ต้านมะเร็ง, ผักผลไม้, โรคมะเร็ง, ป้องกันมะเร็ง

20 ผักและผลไม้ ต้านมะเร็ง จากห้องวิจัย

กระเทียมบด 10 นาที ลดเสี่ยงโรคมะเร็ง

ปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์พบว่า กระเทียมและสมุนไพรที่มีกลิ่นฉุนอาจช่วย ยับยั้งสารก่อมะเร็งที่พบในเนื้อสัตว์ที่ปรุงด้วยอุณหภูมิสูงได้

อาหารที่อุดมด้วยโปรตีน เช่น เนื้อสัตว์และไข่ หากนำไปปรุงด้วยอุณหภูมิสูง จะปล่อยสารเคมีชื่อ พีเฮชไอพี (PhIP) ซึ่งป็นสารที่ทำให้เกิดความเสียหาย ต่อดีเอ็นเอ (DNA) โดยจะเปลี่ยนสารในร่างกายให้เป็นสารก่อมะเร็ง และเพิ่ม ความเสี่ยงการเกิดโรคมะเร็งต่าง ๆ เช่น โรคมะเร็งเต้านม โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ โรคมะเร็งต่อมลูกหมาก ได้อีกด้วย

ล่าสุดสมาคมอเมริกันเพื่อการค้นคว้าวิจัยมะเร็ง (American Association for Cancer Research) ได้ทำการทดสอบสารสกัดจากกระเทียมกับเซลล์มะเร็ง เต้านม พบว่า สารไดอัลลิลซัลไฟด์ (Diallyl Sulfide) ซึ่งพบในกระเทียม มีคุณสมบัติยับยั้งไม่ให้สารพีเอสไอสร้างสารก่อมะเร็ง จึงช่วยลดความเสี่ยง การเกิดโรคมะเร็งได้ในหลายอวัยวะ

สำหรับวิธีกินกระเทียมให้ได้ประโยชน์ มหาวิทยาลัยแห่งรัฐเพนซิลเวเนีย (The Pennsylvania State University) ประเทศสหรัฐอเมริกา แสดงให้เห็นว่า ความร้อนจากไมโครเวฟหรือเตาอบสามารถลดหรือทำลายฤทธิ์ต้านมะเร็งใน กระเทียมได้

โดยจากการศึกษาแสดงให้เห็นว่า การใช้ไมโครเวฟเพียง 1 นาที หรือการใช้ เตาอบอบกระเทียมนาน 45 นาที สามารถทำให้กระเทียมสูญเสียคุณสมบัติในการ ต้านมะเร็งอย่างถาวร ส่วนการสับหรือบดอย่างน้อย 10 นาทีก่อนปรุงอาหาร จะทำให้เกิดการเริ่มต้นของปฏิกิริยาการหลั่งเอนไซม์ในการผลิตสารเคมีที่มีชื่อว่า สารประกอบอัลลิลซัลเฟอร์ (Allyl Sulfur Compound) ซึ่งสำคัญต่อกระบวนการ ต้านมะเร็ง

HOW TO CHOOSE

กระเทียมมี 2 ชนิด ได้แก่ กระเทียมไทยและ กระเทียมจีน กระเทียมไทยหัวเล็ก มีกลิ่นฉุน รสเผ็ด เปลือกบาง กระเทียมจีนหัวใหญ่ เปลือกหนา ควรเลือกกระเทียมที่เปลือกใส โดยแขวนบริเวณ อากาศถ่ายเท จะช่วยให้กระเทียมไม่ฝ่อ

ส่วนวิธีที่ดีที่สุดในการคงคุณค่าสารต้านมะเร็ง ในกระเทียมคือ สับหรือบดอย่างน้อย 10 นาทีก่อน ปรุงอาหาร เน้นปรุงอาหารที่ใช้ความร้อนต่ำ เช่น อาหารประเภทยำ สลัด หรือใช้กระเทียมเป็น ส่วนผสมในน้ำจิ้มต่างๆ

หลายการศึกษามีความเห็นตรงกันว่า วิธีที่ดีที่สุด ในการกินผักและผลไม้ต้านมะเร็ง คือ กินให้หลาก หลาย กินจากอาหารธรรมชาติ ที่สำคัญควรเลือกผัก ผลไม้ปลอดสารหรือล้างให้สะอาดก่อนกิน

อย่างไรก็ตาม การเน้นกินผักผลไม้แบบเฉพาะ เจาะจงเพียงชนิดใดชนิดหนึ่งอาจไม่ช่วยต้านมะเร็งได้ ตามความคาดหวัง ทางที่ดีคือ ควรกินให้หลากหลาย ทั้งธัญพืช สมุนไพร ผักและผลไม้ต่างๆ โดยเฉพาะ ผักผลไม้ที่ได้ชื่อว่าช่วยต้านมะเร็งร่วมด้วย น่าจะเป็น แนวทางที่ดีที่สุด

กระเทียม, ต้านมะเร็ง, ผักผลไม้, โรคมะเร็ง, ป้องกันมะเร็ง
กระเทียม ช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคมะเร็งได้ในหลายอวัยวะ

วิธีกินผักผลไม้ 10 ส่วน สู้มะเร็งได้ ประโยชน์สูง

หลังจากวิเคราะห์ข้อมูลจาก 95 การศึกษา ดร.แดกฟินน์ ออน (Dr. Dagfinn Aune) นักวิจัยจาก The School of Public Health at Imperial College London ก็ได้ค้นพบว่า การกินผักและผลไม้ วันละ 10 ส่วน (800 กรัม) ไม่เพียงช่วยลดความเสี่ยงเกิดโรคมะเร็งและโรคเรื้อรังต่างๆ แต่ยังช่วยลดอัตรา การตายก่อนวัยและช่วยให้อายุยืนขึ้นได้จริง

เริ่มแรก นักวิจัยทดลองเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มคนที่ไม่กินผักและผลไม้กับคนที่กินผักและผลไม้ วันละ 2 ส่วนครึ่ง (200 กรัม) พบว่า กลุ่มที่กินผักผลไม้วันละ 2 ส่วนครึ่งมีความเสี่ยงเกิดโรคมะเร็งลดลง 4 เปอร์เซ็นต์ โรคหลอดเลือดหัวใจลดลง 13 เปอร์เซ็นต์ โรคหัวใจ 16 เปอร์เซ็นต์ โรคหลอดเลือดสมอง 18 เปอร์เซ็นต์ และช่วยลดอัตราการตายก่อนวัยอันควรสูงถึง 15 เปอร์เซ็นต์

และหากใครกินผักและผลไม้เพิ่มขึ้นถึงวันละ 10 ส่วน พบว่า ยิ่งมีผลลดความเสี่ยงเกิดโรคเรื้อรัง โดยความเสี่ยงเกิดโรคมะเร็งลดลง 13 เปอร์เซ็นต์ โรคหลอดเลือดหัวใจลดลง 24 เปอร์เซ็นต์ โรคหัวใจลดลง 28 เปอร์เซ็นต์ โรคหลอดเลือดสมองลดลง 33 เปอร์เซ็นต์ และช่วยลดอัตราการตายก่อนวัยอันควรสูงถึง 31 เปอร์เซ็นต์

ผักและผลไม้ที่รวมกัน 10 ส่วนนี้มีน้ำหนักโดยรวมประมาณ 800 กรัม โดยผักสุก 1 ส่วน คือ ผักสุก ประมาณ 1-2 ถ้วยตวง หรือผักสดประมาณ 1 ถ้วยตวง

ส่วนผลไม้ 1 ส่วน เช่น ส้ม 1 ผลใหญ่ ฝรั่ง 1 ผลกลาง เงาะ 5 ผล กล้วยน้ำว้า 1 ผล กล้วยหอม 1-2 ผลใหญ่ ผลไม้หั่นเป็นชิ้นพอคำ เช่น สับปะรด มะละกอ ประมาณ 6 – 8 ชิ้นพอคำ

นอกจากนี้ยังมีรายงานเพิ่มเติมจากวารสาร The International Journal of Epidemiology ที่พบว่า ผักและผลไม้ช่วยลดความเสี่ยงโรคมะเร็งที่ควรกินเป็นประจำ คือ ผักสีเขียว เช่น ถั่วเขียว ผักสีเหลือง เช่น แครอต ผักตระกูลกะหล่ำ เช่น กะหล่ำปลี บรอกโคลี

ส่วนผักที่ช่วยลดความเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหัวใจ และโรคหลอดเลือดสมอง ได้แก่ แอ๊ปเปิ้ล ลูกแพร์ ผลไม้ตระกูลส้ม ผักใบเขียว และผักตระกูลกะหล่ำ

นักวิจัยสรุปว่า การกินผักและผลไม้มากๆ ช่วยลดความเสี่ยงโรคเรื้อรังและลดอัตราการตายได้ เพราะ ในผักและผลไม้มีใยอาหารสูง ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือด ช่วยให้หลอดเลือดแข็งแรง และเพิ่ม ภูมิคุ้มกัน นอกจากนี้ผักและผลไม้ยังอุดมไปด้วยสารอาหารและสารต้านอนุมูลอิสระหลายชนิด ช่วยปกป้อง เซลล์จากการถูกทำลายโดยอนุมูลอิสระ จึงช่วยลดความเสี่ยงเกิดโรคมะเร็งและโรคเรื้อรังต่าง ๆ

 

จาก คอลัมน์เรื่องพิเศษ นิตยสารชีวจิต ฉบับ 467


บทความน่าสนใจอื่นๆ

CHECK NOW! 6 ภาวะเสี่ยงมะเร็ง

วิธีการรักษามะเร็ง …ที่คุณต้องรู้

เช็ก 12 อาการโรคมะเร็ง ยอดฮิต ที่ไม่ควรมองข้าม

ติดตาม ชีวจิต ในช่องทางต่างๆ ได้ที่

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.