บอย สกล,บอยสกล,โกหก,โรคจิต

จากกรณี บอย สกล ทำไมต้องโกหก และ นิสัยขี้โกหก ในมุมมองด้านจิตวิทยา

” บอย สกล ” นิสิตลวงโลก ที่ใช้ ” การโกหก ” เพื่อสร้างตัวตนของตัวเอง

ในเวลานี้คงไม่มีใครไม่เคยผ่านตาชื่อของ  ” บอย สกล ” ทางโลกโซเชียลแน่นอน จากพฤติกรรมตีเนียนเข้าไปเป็นนิสิตหรือนักเรียนของสถาบันการศึกษามีชื่อต่างๆ ซึ่งไม่ใช่เพียงแค่แอบอ้าง แต่ยังเข้าไปปะปน ร่วมกิจกรรมกับคนข้างในอย่างแนบเนียน ที่น่าตกใจคือเลยเถิดไปจนถึงได้ถือป้ายในงานการแข่งขันฟุตบอลประเพณีระหว่างมหาวิทยาลัยชื่อดัง

แต่ในเมื่อเนื้อข่าวดังกล่าวสามารถหาอ่านได้ตามเว็บไซต์บนโลกโซเชียลมากมาย ชีวจิตจึงจะไม่ขอนำรายละเอียดเหล่านั้นมาพูดถึงเพราะเชื่อว่าหลายคนคงทราบกันแล้ว หรือหากจะไปเสิร์ชหาตามต่อก็ไม่ใช่เรื่องยาก แต่สิ่งที่ใครหลายๆคนอยากรู้คือ ทำไมเขาคนนี้ต้องโกหก เพื่อผลประโยชน์ด้านการฉ้อโกงอย่างเดียว หรือเพื่ออะไรกันแน่ เกิดคำถามขึ้นมากมายในโลกออนไลน์ รวมไปถึงคำถามที่ว่า เขามีภาวะทางจิตที่ผิดปกติหรือไม่ วันนี้เราจึงขอหยิบยกข้อมูลของสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย ที่เคยโพสต์ไว้บนแฟนเพจทางการเมื่อวันที่  30 ก.ค. 2559

บอย สกล,บอยสกล,โกหก,ลวงโลก,นิสิตเสิ่นเจิ้น
ภาพจาก ig
เครดิทภาพ twitter

คุณมีเพื่อน “ขี้โกหก” ไหม ส่วนใหญ่เขาโกหกเรื่องอะไรได้บ้าง

ว่าด้วยการโกหกในแง่จิตวิทยา มีคำอธิบายหลายแบบ มีทั้งการโกหกทั่วๆไปคือไม่พูดความจริง ปิดบัง บิดเบือน แต่ในกรณีของบอย เป็นการโกหกเพื่อสร้างตัวตนของตัวเองในแบบที่อยากให้คนอื่นเห็นเป็นเช่นนั้น ทำให้คนอื่นเชื่อว่าตัวเองมีตัวตนอีกแบบที่ในความเป็นจริงแล้วไม่ได้เป็นเช่นนั้นเลย การโกหกแบบนี้คืออะไร ลองมาทำความเข้าใจกับประเภทของการโกหกกันก่อนค่ะ

ตามทฤษฎีทางจิตวิทยา
การโกหก ที่ทำจนเป็นนิสัย เป็น ความเคยชิน และสร้างปัญหา มี ๒ แบบ คือ

การโกหกตัวเอง (Pathological Liar)

มีรากภาษาละตินว่า Pseudologia fantastica หมายถึงภาวะการโกหกที่ควบคุมไม่ได้ โดยการโกหกตัวเองแบบนี้ เชื่อว่าเป็นการหนีปัญหารูปแบบหนึ่ง และมักจะมีการแต่งเติมสิ่งที่ขาดไปด้วยการจินตนาการตามสภาพที่อยากเป็น ผู้ป่วยที่มีอาการโกหกตัวเอง อาจมีลักษณะต่อต้านสังคม ขาดสังคม หรือ ขาดความเชื่อมั่นในตนเอง

การโกหกเป็นนิสัย (Compulsive Liar)

การโกหกเป็นนิสัยเป็นการลวง หรือให้ความบิดเบือนต่อผู้อื่นซึ่งเจ้าตัวยังรู้ว่าความจริงเป็นอย่างไร

ภาวะ สองชนิดนี้ความแตกต่างกันคือ ถ้าเป็นโรคโกหกตัวเองแล้วเขาจะหลอกแม้แต่ความทรงจำของตัวเอง

ส่วนโรคโกหกเป็นนิสัยบุคคลเหล่านี้ ยังรู้ว่าความจริงและความเท็จต่างกันอย่างไร อาจโกหกเพื่อเอาตัวรอด โดยยังสามารถแยกแยะสิ่งที่เป็นจริงกับเรื่องที่โกหกได้

แมงมุมชักใยยึดกับ สิ่งรอบข้าง ทำเป็นช่อง เป็นตาราง มีระบบ มีระเบียบ เพื่อให้ การเคลื่อนย้าย จากฝั่งหนึ่ง ไปยัง จุดหมายได้สะดวก และใช้เป็นตาข่าย เพื่อดักจับอาหาร

หากใยนั้น สร้างขึ้นมาแล้วต้องหลบเลี่ยงจุดยึดบางอย่าง แนวของใย ย่อม ไม่เป็นไปตาม ระเบียบแบบแผน การเชื่อมโยง ย่อมเสียไปด้วย ท้ายที่สุด ใย ที่เหลือ ย่อมสั่นคลอน ไม่มั่นคง ยามมีลมพัด ฝนตก บางใย อาจเริ่มพันตัวเอง พับไปมา นานขึ้น จน ยุ่งเหยิง อาจกลับมาพัน ตัวแมงมุม จนเคลื่อนไหวไปไหนไม่ได้ อย่างที่ควรจะเป็น

บอย สกล,บอยสกล,โกหก
เครดิทภาพ : thairath.com

การโกหก ก็เช่นกัน

หากทำมานาน ทำไปก็คงไม่รู้สึกดี กับตัวเองเท่าไรนัก ควร จะบำบัด แก้ไขตัวเอง ด้วย การเริ่มพูดความจริง ในทุกเรื่อง จะสบายใจกว่า กันมาก เพราะการ โกหก ตั้งแต่ครั้งแรก จะเริ่มพันเรื่องราว ต้องตามแก้ โดยโกหกไปเรื่อยๆ

เมื่อถึงจุดหนึ่ง ความสุข ในชีวิตจะหายไป เพราะถูกทับด้วยเรื่องราวของการโกหก นั่นเอง

(ข้อมูลให้เครดิท #หมอปันเฌอ )

สรุปแล้ว บอย สกล โกหกไปเพื่ออะไร

แม้ในตอนนี้ เรายังไม่ทราบวัตถุประสงค์ที่แน่ชัด และสังคมเองก็ยังคงรอคำอธิบายของ บอย สกล ในเรื่องนี้อยู่ แต่ทฤษฏีการโกหกที่อธิบายผ่านมุมมองจิตวิทยานี้ อาจช่วยให้เราเข้าใจที่มาที่ไป และสามารถแบ่งแยกพฤติกรรมการโกหกคร่าวๆ ได้ ไม่ว่าการโกหกนั้นมาจากตัวเอง คนรอบข้าง เพื่อนของคุณ หรือใครก็ตามที่บางครั้งเราก็ไม่เข้าใจว่าเขาทำทำไม

แล้วคุณล่ะ มีเพื่อนขี้โกหก บ้างหรือไม่…


บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

ชนะเครียด หยุด โรคซึมเศร้า เราทำได้

อาหารต้านโรคซึมเศร้า ปรับอารมณ์ด้านลบสู่ด้านบวก

ข่าวดราม่า ทำป่วยโรคซึมเศร้า

 

 

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.