คอลลาเจน ไม่ได้มีความสำคัญแค่บนใบหน้า หรือเสริมผิวเด้ง ให้เราดูเด็กได้อย่างเดียวนะคะ เพราะความจริงแล้วผู้ที่มีปัญหาเรื่องข้อเสื่อมก็ต้องการเจ้าคอลลาเจนไม่น้อย
เมื่ออายุมากขึ้น คอลลาเจนในชั้นหนังแท้จะลดลงเรื่อยๆ ราวปีละ 1 เปอร์เซนต์ และหลังจากอายุ 25 ปี การสร้างคอลลาเจนใหม่จะไม่ดีเหมือนเดิม โดยเส้นใยจะวางตัวระเกะระกะ ไม่เป็นระเบียบ รวมถึงการสร้าง เส้นใยอีลาสติก และสารอื่นๆ ในชั้นหนังแท้ที่ให้ความชุ่มชื่นก็ลดลงด้วย ทําให้ผิวหย่อนยานและมีริ้วรอยเหี่ยวย่นเกิดขึ้น นอกจากนี้คอลลาเจนที่ผิวแล้ว คอลลาเจนที่พบในอวัยวะอื่นๆ ก็ลดลงไปด้วย เช่นคอลลาเจนในข้อต่อของคนเรา เมื่อเสื่อมลงก็อาจทําให้เป็นโรคข้อเสื่อมได้
เมื่อร่างกายของเราเสื่อมลง อัตราการซ่อมสร้างคอลลาเจนชนิดที่ 2 ที่พบตามข้อต่อจะทำได้น้อยและช้าลง ในขณะที่อัตราการทำลายหรือเสื่อมสลายมีมากและเร็วขึ้น ซึ่งปัจจัยเสี่ยงของโรคข้อเสื่อมก็ไม่ได้อยู่ที่อายุมากขึ้นเพียงอย่างเดียว แต่มีปัจจัยอื่นที่ทำให้มีความเสี่ยงโรคข้อเสื่อม ได้แก่
- เพศหญิง จะมีความเสี่ยงเป็นโรคข้อเสื่อมได้มากกว่าเพศชายถึง 2-3 เท่า เพราะเมื่ออายุมากขึ้นร่างกายจะผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) น้อยลงหรือไม่ผลิตอีกเลย ส่งผลให้เซลล์กระดูกอ่อนที่มีตัวจับกับฮอร์โมนเพศหญิงชนิดนี้ทำงานน้อยลง ทำให้การสร้าง โปรติโอไกลแคน (Proteoglycan) ที่ใช้ซ่อมแซมเซลล์กระดูกอ่อนลดลงไปด้วย
- น้ำหนักตัวมาก ทำให้ข้อต้องรับน้ำหนักมาก ความแข็งแรงของข้อจึงเสื่อมลงได้ง่าย
- ผู้ที่ได้รับบาดเจ็บบริเวณข้อเข่า เกิดจากอุบัติเหตุหรือการออกกำลังกายมากกว่าปกติ เช่น ข้อเข่าแตกหรือเอ็นข้อเข่าฉีก ซึ่งจะมีโอกาสเกิดโรคข้อเสื่อมได้ง่ายกว่าปกติ
- กระดูกอ่อน Cartilage เสียหายหรือเสื่อม จึงเกิดอาการเจ็บปวด
- การใช้งานข้อผิด หนักเกินไป เสียดสีมากเกินไป เช่น นั่งพับเพียบ นั่งยอง ๆ บ่อย ๆ หรือเป็นเวลานาน รวมทั้งพฤติกรรมการใส่รองเท้าส้นสูง
- พันธุกรรม
ดูแลตัวเองให้ห่างจากโรคข้อเสื่อม
แล้วเราจะทำอย่างไร ให้ห่างไกลจากโรคข้อเสื่อม
1. ควบคุมน้ำหนัก หนึ่งในสาเหตุใหญ่ของอาการข้อเสื่อมคือ การที่มีน้ำหนักเกิน หรืออ้วน ยิ่งน้ำหนักตัวมาก ข้อต่างๆ ยิ่งต้องรับภาระมากเท่านั้น โดยเฉพาะข้อเข่า สะโพก และหลัง ที่เป็นกำลังหลักในการรับน้ำหนักของร่างกาย ดังนั้น ควบคุมน้ำหนักจึงเป็นการถนอมข้อกระดูกอีกทางหนึ่ง
2. ปรับเปลี่ยนอิริยาบถ การนั่งอยู่ทำงานหน้าคอมพิวเตอร์ติดต่อกันหลายชั่วโมงอาจส่งผลเสียต่อข้อต่อบริเวณคอ และกระดูกสันหลังส่วนเอวได้เช่นกัน การนั่งให้ถูกต้อง โดยการนั่งพิงพนักเก้าอี้ ไม่ก้มคอนานๆ และลุกขึ้นเดินทุกชั่วโมง สามารถบริหารข้อต่อและลดความเสี่ยงข้อเสื่อมได้
3. เสริมสร้างกล้ามเนื้อ แม้ว่าการออกกำลังกายจะเป็นสิ่งดี แต่หากออกกำลังกายหนักเกินไป จะเป็นการสร้างภาระให้กับข้อและกระดูกได้ โดยเห็นได้จากนักกีฬาอาชีพ ที่มักมีปัญหาข้อกระดูกเสื่อมอย่างรวดเร็ว
แต่การออกกำลังกายแบบเสริมสร้างกล้ามเนื้อ ซึ่งกล้ามเนื้อจะเป็นส่วนสำคัญในการแบ่งเบาภาระของข้อต่อ เมื่อร่างกายต้องเคลื่อนไหวรุนแรง ทั้งนี้ การมีกล้ามเนื้อหน้าท้องและกล้ามเนื้อหลังที่ดี ยังช่วยให้หมอนรองกระดูกสันหลังรับภาระน้อยลง ลดความเสี่ยงต่อความเสื่อมได้มาก
4. กินอาหารที่มีประโยชน์ กระบวนการสร้างคอลลาเจนจะพบในกรดแอมิโนจําพวกไลซีน(Lysine) และโพรลีน(Proline) เป็นจํานวนมาก โดยพบมากในปลา ไก่ เนื้อหมู เนื้อวัว ไข่ขาว เอ็นสัตว์ กระดูกอ่อน ปีกไก่
แต่เมื่อคํานึงถึงสุขภาพ เราควรเลือกทานอาหารที่เป็นโปรตีนย่อยง่าย และมีไขมันต่ำ เช่น ปลาทะเล ตัวอย่างคือ ปลาแซลมอน ทูน่า ปลาทู ปลาซาร์ดีน หรือจะกินผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มีส่วนผสมของคอลลาเจน แคลเซียม และวิตามินดีก็ได้
เลือกคอลลาเจนบำรุงข้อ
ปกติแล้วกระดูกอ่อนของเราประกอบด้วย 3 ส่วน ได้แก่ เซลล์กระดูกอ่อน (Celllular Chondrocytes) 1-2 เปอร์เซนต์ ส่วนที่เป็นของแข็งอย่างคอลลาเจน ชนิดที่ 2 กับโปรตีโอไกลแคน (Proteoglycans) 30 เปอร์เซนต์ ส่วนที่เหลือนั้นเป็นของเหลว 70-80 เปอร์เซนต์
ดังนั้น สิ่งสำคัญในการเลือกกินคอลลาเจนบำรุงข้อ เพื่อป้องกันโรคข้อเสื่อมนั้น เราจำเป็นต้องเลือกกินคอลลาเจนชนิดที่ 2 (Nutrimaster Collagen Type II) ที่เป็นส่วนประกอบของข้อโดยตรง เพื่อเป็นการเสริมและซ่อมแซมคอลลาเจนที่หายไปจากภาวะความเสื่อมของร่างกาย และการใช้งานที่มากจนเกินไปนั่นเอง
สำหรับการเลือกคอลลาเจนชนิดที่ 2 (Collagen Type II )ที่มีคุณสมบัติและโครงสร้างที่ใกล้เคียงกับร่างกายมากที่สุด โดยจะต้องมีความจำเพาะเจาะจงในการออกฤทธิ์บริเวณข้อด้วย เช่น คอลลาเจนประเภท “Undenatured Collagen Type II (UC-II)” คือ คอลลาเจนที่ผลิตด้วยอุณหภูมิต่ำและไม่ใช้เอนไซม์ในการผลิต ทำให้มีโครงสร้างที่สมบูรณ์และใกล้เคียงกับคอลลาเจนที่ร่างกายผลิตขึ้นเอง
ข้อมูลจากงานวิจัยระบุว่า ผู้ป่วยที่มีอาการข้ออักเสบทานคอลลาเจนประเภท UC-II วันละ 40 มิลลิกรัม อย่างสม่ำเสมอ พบว่าผู้ป่วยที่มีอาการโรคข้อเสื่อมมีแนวโน้มใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างคล่องตัวมากขึ้น ช่วยให้เกิดความยืดหยุ่นและช่วยให้เคลื่อนไหวได้ดีขึ้น และผลการวิจัยยังมีการวัดผลถึงประสิทธิภาพของคอลลาเจน UC-II ว่าสามารถช่วยบรรเทาอาการปวดได้ดีกว่าการใช้กลูโคซามีนและคอนดรอยตินอีกด้วย
Nutrimaster Collagen Type2 ได้รับมาตรฐานการรับรองผลิตภัณฑ์จากองค์การอาหารและยา ผลิตโดยโรงงานที่มีคุณภาพตามมาตรฐาน GMP Codex, ISO9001 , ISO22716, Halal มั่นใจได้เลยว่าผลิตภัณฑ์นูทรีมาสเตอร์คอนลลาเจนไทพ์ทู ปลอดภัยได้มาตรฐานระดับสากล
สนับสนุนข้อมูลโดย
ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารคอลลาเจนไทพ์ทู ผสมแคลเซียม และวิตามินดี
เว็ปไซต์: https://www.fcpco.com
ช่องทางการจัดจำหน่าย : ร้านขายยาชั้นนำทั่วไปและวัตสันหรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
สั่งซื้อได้ที่ Line : @nutrimaster มี@ด้วย
เว็ปไซต์ >>> www.boncaltype2.com
Facebook >>> https://www.facebook.com/NutrimasterThailand/