คำแนะนำช่วยเหลือผู้ที่เสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย, ฆ่าตัวตาย, ซึมเศร้า

คำแนะนำการช่วยเหลือผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย

คำแนะนำช่วยเหลือผู้ที่เสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย โดยราชวิทยาลัยจิตแพทย์แห่งประเทศไทย

คำแนะนำช่วยเหลือผู้ที่เสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย ในบทความนี้ ชีวจิตออนไลน์ นำข้อมูลดีๆมาฝากทุกคน โดย ศาสตราจารย์นายแพทย์ มาโนช หล่อตระกูล รับรองโดยราชวิทยาลัยจิตแพทย์แห่งประเทศไทย

สัญญาณเตือน

ผู้ที่มีลักษณะเหล่าน้ีไม่ได้หมายความว่าจะเกิดการฆ่าตัวตายแน่นอน แต่เป็นสิ่งบอกว่าเขาเหล่าน้ีมีความทุกข์ทรมานใจที่ต้องการความใส่ใจอย่างจริงจัง

  1. มีอาการซึมเศร้า นิ่งเฉยไม่สนใจสิ่งแวดล้อมรอบตัว
  2.  แยกตัวจากเพื่อนฝูง พี่น้องครอบครัว
  3. พูด เขียน เกี่ยวกับเรื่องความตาย
  4. พูดถึงความท้อแท้สิ้นหวัง
  5. พูดว่าทุกข์ทรมานมาก หรือตนเองเป็นปัญหา ภาระแก่คนอื่น
  6. พูดเป็นนัย เช่น ทนไม่ไหวอีกแล้ว เดี๋ยวปัญหาก็จบแล้ว
  7. เคยพยายามฆ่าตัวตายมาแล้ว
  8. มีการสั่งเสีย พูดลา หรือมอบสิ่งของให้ผู้อื่น

6  วิธีช่วยเหลือเบื้องต้น

จุดมุ่งหมายหลักของการพูดคุย คือเพื่อให้เขารับรู้ว่ามีคนใส่ใจรับรู้ปัญหาความทุกข์ของเขา ส่วนการมุ่งหาทาง แก้ปัญหาใหเ้ขาถือเป็นเรื่องรอง ท่าทีเป็นสิ่งสำคัญที่สุด ฟังด้วยความใส่ใจเปิดโอกาสให้เขาพูด พยายามที่ จะเข้าใจความทุกข์ใจ และปัญหาในมุมมองของเขา

  1. ไม่รีบให้คำแนะนำ หรือบอกว่าอย่าคิดอย่างน้ีหรือหาเหตุผลมาแย้งว่า เขาคิดผิด ซึ่งจะยิ่งทำให้เขายิ่งไม่อยากเล่า
  2. ถามความคิดเรื่องการฆ่าตัวตายอย่ากลัวที่จะถาม การถามไม่ได้กระตุ้น ใหเ้ขาคิดถึงเรื่องการฆ่าตัวตายแต่จะเป็นการเปิดโอกาสใหเ้ขาได้ระบายความรู้สึก อาจเริ่มด้วย  “เคยมีความคิดไม่อยากอยู่ หรืออยากไปให้พ้นๆ ไหม” เขาคิดบ่อยไหม คิดจะทำ อย่างไร
  3. ใหเ้ขารับรู้ว่าเราพร้อมที่จะช่วยเขาตลอดในช่วงน้ี
  4. ถ้าไม่ได้อยู่กับเขา บอกเขาว่า เราจะหมั่นโทรศัพท์มาเช็ค ถ้าเขารู้สึกไม่สบายใจให้รีบโทรศัพท์มา หาเราได้ทันที
  5. หากดูเขาซึมเศร้า หรือพูดคุยแล้วยังไม่ดีข้ึน ชักชวนแนะนำ ใหเ้ขาพบแพทย์หรือนักจิตวิทยาเพื่อรับการช่วยเหลือต่อไป
  6. หากดูเขามีความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายสูง เช่น ซึมเศร้าหมดหวัง ปัญหารุนแรง ให้โทรศัพท์ปรึกษา สายด่วนสุขภาพจิต 1323 หรือพาเขาไปพบแพทย์โดยเร็วที่สุด

อ่านเพิ่มเติม : Before After เคล็ดลับบอกลาโรค ซึมเศร้า

การดูแลจิตใจตนเองของผู้ช่วยเหลือ

  1. หลังให้การช่วยเหลือเขา เราอาจรู้สึกเครียด หดหู่ ท้อแท้เหล่าน้ีเป็นสิ่งที่พบได้ในผู้ให้การช่วยเหลือ
  2. แม้ว่า ปัญหาของเขาเราอาจแกไ้ขใหไ้ม่ได้แต่เราช่วยคลายทุกข์เขาได้
  3. หลังการพูดคุยช่วยเหลือแล้ว หากิจกรรมที่ผ่อนนคลายทา ไม่จมอยู่กับปัญหาของเขา
  4. หากรู้สึกตึงเครียด คิดวนอยู่กับ ปัญหาของเขา ให้พูดคุยกับคนใกล้ชิด หรือปรึกษาหน่วยบริการให้ คำปรึกษาทางโทรศัพท์
  5. คนใกล้ชิดอาจรู้สึกตกใจเสียใจผิดหวังรู้สึกผิดขุ่นเคืองถอยห่าง ฯลฯ ให้ตระหนักถึงความรู้สึกที่ เป็นอุปสรรคต่อการช่วยเหลือผู้กระทำ ซึ่งเกิดจากความคาดหวังต่างๆ ของตน หากเห็นว่า ไม่ สามารถก้าวข้ามตรงน้ีได้ให้ปรึกษาผู้อื่นเพื่อให้การช่วยเหลือ
Doctor consulting male patient, working on diagnostic examination on men’s health disease or mental illness, and writing on prescription record information document in clinic or hospital office

การดูแลช่วยเหลือหลังจากการพยายามฆ่าตัวตาย

  1. หากเขาเพิ่งทำ ควรมีคนอยู่กับเขา ใกล้ชิดตลอดเวลาอย่าด่วนคลายใจเมื่อเขาบอกว่า ดีแล้วไม่คิดทำ อีกแล้ว พบบ่อยว่าความเสี่ยงต่อการทำซ้ำจะสูงในช่วง 2-3 วันแรกหลังทำ
  2. เก็บของมีคม หรือสิ่งของที่เห็นว่า เขาอาจใช้ทำร้ายตัวเองได้
  3. แม้การอยู่ใกล้ชิดจะไม่สามารถป้องกันการทำซ้ำได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่หากเกิดเหตุการณ์ข้ึน เรายังสามารถช่วยเหลือเขาได้ทัน ท่วงที
  4. ในผู้ที่ได้พบแพทย์ หรือรับการช่วยเหลือแล้ว คอยดูแลใหเ้ขาไปพบแพทย์ตามนัดเพื่อติดตามการรักษา

การฆ่าตัวตาย เป็นสิ่งที่ไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้น ดังนั้น คำแนะนำช่วยเหลือผู้ที่เสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย ในข้างต้น หากลองนำไปฏิบัติ นำไปใช้ช่วยเหลือเพื่อน หรือคนรอบข้างได้ ก็จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง

ชีวจิตขอเป็นกำลังใจให้ทุกคนผ่านปัญหาเเละอุปสรรคไปได้ครับ  หรือสายด่วนสุขภาพจิต โทร. 1323 

อ่านเพิ่มเติม : จิ้งหรีด แมลงกินได้บำรุงสมอง ต้านโรคซึมเศร้า

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.