รำตะบอง

ทำไมเราจึง “ต้อง” ออกกำลังกาย

ความจริงคำว่า “ออกกำลังกาย” เพิ่งจะมีความหมายมาไม่นานนี้เอง สมัยก่อนโน้น การออกกำลังกายก็คือการทำงาน ทุกคนต้องทำงานเพื่อเลี้ยงชีวิต และงานที่ว่าก็คือการทำงานด้วยวิธีธรรมชาติ ต้องออกแรงเป็นประจำ เช่น หาบน้ำ ตำข้าว ผ่าฝืน ขุดดิน ทอผ้า ฯลฯ
รำกระบอง, ตะบอง, ปวดหลัง, ปวดขา, ปวดเข่า, ลดหน้าท้อง
ท่าเตะในออกนอก ช่วยลดต้นขา

แต่เดี๋ยวนี้วิถีชีวิตของคนเปลี่ยนไปแล้ว คนในเมืองส่วนใหญ่ทำงานนั่งโต๊ะ วันๆไม่ค่อยได้ออกแรงกายขับเหงื่อไคลบ้างเลย เราจึงต้องเพิ่มการออกกำลังกายเป็นเรื่องใหม่ในชีวิตไงคะ การที่ร่างกายได้ออกแรงเป็นเรื่องจำเป็นและสำคัญ ขาดไม่ได้ เพราะเป็นวิธีหนึ่งที่ทำให้“โกร๊ธฮอร์โมน” (GROWTH HORMONE) หลั่งออกมาได้ ทำให้กล้ามเนื้อและกระดูกแข็งแรง ช่วยให้ต่อมต่างๆทำงานเต็มประสิทธิภาพ แล้วยังมีผลให้จิตใจผ่อนคลายลงอีกด้วย

อย่างไรก็ตาม มีข้อแม้อยู่ว่า การออกกำลังกายหรือกายบริหารที่ดีจะต้องให้ถึง Peak คือ ออกกำลังกายจนเหงื่อโทรมกาย หัวใจเต้นแรง จับชีพจรเต้นตั้งแต่ 100-120 ครั้งต่อนาที นอกจากนี้การออกกำลังควรทำอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อย 3-4 ครั้งต่อสัปดาห์ และในแต่ละครั้งควรใช้เวลาไม่น้อยกว่า 20-30 นาทีเป็นอย่างต่ำ คุณจะเลือกการออกกำลังด้วยวิธีไหนก็ได้ หรือจะเล่นกีฬาประเภทที่คุณโปรดปรานก็ตามใจ แต่สำหรับชีวจิต เรามีวิธีออกกำลังที่เรียกว่า “รำตะบอง” ที่น่าลองไม่ใช่เล่นค่ะ

รำตะบองสไตล์ชีวจิต ท่ารำตะบองนี้ประยุกต์มาจากศาสตร์ของการออกกำลังกายหลายแขนง อาทิ โดอิน ไท้เก็ก ไอโซเมตริกซ์ โยคะ ฯลฯ ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ของการออกกำลังที่สามารถไปถึงระดับสูงสุด (Peak) ซึ่งเป็นระดับที่”โกร๊ธฮอร์โมน” จะหลั่งออกมาในเวลารวดเร็ว

ที่สำคัญ หากคุณออกกำลังกายด้วยท่ารำตะบองนี้ร่างกายของคุณจะได้ทำสองอย่างไปพร้อมๆกันคือ ออกกำลังกายและบริหารร่างกาย นั่นคือ ได้ใช้ทั้งกำลังเพื่อเสริมความแข็งแรงให้กระดูก เส้นเอ็น และกล้ามเนื้อ ขณะเดียวกันก็ได้บริหารเพื่อการยืดหยุ่นและผ่อนคลายของ กระดูก เส้นเอ็น และกล้ามเนื้อ

ก่อนออกกำลังกายด้วยท่ารำตะบอง ควรใส่เสื้อผ้าที่ดูทะมัดทะแมง ถ้าเป็นไปได้ให้ดื่ม น้ำอาร์ซี อุ่นๆ รองท้องสักแก้ว รับรองว่าต้องกระชุ่มกระชวย

ท่ารำตะบองของชีวจิตนั้นมีอยู่ด้วยกัน 12 ท่า ดังต่อไปนี้

  1. ท่าจูบสะดือ
  2. ท่าไหว้พระอาทิตย์
  3. ท่าถ้ำผาปล่อง
  4. ท่า 180 องศา
  5. ท่าแหงนดูดาว
  6. ท่าสีลม
  7. ท่า 360 องศา
  8. ท่าเตะตรงเท้าเหยียด
  9. ท่าเตะตรงเท้าฉาก
  10. ท่าเตะนอกเข้าในเท้าเหยียด
  11. ท่าเตะในออกนอกเท้าตั้งฉาก
  12. ท่าแถม

ทำกระบองแบบพกพาอย่างง่าย

© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.