คนติดจอ ภูมิแพ้ ออฟฟิศซินโดรม ปวดตา ปวดหลัง ปวดกล้ามเนื้อ

8 สัญญาณ เสี่ยงป่วย คนติดจอ ต้องรู้

8 สัญญาณ เสี่ยงป่วย คนติดจอ ต้องรู้

คนติดจอ ต้องรู้ ในปัจจุบันเราคงไม่สามารถหลีกเลี่ยงการทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์ได้ การนั่งทำงานอย่างต่อเนื่องอาจทำให้เกิดอาการผิดปกติ เช่น อาการปวดกล้ามเนื้อ คอ บ่า ไหล่ ข้อมือกล้ามเนื้อรอบๆ ดวงตา เป็นต้น

คุณหมอสุมาภา ชัยอำนวย แพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคข้อ มีวิธีสังเกตสัญญาณอันตรายที่เป็นตัวบอกได้ว่าเราควรหาเวลาพักการทำงานหน้าจอได้แล้ว รวมถึงวิธีป้องกันอาการป่วย

 

1. อาการปวดกล้ามเนื้อ

โดยเฉพาะอย่างยิ่งการปวดหรือเมื่อยล้าบริเวณสะบัก บ่า ต้นคอ และร้าวลงแขนเป็นสัญญาณเตือนว่า เราทำงานติดต่อกันนานเกินไปควรมีการเปลี่ยนอิริยาบถบ้าง ด้วยการยืดกล้ามเนื้อทุกๆ ชั่วโมง นอกจากนี้ยังควรจัดโต๊ะทำงานให้เหมาะสม

ดังนี้ จอคอมพิวเตอร์ควรอยู่ระดับเดียวกับสายตา ห่างจากตา 12 – 18 นิ้ว ไม่ยกไหล่ขณะพิมพ์งาน ปรับพนักพิงให้อยู่ในระดับมาตรฐาน ข้อศอกตั้งฉากกับลำตัว เก้าอี้มีที่วางแขน คีย์บอร์ดอยู่ระดับเดียวกับเม้าส์

ปวดหลัง จากการทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์

2. อาการปวดหลัง

ชาร้าวลงขา เกิดจากการนั่งนานเกินไป อาจจะเกิดจากการนั่งไขว่ห้างที่ไปกดทับหลอดเลือดและเส้นประสาท หากใครมีอาการนี้รีบขยับร่างกายโดยด่วน และกลับมาดูเก้าอี้ทำงานว่าได้มาตรฐานหรือไม่ โดยสังเกตจากเก้าอี้ควรจะมีความแน่น ไม่นุ่มไม่แข็งเกินไป มีพนักหลังสูงถึงระดับคอ สะโพก และขา ต้องตั้งฉากกัน ความสูงของเก้าอี้ต้องพอดี มีที่วางพักเท้าเวลานั่งทำงานนานเพื่อไม่ให้เท้าลอย

 

3. อาการชาที่ฝ่ามือ

เกิดจากการกระดกข้อมือขึ้นลงมาก เช่น การพิมพ์ การใช้เม้าส์ โดยมีข้อมือเป็นจุดรับน้ำหนัก จนเกิดเป็นพังผืดและหนาตัวขึ้นไปทับเส้นประสาทที่บริเวณข้อมือ ซึ่งมีแขนงไปยังนิ้วหัวแม่มือ นิ้วชี้ นิ้วกลาง

นิ้วนาง และนิ้วก้อย จึงทำให้มีอาการปวดและชาตามนิ้ว ถ้าเส้นประสาทถูกกดทับนานๆ ก็จะทำให้กล้ามเนื้อฝ่ามือบริเวณนิ้วหัวแม่มือลีบเล็กลง มีอาการอ่อนแรงจะรู้สึกว่าไม่ค่อยมีแรงเวลากำมือ โดยเฉพาะการใช้มือหยิบของเล็กๆ จะทำได้ลำบากหากเริ่มมีอาการควรไปพบแพทย์และพยายามลดการใช้ข้อมือลง

นิ้วล็อก จากการทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์

4. นิ้วล็อก

เวลาขยับนิ้วจะรู้สึกฝืดๆ หรือติดอยู่ในท่างอทำให้มีอาการปวดบริเวณนิ้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเวลากลางคืนพอตื่น หรือบางครั้งตื่นมาพบว่า นิ้วงอ เกิดจากการอักเสบของปลอกหุ้มเอ็นนิ้วมือ เนื่องจากใช้งานนิ้วมือหนักไม่ว่าจะเป็นการพิมพ์แป้นพิมพ์ หรือการใช้ Smart Phone มากเกินไป หากทิ้งเอาไว้นานๆ จะทำให้เป็นพังผืด จำเป็นต้องรักษาโดยการผ่าตัด หากมีอาการควรพักผ่อน ลดการใช้นิ้วมือและแช่น้ำอุ่น

 

 

<< อ่านต่อหน้าที่ 2 >>

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.