5 คำแนะนำสำหรับผู้ถูกทอดทิ้ง
- ไม่ต้องอดทนต่อการแสดงอารมณ์ ไม่ต้องกลั้นน้ำตาหากโศกเศร้าเครียด เพราะการร้องไห้คร่ำครวญ กรีดร้องเป็นกลไกของร่างกายในการลดความเศร้าและความเครียด
- ยอมรับ เลิกตำหนิ เลิกต่อสู้กับอีกฝ่าย มองให้เห็นแง่บวก เช่น ได้ปลดภาระ ได้มีโอกาสเปิดรับคนดีๆ เข้ามาในชีวิต มีอิสระ มีเวลาเพิ่มขึ้น
- ลดความโกรธ ความเครียด หาวิธีที่ได้ผลสำหรับตนเอง เช่น ออกกำลังกาย นั่งสมาธิ ท่องเที่ยว กรวดน้ำ ทำบุญ เดินป่า ชกมวย ดูหนัง ฟังเพลง อ่านหนังสือ พบปะพูดคุยกับเพื่อนฝูง ฯลฯ
- อย่าอยู่คนเดียว อย่าจมปลักกับความเศร้า ควรออกไปพบญาติ พบเพื่อนฝูง ทำอะไรใหม่ๆ
- ดูแลตนเอง ดูแลลูก ผลกระทบทางลบจากการทอดทิ้งจะส่งไปถึงลูกขณะที่ต้องดูแลสุขภาพกายใจตนเอง ควรดูแลสุขภาพกายและใจของลูกด้วยหากไม่สามารถทำได้ควรปรึกษาแพทย์

5 คำแนะนำสำหรับญาติเพื่อช่วยผู้ถูกทอดทิ้ง
- ไม่ฟื้นฝอยหาตะเข็บ ไม่พูดถึงเรื่องเลวร้ายที่ผ่านไปแล้ว ไม่ตำหนิไม่ต่อว่าให้ผู้ถูกทอดทิ้งรู้สึกละอาย รู้สึกผิด รู้สึกไม่สบายใจ แต่ควรชี้ชวนให้มองโลกในแง่บวก พูดเรื่องที่ทำให้สบายใจ
- ช่วยเหลือ เช่น ช่วยดูแลลูก ดูแลสุขภาพ พาไปทำบุญ พาไปท่องเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจ
- ช่วยเป็นที่ระบายอารมณ์ รับฟังความรู้สึกของอีกฝ่าย หาทางออกที่เป็นประโยชน์ ให้ข้อคิด
- ให้กำลังใจ โอบไหล่ กอด จับมือ ช่วยจัดการคนรอบข้างที่เข้ามาวุ่นวาย พูดให้ร้าย และนินทา
- พาไปหาหมอ หากอาการไม่ดีขึ้น เป็นรุนแรงขึ้น มีความคิดทำร้ายผู้อื่นหรือคิดฆ่าตัวตาย
สุดท้ายนี้หมอขอเป็นกำลังใจให้ผู้ที่กำลังประสบกับความสูญเสียมีจิตใจที่เข้มแข็งและผ่านเรื่องราวร้ายๆ ไปให้ได้ค่ะ
จาก คอลัมน์เปิดห้องหมอสูติ นิตยสารชีวจิต ฉบับ 445
บทความน่าสนใจอื่นๆ
Before & After เคล็ดลับบอกลาโรค ซึมเศร้า
ชนะเครียด หยุด โรคซึมเศร้า เราทำได้