จัดห้องน้ำผู้สูงอายุ แบบผิดๆ อาจนำไปสู่อุบัติเหตุไม่คาดฝัน!
เป็นเรื่องธรรมชาติที่ เมื่อเวลาผ่านไป ร่างกายที่เคยแข็งแรงจะเริ่มทรุดโทรมเข้าสู่วัยผู้สูงอายุ ทำให้การใช้ชีวิตประจำวันเริ่มลำบาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเวลาใช้ “ห้องน้ำ” ซึ่งเป็นสถานที่ที่ควรให้ความสำคัญเรื่องความปลอดภัยเป็นอันดับต้นๆ
การสร้างห้องน้ำ จึงควรจะต้องได้รับการปรับปรุงเพื่อให้ผู้สูงอายุสามารถใช้งานได้อย่างสะดวกปลอดภัย
เชื่อว่าที่ผ่านมาในขณะที่เรายังอยู่ในวัยหนุ่มสาว เรามักสร้างบ้านโดยคำนึงถึงวัสดุและดีไซน์เป็นหลัก จนอาจมองข้ามความสำคัญทางกายภาพของตัวเราหรือสมาชิกในครอบครัวที่อยู่อาศัยในบ้าน ซึ่งอาจยาวนานหลายปีหรือตลอดชีวิตเลยก็ได้ ซึ่งหากว่าเราเล็งเห็นถึงความสำคัญในจุดนี้ตั้งแต่แรก และออกแบบห้องน้ำให้ใช้งานได้ทั้งวัยหนุ่มสาวและผู้สูงอายุ ก็จะทำให้เกิดความคุ้มค่าและยั่งยืน
แต่หลายคนอาจหลงลืมไปว่า แล้วหากเรามีการปรับห้องน้ำผิดวิธี จะส่งผลเสียหรืออันตรายกับผู้สูงวัยอย่างไรบ้าง
ซึ่งในวันนี้เราจะมาบอกเรื่องนี้กัน เมื่ออ่านจบแล้วก็ลองสำรวจห้องน้ำในบ้านของตัวเองกันดูค่ะว่า มีการจัดห้องน้ำแบบผิดๆ หรือไม่ เพราะถ้าจัดไม่ดี อันตรายอาจเกิดขึ้นกับคนที่เรารักแบบคาดไม่ถึงก็ได้ ดังนั้นถ้าพบแล้ว ก็ให้รีบปรับปรุงแก้ไขนะคะ
10 ข้อผิดพลาดในการสร้างห้องน้ำสำหรับผู้สูงอายุ ซึ่งทำให้เสี่ยงอุบัติเหตุ
ห้องน้ำภายในบ้านเป็นจุดที่ควรให้ความสำคัญในเรื่องความปลอดภัย โดยเฉพาะครอบครัวไหนมีผู้สูงอายุ ยิ่งต้องใส่ใจเรื่องห้องน้ำเป็นพิเศษ
การทำห้องน้ำผู้สูงอายุที่ก่อให้เกิดความไม่สะดวกในการใช้งาน และเสี่ยงที่จะเกิดอันตรายมีดังนี้
- พื้นที่ภายในห้องน้ำมีขนาดแคบมาก ส่งผลให้ลำบากในการหมุนกลับตัวของรถเข็น ทำให้เกิดความไม่สะดวก บางคนเคิดว่า ผู้สูงอายุใช้เวลาอยู่ในห้องน้ำไม่นาน ไม่ต้องสร้างให้กว้างขวางมากนักก็ได้ ซึ่งนั่นเป็นความคิดที่ผิดค่ะ เพราะห้องน้ำที่ดีควรกว้างอย่างน้อย 1.5 x 2 เมตร เพื่อการหมุนกลับตัวของรถเข็นได้สะดวก ยิ่งกว้างยิ่งดี แต่ก็ไม่ควรกว้างมากจนเกินไป จนทำให้ผู้สูงอายุต้องใช้เวลาเดินนานกว่าจะถึงก็ไม่ควร เอาเป็นว่าสร้างขนาดพอดีๆ ก็พอ
- ประตูห้องน้ำแคบและเล็กมากเกินไป ทำให้เกิดการเข้าออกลำบาก อาจเสี่ยงต่อการบาดเจ็บ หรือชนขอบประตูได้ง่าย ทางที่ดีประตูห้องน้ำ ควรกว้างอย่างน้อย 90 เซนติเมตร บานประตูควร (**เขียนเกิน) มีมีน้ำหนักเบา เพื่อความสะดวกในการเข้า-ออกของผู้สูงอายุที่ใช้รถเข็น
- ประตูห้องน้ำเป็นแบบบานเปิดเข้า เปิดออก ไม่เหมาะอย่างยิ่ง เพราะจะทำให้ผู้สูงอายุเกิดความลำบากในการเปิด-ปิด ถ้าจะให้ดี ประตูห้องน้ำควรเป็นบานเลื่อนหรือบานเปิดออกนอกห้องน้ำ และไม่ควรติดกลอนล็อกบานประตู เนื่องจากถ้าเป็นประตูบานเปิดเข้าแบบทั่วไป หากผู้สูงอายุล้มและนอนขวางอยู่บริเวณหน้าประตู ผู้ที่อยู่นอกห้องจะไม่สามารถเปิดเข้าไปช่วยเหลือได้ จึงควรใช้ประตูบานเลื่อนหรือบานเปิดออก เพื่อให้คนในครอบครัวสามารถเข้าไปช่วยเหลือผู้สูงอายุได้เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน