วัยทอง, วัยหมดประจำเดือน

วิธีปรับฮอร์โมนสู้ วัยทอง

อาการวัยทองถาวร

คือ ให้เริ่มนับจากวันที่ประจำเดือนไม่มานานติดต่อกันเป็นเวลา 1 ปี จึงถือว่าเป็นการเข้าสู่วัยทองถาวร โดยรังไข่หยุดการทำงานโดยสมบูรณ์และไม่ผลิตฮอร์โมนเอสโทรเจนแล้ว

เมื่อรังไข่หยุดทำงานโดยสมบูรณ์ แต่ร่างกายยังสามารถผลิตฮอร์โมนโพรเจสเทอโรนออกมาได้บ้าง จากต่อมหมวกไตประมาณร้อยละ 30 โดยเป็นฮอร์โมนหลักที่ทำให้ร่างกายทำงานสมดุล แต่ถ้าเรามีไลฟ์สไตล์เครียดเกินไป พักผ่อนน้อย หรือการทำงานแข่งกับเวลา จะทำให้เกิดภาวะวัยทองขั้นวิกฤติได้

หากฮอร์โมนโพรเจสเทอโรนถูกใช้งานจนหมด ผลกระทบคือ ผู้หญิงมีอารมณ์ขึ้น – ลง หงุดหงิดง่าย แปรปรวน เหวี่ยงวีน เครียด นอนไม่หลับ

 

อาการไหนวัยทองถาวร

1. ภาวะกระดูกพรุน

เมื่อเข้าสู่วัยทองถาวร กระดูกจะบางลง โดยเฉพาะช่วง 2 ปีแรกหลังหมดประจำเดือน โดยความแข็งแรงของมวลกระดูกจะสูญเสียไปร้อยละ 30 – 40 ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้กระดูกเปราะและหักง่าย ผู้หญิงวัยทองจึงเริ่มมีอาการปวดข้อ ปวดกระดูก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวัย 60 ปีขึ้นไป

2. ภาวะเส้นเลือดตีบ อุดตัน

เนื่องจากฮอร์โมนเอสโทรเจนที่เคยผลิตออกมาเพื่อช่วยให้ผนังหลอดเลือดมีความยืดหยุ่นนั้นหมดแล้ว จึงเสี่ยงต่อภาวะเส้นเลือดแข็งตีบตัน เปราะง่าย อันเป็นสาเหตุของโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตันหรือโรคหลอดเลือดสมองตีบ เป็นต้น

โดยเฉพาะผู้ที่กินยาคุมกำเนิดติดต่อกันเกิน 20 ปีขึ้นไปยิ่งมีความเสี่ยงสูงมาก หมอขอแนะนำว่า ควรควบคุมระดับคอเลสเตอรอลในร่างกายให้พอดี ไม่น้อยหรือมากเกินไปเพื่อให้ร่างกายมีไขมันเพียงพอต่อการผลิตฮอร์โมนเพศต่างๆ อย่างสมดุล

3. ภาวะสมองเสื่อม

ผู้หญิงวัยทองถาวรมักมีอาการนอนไม่หลับร่วมกับความกังวล จึงทำให้สมองอ่อนล้า บางคนปวดหัวแบบไมเกรนมาก ซึ่งเกิดจากการไหลเวียนเลือดที่ไม่สมบูรณ์ จนมีอาการความจำไม่ดี หลงลืม

วัยทอง, วัยหมดประจำเดือน

4. อาการร้อนวูบวาบ

เหงื่อออกตอนกลางคืน และมีอาการเสื่อมของอวัยวะภายใน เต้านมเหี่ยวฝ่อ ช่องคลอดขาดความชุ่มชื้น ความรู้สึกทางเพศลดลง

5. มีอาการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่

เวลาไอหรอื จามปสั สาวะเลด็และฉี่บ่อย แนะนำให้พบแพทย์เพื่อเข้ารับการรักษาเป็นระยะตามขั้นตอน

6. เส้นผมร่วงมากขึ้น

หนังศรีษะแห้งบาง หลุดลอกง่าย ผิวแห้งมีผื่นคัน เล็บหักง่าย เนื่องจากปริมาณคอลลาเจนลดลง

 

 

 

 

<< อ่านต่อหน้าที่ 4 >>

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.