วัยเก๋ายุคดิจิทัล ทันสมัย ใส่ใจโลกโซเชียล

วัยเก๋ายุคดิจิทัล ทันสมัย ใส่ใจโลกโซเชียล

วัยเก๋ายุคดิจิทัล ทันสมัย ใส่ใจโลกโซเชียล

โซเชียลเน็ตเวิร์ค กลายเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ในปัจจุบัน อีเมมล์ เฟชบุ๊ก ทวิตเตอร์ แอพพลิเคชั่นต่างๆ เช่น ไลน์ บีบี ถูกนำมาใช้ในการติดต่อสื่อสาร ส่งไฟล์งาน แชร์ภาพให้กันแทนการส่งจดหมายทางไปรษณีย์ โซเชียลฯ กลายเป็นเครื่องมือสำคัญในการค้นหาและติดต่อสื่อสารระหว่างเพื่อนเก่า สมาชิกในครอบครัว เพื่อนที่อยู่คนละมุมโลก และอีกหลายชีวิต ได้กลับมาพบกันอีกครั้งบนโลกออนไลน์

สิ่งเหล่านี้เป็นการย่อโลกทั้งใบให้แคบลงเพียงปลายนิ้วสัมผัส ทำให้คนทุกเพศทุกวัยสัมผัสถึงความอิ่มเอมมใจ ทุกครั้งที่ได้พบปะพูดคุยกัน แลเปลี่ยนเรื่องราวที่แสนประทับใจ ไม่เว้นแม้แต่ผู้สูงอายุ แต่มีข้อแม้อยู่อย่างหนึ่งว่า ผู้สูงอายุต้องสนใจที่จะเรียนรู้และทำให้เป็น

ประเทศไทยเรากำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงวัยอย่างเต็มรูปแบบ ทำให้หลายหน่วยงานกำลังเตรียมความพร้อมในทุกๆ ด้านเพื่อรองรับประชากรสูงวัยที่เพิ่มมากขึ้น ขณะเดียวกัน นอกจากการเข้าสู่สังคมสูงวัยแล้ว ประเทศไทยยังก้าวเข้าสู่สังคมดิจิทัลเป็นที่เรียบร้อย สังเกตได้ง่ายๆ ว่ากิจวัตรประจำวันของเราแทบทุกอย่าง เรียกว่าต้องพึ่งพาสมาร์ทโฟนเป็นหลัก ทั้งการใช้โซเชียลมีเดียอย่างเฟซบุ๊กและไลน์ ซื้อของออนไลน์ ทำธุรกรรมทางการเงิน ดูหนัง ฟังเพลง ไปจนถึงเรียกแท็กซี่

คงไม่มีใครคาดคิดว่าสักวันหนึ่งเว็บไซต์อัพโหลด โพสต์คลิปชื่อดังอย่างยูทูบ(YouTube) จะมีประโยชน์ต่อ วงการแพทย์ ล่าสุดวารสาร AgeandAging ตีพิมพ์งานวิจัยว่า การ ดูคลิปจากยูทูบช่วยชะลอสมองเสื่อมในผู้สูงอายุได้หลังจากทดลองใช้บําบัดอาการทางสมองด้วยวิธีระลึกถึงอดีต(Remini-scenceTherapy) ในการบําบัดด้วยวิธีนี้ กลุ่มผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อม จะได้ร่วมพูดคุยถึงกิจกรรม เหตุการณ์ และประสบการณ์

ของตัวเองที่ผ่านมาเพื่อกระตุ้นการสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างกัน อันจะช่วยสร้างสุขภาวะทางจิตสังคมให้ดีขึ้นตลอดจนส่งเสริมการทํางานของสมอง เครื่องมือเยียวยาแบบเดิมมักใช้รูปภาพเสียงอัดและข่าว หนังสือพิมพ์ แต่ตอนนี้พัฒนามาใช้คลิปยูทูบร่วมด้วยโดยผู้สูงอายุจะได้ดูคลิปเรื่องที่ตนเองเคยสนใจหรือเรื่องที่ตกเป็นประเด็น เช่น คลิปนักกีฬาดังในอดีต หนังหรือเพลงคลาสสิกผ่านไป 6 สัปดาห์ ผู้สูงอายุแต่ละคนมีพัฒนาการทางสภาวะอารมณ์และการปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นอย่างเห็นได้ชัดสามารถใช้ทักษะภาษาพื้นฐานเพื่อการสื่อสารดีขึ้นในระดับที่น่าพอใจแต่อย่าดูเพลินจนติดงอมแงมก็แล้วกันค่ะคุณตาคุณยาย

คนสูงวัยนิยมใช้งานโซเชียลมีเดียเพิ่ม

จากเว็บไซต์ Nextadvisor.com ได้รายงานตัวเลขของกลุ่มผู้ใช้งานโซเชียลมีเดียเอาไว้ว่า กลุ่มผู้ใช้งานส่วนใหญ่ ยังคงเป็นวัยรุ่นซะเป็นส่วนมาก แต่ที่น่าตกใจคือ ผู้ใหญ่เองก็เริ่มที่จะตีตื้นและหันมาใช้งาน หรือติดโซเชียลมีเดียเยอะขึ้นไม่แพ้กัน

มีจำนวนผู้ใหญ่ที่ใช้งานโซเชียลมีเดียสูงถึง 72% เลยทีเดียว นับเป็นตัวเลขที่สูงมาก และช่วงอายุเฉลี่ยที่ใช้งานนั้นคือ 30-49 ปี (78%) 50-64 ปี (60%) และ 65 ปีขึ้นไป (43%) นั่นหมายความว่า แม้แต่คนอายุ 65 ปี หรือมากกว่า ก็ยังใช้งานโซเชียลมีเดียแทบจะเป็นหลักเลยก็ว่าได้ ซึ่งมีพฤติกรรมให้เห็นรอบตัวเราทุกวันนี้แบบไม่ต้องมองไปที่ไหนไกลเลย

ผู้สูงวัยใช้โซเชียลมีเดียทำอะไรบ้าง?

เรื่องหลักๆ ที่ผู้ใหญ่ใช้งานโซเชียลมีเดียกันเลยก็คือ เพื่อติดต่อสื่อสารกับคนห่างไกล มีกลุ่มสังคมใหญ่กว่าวัยรุ่นเสียอีก ได้พบเจอเพื่อนเก่าผ่านทางไลน์ เฟซบุ๊ก หรือโซเชียลมีเดียใดๆ ก็ตาม จึงทำให้เกิดความคุ้นเคย และสร้างกลุ่มของตัวเองขึ้นมา ชวนกันต่อมาเป็นทอดๆ จนเกิดเป็นคอมมูนิตี้ใหญ่ที่หลากหลาย ทั้งกลุ่มเพื่อนประถม กลุ่มเพื่อนมัธยม และกลุ่มเพื่อนมหาลัย

การที่ผู้สูงอายุเล่นโซเชียลส่วนหนึ่ง ก็ทำให้ท่านได้อ่านเกร็ดข้อมูลที่เป็นความรู้เล็กๆ น้อยๆ ในเรื่องต่างๆ และสามารถแชร์ส่งต่อให้กันได้ ซึ่งบางครั้งก็มีทั้งข้อมูลที่มีประโยชน์ รวมถึงข้อมูลที่ยังไม่ได้วิเคราะห์ แต่สิ่งสำคัญที่ผู้สูงวัยจะได้จากการเล่นมือถือสมาร์ทโฟน คือการทักทายสื่อสารกันเพื่อให้มีสัมพันธภาพที่ดีระหว่างกลุ่มเพื่อน ซึ่งผู้สูงวัยบางคนรู้จักกันแต่ไม่ค่อยสนิทกัน เมื่อได้เล่นไลน์ก็จะทำให้สนิทสนมกัน มีเรื่องพูดคุยปรึกษากันมากขึ้น ที่สำคัญเหมือนกับผู้สูงอายุนั้นได้เจอกันตลอดเวลา

ที่มา: นิตยสารชีวจิต ฉบับที่ 314

 

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

เกมพาเพลิน เสริมระบบความจำวัยเก๋า

พูดถึง…ความสำคัญในการใช้โซเชียลมีเดียในวัยผู้สูงอายุไทย!

แชร์เคล็ดลับเตรียมตัวก่อนวัยเกษียณ อยากเป็นแบบไหนเลือกเลย!

 

 

 

 

 

© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.