เครียด, ต่อมหมวกไต, อาการวุ่ยวายใจ, อะดรีนัล, ฮอร์โมนคอร์ติซอล

5 อาหารร้ายทำ ต่อมหมวกไต ผิดปกติ ต้นเหตุทำใจวุ่นวาย

5 อาหารร้ายทำ ต่อมหมวกไต ผิดปกติ ต้นเหตุทำใจวุ่นวาย

ถ้าพูดถึงอะดรีนัล (ต่อมหมวกไต) ที่มีหน้าที่ในการผลิตฮอร์โมนชนิดต่างๆ ผู้ที่มีปัญหาส่วนใหญ่เกิดจากต่อมดังกล่าวผลิตฮอร์โมนคอร์ติซอลมากเกินไป หรือไม่ก็ผลิตน้อยเกินไป โดยกลุ่มแรกมักเกิดปัญหาในช่วงที่มีความเครียดมาก กว่าปกติ ไม่ได้มีความเครียดสะสม ซึ่งมีวิธีลดระดับฮอร์โมนคอร์ติซอลดังต่อไปนี้

 

สยบอะดรีนัลผิดปกติด้วยการหยุดกิน

หมอ (ดร.ณิชมน สมันตรัฐ) อยากให้สังเกตว่า เวลาที่คอร์ติซอลหลั่งเยอะๆ เราจะรู้สึกตื่นตัว รู้สึกเครียด กังวล ตื่นตระหนก มีอาการหัวใจเต้นแรง ดังนั้นเราต้องไม่กินอาหารที่ไป กระตุ้นอาการเหล่านี้ เช่น

1. เครื่องดื่มแอลกอฮอล์

ซึ่งจะทำให้เกิดอาการลน มากขึ้น และไม่ได้ช่วยให้มีความคิดสร้างสรรค์ดีขึ้น ถ้า เป็นช่วงที่มีงานด่วน ยิ่งทำให้ไม่สามารถทำงานได้

2. เครื่องดื่มกาเฟอีน

หลายคนที่ทำงานไม่ทัน มักเกิดความเครียดจนต้องอัดกาแฟเข้าไป ซึ่งจริง ๆ แล้ว การดื่มกาแฟปริมาณมากจะเป็นการกระตุ้นปฏิกิริยาของ ร่างกายมากกว่าเดิม ทำให้หัวใจเต้นเร็วขึ้น ความ ดันเลือดสูง สมองและสายตาทำงานแย่ลง มีอาการลน มากกว่าเดิม นอกจากกาแฟแล้ว น้ำอัดลม เครื่องดื่ม ชูกำลังก็มีกาเฟอีนสูงเช่นเดียวกัน

3. ผงบีซีเอเอ (BCAA)

สำหรับเพิ่มกล้ามเนื้อ บางคนอาจจะคิดว่าผงดังกล่าว ไม่น่ามีผลอะไร แต่จริง ๆ แล้วผงเหล่านี้มักใส่กาเฟอีนในปริมาณสูงเพื่อให้ น้ำตาลในเครื่องดื่มไปช่วยให้เกิดการสร้างกล้ามเนื้อ ถ้าใครไม่ได้ระวัง ดื่มเข้าไป ในช่วงที่เกิดความเครียดมากกว่าปกติ ก็อาจจะทำให้ร่างกายพังไปเลย

น้ำตาล, ความครียด, ต่อมหมวกไต, อาหารหวาน, ภาวะน้ำตาลในเลือดสูง
เมื่อเกิดความเครียด ควรหลีกเลี่ยงการกินน้ำตาล ป้องกันภาวะน้ำตาลขึ้นๆ ลงๆ

4. น้ำตาล

เป็นอีกอย่างหนึ่งที่ควรเลี่ยงไปเลย เพราะว่าน้ำตาลนั้นทำงาน เชื่อมโยงกับอวัยวะหลายส่วน ในช่วงที่เครียด สมองต้องหลั่งฮอร์โมนเยอะอยู่ แล้ว และมีภาวะอารมณ์แปรปรวนอยู่แล้ว ยิ่งกินน้ำตาลเข้าไปอีก จึงอาจนำไปสู่ ภาวะน้ำตาลในเลือดสูง (Sugar High) แต่สูงไปได้แค่ในช่วงเวลาสั้นๆ ระดับ น้ำตาลก็ตกลงอีก เมื่อไม่ได้กินเข้าไป จึงกลายเป็นภาวะน้ำตาลขึ้นๆ ลงๆ

ส่วนใหญ่เวลาที่เครียดหรือคิดงานไม่ออกจะเกิดความรู้สึกอยากกินน้ำตาล ขึ้นมา เพราะว่าสมองเพิ่งใช้พลังงานจากกลูโคสไป ฉะนั้นสมองจึงสั่งการ อีกรอบแบบตรงไปตรงมาเลยว่า ฉันต้องการน้ำตาล แต่จริงๆ แล้วร่างกายแค่ ต้องการพลังงานจากอาหารชนิดใดก็ได้ ซึ่งเราอาจจะดื่มน้ำ กินข้าวโอ๊ต กินโปรตีน กินขนมแบบถั่วเข้าไปก็ได้ สมองแยกไม่ออก จะรู้แค่ว่าร่างกายได้รับพลังงาน เข้ามาแล้ว

5. อาหารรสเค็ม

เพราะว่าต่อมหมวกไตมีหน้าที่ผลิตฮอร์โมนอยู่ 3 ชนิด คือ ฮอร์โมนเครียด ฮอร์โมนที่เกี่ยวกับความดันเลือด ซึ่งทำงานร่วมกับโซเดียม และฮอร์โมนเพศต่าง ๆ ซึ่งถ้าเกิดว่าเรากินเค็มมาก ๆ แล้วเกิดภาวะโซเดียม ไม่สมดุลขึ้นมา ต่อมหมวกไตก็จะต้องหลั่งฮอร์โมนออกมาทำงานมากขึ้นเหมือนกัน ก็จะยิ่งทำให้ทำงานแย่เข้าไปอีก

 

 

 

 

<< อ่านต่อหน้าที่ 2 >>

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.