ไมโครกรีน ผักต้นอ่อน สุดยอดแหล่งโภชนาการ
ไมโครกรีนคืออะไร ?
ไมโครกรีน (Microgreens) หรือผักต้นอ่อนสีเขียว ที่มีความสูงขนาดประมาณ 1-3 นิ้ว หรือ 2.5-7.5 เซนติเมตร มีกลิ่นหอม เเละมีปริมาณของสารอาหารที่ปริมาณมากหรือเข้มข้นสุดๆ มีลักษณะเป็นสีเขียว-สีเขียวอ่อน
หลังจากการเพาะไมโครกรีน (Microgreens) หรือต้นอ่อน จะมีเวลาเก็บเกี่ยวหลังจากการงอกประมาณ 7-21 วัน สังเกตุง่ายๆ คือจะมีใบแท้ใบเเรกงอกออกมา ไมโครกรีน มีความคล้ายคลึงกับผักใบเขียว เเตกต่างกันตรงที่ ไมโครกรีน หรือผักต้นอ่อน มีเเค่ลำต้นและใบเท่านั้นที่กินได้
ไมโครกรีนสามารถปลูกได้ง่ายเองที่บ้าน ทั้งในที่กลางเเจ้ง เรือนกระจก หรือแม้กระทั่งบริเวณขอบหน้าต่างบ้านหรือคอนโดก็ได้เหมือนกัน
ไมโครกรีน ประเภทต่างๆ
เราสามารถปลูกหรือเพาะไมโครกรีนได้จากเมล็ดพืชหลายชนิด สำหรับพันธุ์ที่ได้รับความนิยมมากที่สุด คือ ไมโครกรีนหรือต้นอ่อน ดังต่อไปนี้
- ไมโครกรีนกลุ่มกะหล่ำดอก โบรอกโคลี กะหล่ำปลี
- ไมโครกรีนกลุ่มผักกาดหอม
- ไมโครกรีนกลุ่มผักชีฝรั่ง แครอท ขึ้นฉ่าย
- โมโครกรีนกลุ่มกระเทียม ต้นหอม และหัวหอม
- ไมโครกรีนกลุ่มหัวผักกาด ผักขม
- ไมโครกรีนกลุ่มแตงกวา แตงโม
- ไมโครกรีนกลุ่มของธัญพืชต่างๆ เช่น ข้าว ข้าวสาลี ข้าวบาร์เลย์ ถั่วชิกพี ถั่วฝักยาว
สำหรับไมโครกรีนในประเทศไทยที่นิยมปลูกกินและจำหน่าย คือ ต้นอ่อนทานตะวัน ต้นอ่อนผักบุ้ง ต้นอ่อนอัลฟัลฟ่า ต้นอ่อนโต้วเหมี่ยว (ถั่วลันเตา) ฯลฯ อย่างไรก็ตามไมโครกรีนเเต่ละชนิดมีความเเตกต่างกันทั้งในแง่โภชนาการ และรสชาติ มีกระทั้งรสชาติเผ็ด เปรี้ยว ขม ฯลฯ
อ่านเพิ่มเติม : 5 “ต้นอ่อน” ยอดนิยม อร่อย อ่อนเยาว์ แข็งแรง อายุยืน
คุณค่าโภชนาการของไมโครกรีน
ไมโครกรีนอุดมด้วยสารอาหารมากมาย มีความเเตกต่างกันไปตามสายพันธุ์ของไมโครกรีน เเต่อย่างไรก็ตามสิ่งที่เหมือนกันส่วนใหญ่ของไมโครกรีน คือ
- ไมโครกรีนอุดมด้วยเเร่ธาตุโพเเทสเซียม เหล็ก สังกะสี แมกนีเซียม และทองเเดง
- ไมโครกรีนเป็นแหล่งสารอาหารที่ดีมีประโยชน์ เพราะมีสารแอนติออกซิเเดนซ์สูง หรือสารต้านอนุมูลอิสระสูง
- ในปริมาณที่เท่ากันของผักใบเขียว กับไมโครกรีน พบว่า ไมโครกรีนมีปริมาณสารอาหารในปริมาณสูง มีทั้งวิตามิน เเร่ธาตุ และสารต้านอนุมูลอิสระสูงกว่าผักใบเขียว
- มีรายงานวิจัยเปรียบเทียบต้นอ่อน ไมโครกรีน กับพืชที่โตเต็มที่ชนิดเดียวกัน พบว่า สารอาหารในโมโครกรีนมีปริมาณสูงกว่าพืชไมโครกรีนที่โตเต็มที่ 9 เท่า แถมยังมีความหลากหลายของสารโพลีฟีนอล และสารต้านอนุมูลอิสระที่มีความหลากหลายกว่าอีกด้วย
- งานวิจัยการวัดความเข้มข้นของวิตามินและสารต้านอนมูลอิสระในไมโครกรีน ที่มีวางจำหน่ายทั่วไปในท้องตลาด เปรียเทียบกับฐานข้อมูลสารอาหารของ USDA พบว่า ไมโครกรีนมีวิตามินและสารต้านอนุมูลอิสระสูงกว่าผักใบที่โตเต็มที่ 40 เท่า
เเต่อย่างไรก็ตาม มีงานวิจัยระบุว่าพืชบางชนิดที่โตเต็มที่มีระดับสารอาหารที่สูงกว่าไมโครกรีน เช่น ถัวงอก ผักโขม ดังนั้นจะเลือกปลูกไมโครกรีนอะไรควรพิจารณาสายพันธุ์ด้วยนะครับ
อ่านเพิ่มเติม : 3 ต้นอ่อน ช่วยชะลอวัย ต้านมะเร็ง
ความปลอดภัยการกินไมโครกรีน
การกินไมโครกรีน หรือต้นอ่อนทั่วไปนั้นปลอดภัย เเตอย่างไรก็ตามก็อาจเสี่ยงต่ออาหารเป็นพิษได้เช่นกัน ถ้ามีการปนเปื้อนเชื้อเเบคทีเรียในไมโครกรีน โดยปกติเเล้วเเบคทีเรียสามารถเจริญเติบโตได้ในไมโครกรีนน้อยกว่าในต้นกล้า สำหรับไมโครกรีนต้องการสภาพอากาศที่อบอุ่น เเละมีความชื่นน้อยกว่าต้นกล้าเล็กน้อย
ดังนั้น ถ้าหากเราต้องการปลูกไมโครกรีนที่บ้านนั้น จำเป็นต้องเลือกซื้อเมล็ดพันธุ์ที่มีคุณภาพ ปราศจากการปนเปื้นของเชื้อเเบคทีเรียที่เป็นอันตราย เช่น ซาโมเนลลา และเชื้อ อีโคไล เป็นต้น
สำหรับดินที่นิยมนำมาใช้ปลูกไมโครกรีนมากที่สุด คือ พีทมอส (Peat) เพอร์ไลท์ เเละเวอร์ไมคูไลท์ ที่เหมาะสำหรับใช้ปลูกครั้งเดียว และถือว่าสะอาดมากๆ
วิธีปลูกไมโครกรีนด้วยตนเอง
การปลูกไมโครกรีนนั้นง่ายมาก ไม้ยุ่งยาก เเละไม่ต้องใช้อุปกรณ์หรือเวลามากมายในการดูแล เราสามารถปลูกได้ทั้งในที่ร่มและกลางเเจ้ง โดยต้องมีอุปกรณ์และเมล็ดพันธุ์ ดังนี้
- เมล็ดพันธุ์ไมโครกรีนคุณภาพต้องดี
- ดินที่เหมาะสมกับการเพาะปลูก อาจเป็นดินที่ปรุงเอง หรือปุ๋ยหมักที่ทำเอง โดยใช้ปลูกครั้งเดียวเท่านั้น
- มีเเสงที่เหมาะสม โดยจะต้องให้โดนแดดต่อวัน 12-16 ชั่วโมง
ข้อคำแนะนำ
- เติมดินลงในกระถาง หรือภาชนะ ให้เเน่ใจว่าดินไม่อัดกันเเน่นจนเกินไปและรดน้ำเบาๆ
- โรยเมล็ดพันธุ์ไมโครกรีนลงบนพื้นดินอย่างสม่ำเสมอที่สุด เท่าที่จะทำได้
- ใช้ละอองน้ำรดลงบนเมล็ดเบาๆ แล้วปิดคลุมด้วยภาชนะพลาสติก
- หมั่นสังเกตุถาดไมโครกรีนทุกวัน และรดน้ำ (แบบละออง) ให้เมล็ดมีความชุ่มชื้น
- หลังจาก 2-3 วัน เมื่อเมล็ดงอกเเล้วให้นำพลาสติกคลุมออกเพื่อให้ไมโครกรีนโดนเเสงเเดด
- รดน้ำวันละ 1 ครั้ง
- หลังจาก 7-10 วัน ไมโครกรีนก็พร้อมเก็บเกี่ยว
เลือกกันในใจได้หรือยัง ปลูกไมโครกรีน ต้นอ่อน พันธุ์ไหนดี
ที่มา
- Culinary Assessment of Self-Produced Microgreens as Basic Ingredients in Sweet and Savory Dishes
- Microgreens of Brassicaceae: Mineral composition and content of 30 varieties
- Assessment of vitamin and carotenoid concentrations of emerging food products: edible microgreens
- Comparison between the mineral profile and nitrate content of microgreens and mature lettuces
- Easy Guide to Growing Microgreens
- Microgreens: All You Ever Wanted to Know