่มาก ให้หมุนคอไปรอบๆ ก็ทำไม่ได้ ทำไมทำไม่ได้ ก็เพราะความเครียด ความเกร็งที่มันตกค้างอยู่ในใจเรา…ความเครียดมีผลทำให้กลุ่มเม็ดเลือดขาวซึ่งเป็นตัวสำคัญของภูมิต้านทานลดต่ำลงทันที มีผลต่อการ

ลดลงของภูมิชีวิต ทำให้เกิดอาการเจ็บป่วย ทางที่ถูกต้องคือ ต้องรู้จักคิดในทางบวก รู้จักให้อภัย เข้าใจ และปล่อยวางได้ ไม่ยึดติด ไม่ขึ้งโกรธ ไม่ถือสา…Ž

ความเครียดเกิดขึ้นเมื่อใด จะส่งผลต่อปฏิกิริยาภายในร่างกาย เช่น หัวใจคุณจะเต้นถี่เร็วขึ้น ตับถูกฮอร์โมนในร่างกายกระตุ้นให้หลั่งน้ำตาลเข้าสู่กระแสเลือดมากขึ้นกระเพาะอาหารและลำไส้หดเกร็งปั่นป่วนในช่องท้อง ม่านตาขยายออก ปากคอแห้ง เหงื่อชุ่มตัว ผิวหนังหดตัวจนขนลุก ต่อเนื่องไปถึงต่อมไร้ท่อทั่วร่างกายของมนุษย์ด้วยเช่นกัน

ต่อมหมวกไต (adrenal gland) วางครอบอยู่บนไตเหมือนเป็นหมวกทรงสามเหลี่ยม เป็น ต่อมไร้ท่อขนาดเล็ก ยาวประมาณ 1 – 2 นิ้ว แต่สามารถหลั่งฮอร์โมนได้มากกว่า 36 ชนิด

ต่อมหมวกไตมีสองต่อมซ้อนกันอยู่ ได้แก่ ต่อมชั้นนอก ซึ่งเป็นเปลือกของต่อมหมวกไต มีสีเหลือง ถูกสั่งการโดยฮอร์โมนที่หลั่งจากต่อมใต้สมองอีกทอดหนึ่ง

ต่อมชั้นใน เป็นเนื้อในของต่อมหมวกไต มีสีน้ำตาลแดง และทำงานตอบสนองคำสั่งโดยตรงจากระบบประสาท จะหลั่งฮอร์โมนสอง ชนิด ได้แก่ อะดรีนาลีน (adrenaline) และนอร์อะดรีนาลีน (noradrenaline) ซึ่งเป็นสารเคมีตอบสนองความกลัวและความโกรธ

ไฮโปทาลามัสคือกลุ่มเซลล์ขนาดเล็กในสมอง ทำหน้าที่ตรวจสอบข้อมูลสภาพร่างกาย และช่วยประสานงานระหว่างระบบประสาทและระบบต่อมไร้ท่อ เป็นเสมือนตัวกลางระหว่างสมองกับร่างกายสื่อสารกัน

ไฮโปทาลามัสเป็นตัวกลางให้ข้อมูลต่างๆ เข้าและออกจากสมอง ดังนั้น อวัยวะนี้จะรับรู้เกี่ยวกับ

ความรู้สึก อารมณ์ต่างๆ ของมนุษย์…

หัวเราะ, หัวเราะบำบัด, ฝึกหัวเราะ, ประโยชน์จากการหัวเราะ, อารมณ์ดี, อารมณ์ขัน
หัวเราะ ช่วยผ่อนคลายความเครียด ลดความเสียงการเกิดโรคได้

การสื่อสารระหว่างสมองกับร่างกายบางครั้งจะเป็นไปอย่างอิสระ โดยไม่ผ่านไฮโปทาลามัส เมื่อเผชิญกับภาวะฉุกเฉิน ระบบประสาทความรู้สึกจะกระตุ้นต่อมหมวกไตให้หลั่งฮอร์โมนอะดรีนาลีนและนอร์อะดรีนาลีน

ชีวิตที่ปราศจากอารมณ์ขัน เคร่งเครียดอยู่กับภาระหน้าที่การงานประจำวัน ส่งผลให้สารเคมีในร่างกายทำปฏิกิริยาในทางลบ นายแพทย์วราภณ วงศ์ถาวราวัฒน์ อาจารย์หน่วยต่อมไร้ท่อและเมตาโบลิซึ่ม ภาควิชาอายุรศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์กล่าวถึงผู้ที่ขาดอารมณ์ขัน ส่งผลต่อต่อมหมวกไตอย่างไร

เครียดทางกายหรือทางใจ พิสูจน์ได้แน่ๆ คือ ความเครียดทางกายจะทำให้ระดับของต่อมหมวกไตผลิตหรือปล่อยสเตอรอยด์มากขึ้น เช่น ติดเชื้อง่าย พบก้อนเนื้องอกของ ต่อมหมวกไต ซึ่งจะแสดงลักษณะอาการที่น้ำหนักเกิน ใบหน้าอ้วนฉุ ความดันโลหิตสูง เบาหวานŽ

การเจ็บป่วยที่เกี่ยวข้องกับต่อมไร้ท่อมีความสัมพันธ์กับอารมณ์ของมนุษย์เช่นใด

นายแพทย์วราภณให้ความรู้กลับมาว่าที่เห็นเด่นชัดที่สุดคือ โรคต่อมไทรอยด์ (Thyroid gland) ที่ควบคุมการใช้พลังงานของร่างกายและพัฒนาการของร่างกาย

ไทรอยด์เป็นพิษ จะมีลักษณะอารมณ์ขี้วิตกกังวล   หงุดหงิด   นอนไม่หลับ   มือสั่น ใจสั่น น้ำหนักลดหรือคงที่ แม้ว่าจะทานมากอย่างต่อเนื่องก็ตาม ขี้ร้อน ถ่ายบ่อยขึ้น ประจำเดือนมาน้อย ซึ่งผู้ป่วย อาจไม่เป็นครบทุกอาการ

ในรายที่ผู้ป่วยเป็นโรคไทรอยด์อักเสบ แต่ไม่ถึงกับเป็นพิษ จะพบว่าผู้ป่วยจะมีอาการเฉื่อยชา สมาธิสั้น เกิดภาวะซึมเศร้า รับประทานอาหารไม่มาก แต่น้ำหนักสูงขึ้น   ขี้หนาว   ผิวแห้ง ท้องผูก ประจำเดือนมามากผิดปรกติ ซึ่งไม่ได้เกิดแบบเฉียบพลัน อาจใช้เวลานานหลายเดือนหลายปี ถ้าไม่สังเกตก็จะไม่รู้ว่าเขาเป็นโรคไทรอยด์Ž

 

คลิกเพื่ออ่านต่อหน้าถัดไป

หัวเราะ, หัวเราะบำบัด, ฝึกหัวเราะ, ประโยชน์จากการหัวเราะ, อารมณ์ดี, อารมณ์ขัน
หัวเราะบ่อยๆ ช่วยร่างกายแข็งแรง และมีสุขภาพจิดดี

10 ระบบร่างกาย ที่ได้ประโยชน์จากการหัวเราะ

  1. ระบบประสาท (Nervous system) ประกอบด้วยสมอง ไขสันหลัง และเส้นประสาท และยังรวมถึงตา
  2. ระบบต่อมไร้ท่อ (Endocrine system) ประสานการทำงานของร่างกาย ตั้งแต่พัฒนาการของเพศลักษณ์ไปจนถึงการใช้สารอาหารในชีวิตประจำวัน
  3. ระบบหายใจ (Respiratory system) ประกอบด้วยปอดเป็นสำคัญ ในทางการแพทย์ หู จมูก และคอ จัดแยกไว้เป็นหมวดพิเศษ
  4. ระบบไหลเวียนโลหิต (Circulatory system) ประกอบด้วยหัวใจ หลอดโลหิตดำ หลอดโลหิต

แดง และโลหิต

  1. ระบบกล้ามเนื้อ (Muscular system) มักเสนอรวม ไปกับระบบกระดูก เพราะสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด
  2. ระบบย่อยอาหาร (Digestive system) ประกอบด้วยปาก ฟัน กระเพาะอาหาร ลำไส้ ตับ และอื่นๆ
  3. ระบบกระดูก (Skeletal system) ทำหน้าที่เป็นโครงร่างส่วนแข็งและสร้างเม็ดเลือดจากไขกระดูก
  4. ระบบสืบพันธ์ุ (Reproductive system) มักศึกษา ในแง่การทำงานของอวัยวะ และในแง่การตั้งครรภ์

และการกำเนิด

  1. ระบบขับถ่ายปัสสาวะ (Urinary system) มีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับระบบสืบพันธุ์หัวเราะเพื่อผ่อนคลายไม่ใช่รักษาให้หายขาด
  2. ระบบผิวหนัง (Skin) เป็นส่วนที่ปกคลุมร่างกายและบุผิวภายในอวัยวะต่างๆ นับเป็นระบบหนึ่งได้ทีเดียว ระบบนี้รวมผม ขน และเล็บด้วย

 

ข้อมูลจากนิตยสารชีวจิต คอลัมน์ เรื่องพิเศษ

 

 

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.