กรีนพีช, กินผัก, ประโยชน์จากผัก, ผัก, สารอาหารจากผัก

ผ.ผักกินดี ทำไมด.เด็กต้อง กินผัก

.ผักกินดี ทำไมด.เด็กต้อง กินผัก

กินผัก กรีพีชระบุ ต้องมาจากระบบเกษตรกรรมเชิงนิเวศ เป็นหลักเท่านั้น

เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2561 –  กรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จัดงาน .ผักกินดี ทำไมด.เด็กต้องกินผักเพื่อหยิบยกความสำคัญของการบริโภคผักผลไม้ที่มาจากระบบเกษตรกรรมเชิงนิเวศและการผลิตที่ยั่งยืน ขณะเดียวกันสะท้อนถึงระบบเกษตรและอาหารเชิงอุตสาหกรรม (1) ที่เป็นภัยคุกคามสุขภาวะของคนในสังคมไทยอยู่ในขณะนี้

กรีนพีซ, กินผัก, การบริโภคผักผลไม้, ประโยชน์ของการกินผัก
กรุงเทพฯ, 28 ตุลาคม 2561 – เวิร์กช็อป “Maxican Salad Wrap” อาหารจานผักสำหรับเด็กๆ ที่มีคุณค่าทางสารอาหารครบถ้วนและวิตามินที่เด็กๆ ควรได้รับ จากเชฟฟิน สุภรดี ศิวพรพิทักษ์ โรงเรียนสอนทำอาหารสำหรับเด็ก Chefu Town มีส่วนประกอบหลักคือ อะโวคาโด ข้าวโพด แครอท พริกหยวกถั่วหลายสายพันธุ์ และผักหลากสีตามฤดูกาล

อาหารที่เรากินและวิธีการผลิตเป็นปัจจัยสำคัญที่กำหนดว่าอนาคตของลูกหลานของเราเป็นแบบไหน การรับประทานอาหารที่ประกอบด้วยพืชผักเป็นหลักในมื้ออาหาร และลดการบริโภคเนื้อสัตว์ ไม่เพียงส่งผลดีต่อสุขภาพของเราเท่านั้น แต่ยังส่งผลดีต่อโลกอีกด้วย

การบริโภคเนื้อแดงมีความเชื่อมโยงกับการเกิดโรคมะเร็ง โรคหัวใจ โรคอ้วนและโรคเบาหวาน และโรคติดต่อทางอาหาร การทำปศุสัตว์เชิงอุตสาหกรรมยังเกี่ยวข้องกับการดื้อยาปฏิชีวนะซึ่งองค์การอนามัยโลกประกาศว่าเป็น ภาวะฉุกเฉินด้านสุขภาพทั่วโลก

“การผลิตและการบริโภคเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์นมเชิงอุตสาหกรรมในปัจจุบันกำลังทำลายโลกของเราโดยเป็นตัวการผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ อีกทั้งยังส่งผลร้ายต่อสุขภาพในระยะยาว โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาด้านโภชนาการของเด็กนั้นส่วนหนึ่งเกิดขึ้นจากอาหารกลางวันในโรงเรียนที่ยังไม่ครบถ้วนทางโภชนาการและขาดอาหารจานผัก เราสามารถเปลี่ยนแปลงระบบโครงสร้างอาหารของเราได้ทั้งวิธีการผลิตและการเลือกบริโภคด้วยการหันมาสนับสนุนอาหารที่ผลิตเชิงนิเวศและมาจากแหล่งที่ยั่งยืน”

รัตนศิริ กิตติก้องนภางค์ ผู้ประสานงานรณรงค์ด้านอาหารและเกษตรกรรมเชิงนิเวศ กรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าว

กรีนพีซ, กินผัก, การบริโภคผักผลไม้, ประโยชน์ของการกินผัก
กรุงเทพฯ, 28 ตุลาคม 2561 -ผู้ปกครองและผู้สนใจลองทำอาหารเมนู Maxican Salad Wrap กิจกรรมเวิร์กช็อปโดยเชฟฟิน สุภรดี ศิวพรพิทักษ์ โรงเรียนสอนทำอาหารสำหรับเด็ก Chefu Town

ครูและผู้ปกครองถือเป็นบุคคลที่มีบทบาทสำคัญในการสร้างภาวะโภชนาการที่ดีให้แก่เด็ก เป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างค่านิยมการรับประทานอาหารที่เน้นพืชผักเป็นส่วนประกอบหลัก เพราะครอบครัวและโรงเรียนคือเบ้าหลอมในการสร้างนิสัยการบริโภคของเด็ก

แม้ว่าสถานการณ์ภาวะขาดโภชนาการอาหารในเด็กจะลดลงอย่างต่อเนื่องตลอด 20 ปีที่ผ่านมา ปัญหาน้ำหนักเกิน และอ้วนกลับเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ปัญหาเหล่านี้มาจากพฤติกรรมการบริโภค ซึ่งจากการสำรวจคุณภาพอาหารกลางวันในโรงเรียนพบว่าคุณค่าสารอาหารเป็นปัญหามากที่สุดเนื่องจากไม่ได้ตามเกณฑ์เป้าหมายที่แนะนำ คือ ธาตุเหล็ก แคลเซียม วิตามินเอ วิตามินบี1 วิตามินบี2 และวิตามินซี

พญ.นภาพรรณ วิริยะอุตสาหกุล อดีตผู้อำนวยการสำนักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข กล่าว

กินผัก, ประโยชน์จากผัก, ผัก, สารอาหารจากผัก
ผักแต่ละชนิด ให้คุณค่าทางสารอาหารที่แตกต่างกันออกไป

 

ภายในงานมีกิจกรรมเวิร์กช็อปอาหารจานผักสำหรับเด็กๆ จากเชฟฟิน สุภรดี ศิวพรพิทักษ์ ที่มาแนะนำสูตรอาหารซึ่งอุดมด้วยผักสำหรับเด็กๆ วัย 7 ขวบขึ้นไปให้แก่ผู้ปกครองและคุณหนูๆ ที่มีคุณค่าทางสารอาหารและวิตามินที่พวกเขาควรได้รับครบถ้วน อาทิ อะโวคาโด ถั่ว ผักหลากสีที่มีตามฤดูกาล และเมนูขนมหวานที่หวานอร่อยจากอินทผลัมและอัลมอนด์แทนแป้งกับน้ำตาล โดยเป็นเมนูอย่างง่ายที่เด็กๆ มีส่วนร่วมในการทำได้ ซึ่งจะช่วยกระตุ้นให้พวกเขาอยากกินและมีความสุขกับการกินผักผลไม้มากขึ้น

 

อ่านข้อมูลเพิ่มเติมและร่วมลงชื่อเพื่อผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงระบบอาหารที่มาจากเกษตรกรรมเชิงนิเวศและยั่งยืนได้ที่ lessismore.greenpeace.org

หมายเหตุ

  1. แม้จะมีการพูดถึงเกษตรอินทรีย์มากขึ้นในช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมา แต่พื้นที่เกษตรอินทรีย์ในประเทศไทยยังมีสัดส่วนน้อยมากเพียงร้อยละ 0.3 ของพื้นที่เกษตรกรรมของประเทศ ข้อมูลของ IFOAM & FiBL ระบุ สัดส่วนพื้นที่เกษตรอินทรีย์(ที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน)ของไทยตามหลัง ศรีลังกา (ร้อยละ 3.5) ฟิลิปปินส์ (ร้อยละ 1.6) เกาหลี (ร้อยละ 1.2) อินเดียและไต้หวัน(ร้อยละ 0.8) และยังตามหลังเวียดนาม(ร้อยละ 0.5) และจีน(ร้อยละ 0.4) การที่สภาพัฒน์ตั้งเป้าหมายเพิ่มพื้นที่เกษตรกรรมยั่งยืน 5 ล้านไร่ ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนพื้นที่ประมาณร้อยละ 3.3 ของพื้นที่เกษตรกรรมของพื้นที่ประเทศในปี 2564 แม้จะเป็นความพยายามเพิ่มพื้นที่เกษตรกรรมและอาหารที่ปลอดภัย แต่เพื่อรับมือกับวิกฤตสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ รัฐบาลจำเป็นต้องผลักดันให้มีพื้นที่เกษตรอินทรีย์และเกษตรกรรมเชิงนิเวศรูปแบบต่างๆให้ขยายออกไปอย่างกว้างขวางมากไปกว่าเป้าหมายดังกล่าว พร้อมๆกับทำระบบเกษตรกรรมแบบทั่วไปให้ปลอดภัยมากขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ https://www.facebook.com/biothai.net/photos/pcb.1968551943183317/1968551163183395/?type=3&theater
  2. รายงาน ลดเพื่อเพิ่ม“ลด” เนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์นมเชิงอุตสาหกรรม “เพิ่ม” สุขภาวะที่ดีของมนุษย์และโลก http://www.greenpeace.org/seasia/th/press/reports/Less-Is-More/
  3. เอกสาร ผ.ผักกินดี รวบรวมคุณค่าสารอาหารที่มาจากพืชผัก http://www.greenpeace.org/seasia/th/press/reports/Plant-Atlas/

© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.