สว. มักมีความเสื่อมตามวัย ในบางครั้งอาหารเสริมจึงมีความจำเป็น!

สว. มักมีความเสื่อมตามวัย ในบางครั้งอาหารเสริมจึงมีความจำเป็น!

สว. มักมีความเสื่อมตามวัย ในบางครั้งอาหารเสริมจึงมีความจำเป็น!

ความสำคัญของการบริโภคอาหารที่จำเป็นต่อสุขภาพ และ สารอาหารที่มักมีปัญหาในผู้สูงอายุไทย เนื่องจากบุคคลในวัยนี้จะมีปัญหาสุขภาพตามความเสื่อมของวัย ดังนั้น การคิดนวัตกรรมอาหารที่สอดคล้องกับสุขภาพของคนวัยนี้จึงมีความสำคัญเพื่อให้เกิดสังคมผู้สูงอายุที่มีสุขภาพดีตามวัย ผู้สูงอายุมีความเสื่อมของร่างกายเริ่มตั้งปากและฟันที่มีความสามารถในการบดเคี้ยวได้น้อยลงซึ่งจะส่งผลต่อการได้รับอาหารพวกเนื้อสัตว์และผัก

ดังนั้นต้องเลือกประเภทโปรตีนที่เคี้ยวง่าย มีกรดอะมิโนครบถ้วนและไขมันต่ำ ได้แก่ ไข่และปลา วันละ 0.8 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ซึ่งเทียบเท่ากับเนื้อสัตว์ 6 ช้อนกินข้าว ส่วนผักควรจะเป็นผักต้มสุกจนนิ่มวันละ 4 ทัพพี ผลไม้ต้องระมัดระวังเรื่องน้ำตาลควรรับประทานผลไม้รสจืดวันละ 3 ส่วนเพื่อลดอาการท้องผูก เช่นเดียวกันอาหารกลุ่มแป้งควรรับประทานข้าววันละ 8 ทัพพี ควรเลือกข้าวกล้องแทนข้าวขาวเพื่อเพิ่มใยอาหาร ส่วนภาวะกระดูกพรุนที่มักเกิดในวัยนี้ก็ควรรับประทานอาหารที่มีแคลเซียมสูง เช่น ผลิตภัณฑ์นม ผักใบเขียวเข้ม หรือ ปลาเล็กปลาน้อย ดังนั้น การสร้างนวัตกรรมอาหารที่มีสารอาหารครบถ้วนตามความต้องการเฉพาะวัยสูงอายุสามารถบริโภคได้สะดวก

ประเทศไทยจะกลายเป็นสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ในปี พ.ศ.2570 ซึ่งในอนาคตจะมีผู้สูงอายุจำนวนมากที่มีปัญหาสุขภาพต้องได้รับการดูแลจากครอบครัวและรัฐ นอกจากนี้เมื่ออายุเพิ่มมากขึ้นการทางานของระบบต่างๆ ภายในร่างกายย่อมเสื่อมถอยลงส่งผลให้เกิดโรคเสื่อมในระบบต่างๆ ของร่างกาย ซึ่งประกอบด้วย ระบบประสาท ระบบผิวหนัง ระบบฮอร์โมน ระบบหลอดเลือด ระบบภูมิคุ้มกัน และ ระบบกระดูกและข้อ เป็นต้น

อย่างไรก็ดีมีผลิตภัณฑ์อาหารเสริมจำนวนมากที่สามารถนำมาใช้บำรุงสุขภาพผู้สูงวัย จากการสืบค้นข้อมูลพบว่ามีผลิตภัณฑ์อาหารเสริมที่น่าจะเป็นประโยชน์ เช่น แปะก๊วย เลซิติน และ น้ำมันปลา ช่วยลดความเสี่ยงในโรคสมองเสื่อม โคเอ็นไซม์คิวเทน และ คอลลาเจน ช่วยลดปัญหาความเสื่อมของผิวหนัง แคลเซียม สารสกัดจากถั่วเหลือง โสม และ น้ำมันรำข้าว ช่วยลดความเสี่ยงในโรคที่สัมพันธ์กับระบบฮอร์โมน น้ำมันปลา น้ำมันรำข้าว และ ชาเขียว ช่วยลดความเสี่ยงในโรคที่เกี่ยวข้องกับระบบหลอดเลือด น้ำมันราข้าว เบต้ากลูแคน และ ชาเขียว ช่วยลดความเสี่ยงในโรคที่เกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกัน กลูโคซามีน คอนดรอยตินและ Rose Hip ช่วยลดความเสี่ยงในโรคที่เกี่ยวข้องกับ ระบบกระดูกและข้อ

 

เหตุผล ที่ทำให้ผู้สูงงอายุกินน้อยลง เมื่ออายุมากขึ้น

การรับกลิ่นรสเปลี่ยน:

กลิ่นและรสของอาหาร เป็นสิ่งที่ทำให้เรารู้สึกว่าอาหารนั้นอร่อย และกระตุ้นความอยากกินอาหาร แต่เมื่อสูงอายุขึ้น ตั้งแต่อายุ60ปี จำนวนต่อมรับรสเริ่มลดลง การแยกแยะรสหวาน เค็ม เปรี้ยว ขม จะแย่ลงไปตามอายุ ตามด้วยการรับกลิ่นจะแย่ลง เมื่ออายุ70ปีขึ้นไป เมื่อไม่ได้รับกลิ่นและรสของอาหาร ก็จะรู้สึกว่าไม่อร่อย ทำให้ไม่อยากอาหาร

ข้อแนะนำ :

เราควรสังเกตว่า คุณพ่อคุณแม่มีการรับรสอาหารเปลี่ยนไปอย่างไร หากการรับรสของท่านเปลี่ยนไปมาก ควรเตรียมอาหารสำหรับท่านต่างหาก โดยปรับรสชาติได้พอดีกับความชอบของท่าน กลิ่นของอาหารบางอย่างจะช่วยทำให้เจริญอาหารขึ้นได้ เช่น วานิลลา หรือ กลิ่นผลไม้ อย่างไรก็ตามความชอบอาจแตกต่างไปแต่ละบุคคล จึงควรลองให้ท่านได้ชิมอาหารเมนูใหม่ๆบ้างจะช่วยกระตุ้นให้อยากอาหารมากขึ้น

เหงือกฟันไม่แข็งแรง:

สุขภาพช่องปากและฟันมักถูกมองข้าม หากแต่เป็นหนึ่งในสาเหตุสำคัญ ที่ทำให้คุณพ่อคุณแม่กินอาหารน้อยลง เนื่องจากเมื่อเกิดความเจ็บปวดเมื่อเคี้ยวก็จะเลี่ยงการกินอาหาร การที่ฟันบิ่น หัก ฟันผุ เหงือกร่น ฟันปลอมหลวม รวมถึงการเป็นเชื้อราที่ลิ้นหรือช่องปาก พบได้เป็นประจำในผู้สูงอายุ แต่หลายครั้งคุณพ่อคุณแม่ก็มักจะไม่ค่อยบอกลูกๆ

ข้อแนะนำ :

ลูกๆ ควรพาคุณพ่อคุณแม่ไปรักษาฟันและตรวจสุขภาพช่องปากเป็นประจำทุก 6 เดือน แก้ไขฟันปลอมให้พอดีกับเหงือก ที่สำคัญหลังรับประทานอาหารควรบ้วนปากทุกครั้ง หากท่านมีปัญหากับการแปรงฟัน แนะนำให้บ้วนปากด้วยน้ำยาบ้วนปากที่ไม่มีแอลกอฮอล์ หรือใช้น้ำเกลือ ใช้ผ้านุ่มๆหรือสำลีเช็ดฟันและลิ้น

ระบบการย่อยทำงานช้าลง:

เมื่อสูงอายุ กล้ามเนื้อควบคุมการบีบคลายตัวของกระเพาะอาหารและลำไส้ทำงานไม่ปกติ กระเพาะอาหารมักขยายไม่ได้มาก ลำไส้บีบตัวน้อย ทำให้การย่อยไม่สมบูรณ์ ย่อยอาหารได้ยาก อาหารค้างในกระเพาะอาหาร และลำไส้นานขึ้น เกิดอาการท้องอืด อาหารไม่ย่อย รวมทั้งท้องผูก สิ่งเหล่านี้ทำให้คุณพ่อคุณแม่กินอาหารได้น้อย

ข้อแนะนำ :

ข้อแนะนำ : ควรปรับเปลี่ยนอาหารให้เหมาะสม โดยมีมื้อหลัก 3 มื้อ และเสริมอาหารว่าง 2 มื้อ ระหว่างมื้ออาหาร มีผักและผลไม้ หรือ “อาหารสูตรครบถ้วนสำหรับผู้สูงอายุเสริม” แต่อาหารต้องอ่อนนุ่มหรือปรุงให้นิ่ม หลีกเลี่ยงอาหารที่ย่อยยาก

เจ็บป่วย ผลข้างเคียงจากยา:

การเจ็บป่วยเรื้อรัง ทำให้คุณพ่อคุณแม่ต้องกินยาเป็นประจำ บางท่านต้องกินยาจำนวนมาก ทำให้ต้องดื่มน้ำเยอะก่อนอาหาร หรือยาบางตัวอาจมีผลข้างเคียงทำให้เบื่ออาหาร

ข้อแนะนำ :

เมื่อไปพบแพทย์ ควรนำยาทั้งหมดไปให้แพทย์ดูด้วย และปรึกษาแพทย์เมื่อพบว่าคุณพ่อคุณแม่กินอาหารได้น้อยจนผิดสังเกต เพื่อหาทางแก้ไขที่เหมาะสม

 ออกกำลังน้อย :

หากคุณพ่อคุณแม่ มีกิจกรรมน้อย นั่งๆ นอนๆ เป็นส่วนใหญ่ นอกจากจะทำให้ไม่อยากอาหารแล้ว ยังทำให้เกิดความซึมเศร้าได้ด้วย

ข้อแนะนำ :

ในระหว่างวันแนะนำให้มีกิจกรรมที่ได้ออกกำลังกายเบาๆ เช่นการปลูกต้นไม้ในกระถาง หรือเดินเล่นก่อนมื้ออาหาร นอกจากจะช่วยให้อยากอาหารแล้ว การเดินยังช่วยกระตุ้นการขับถ่ายด้วย

กินอาหารคนเดียว :

รายงานการสำรวจผู้สูงอายุในประเทศญี่ปุ่น พบว่าผู้สูงอายุที่กินข้าวคนเดียวเป็นประจำ มักมีอาการซึมเศร้า แม้ว่าได้ไปพบเพื่อนฝูงบ้างก็ตาม โดยเฉพาะในผู้สูงอายุผู้หญิงมักจะมีอาการซึมเศร้ามากกว่าผู้ชาย เมื่อต้องกินอาหารคนเดียว อาการซึมเศร้านี้ ทำให้ความอยากอาหารลดลง และกินอาหารได้น้อยลงด้วย

ข้อแนะนำ :

ลูกหลานควรจัดสรรเวลากินข้าวกับคุณแม่คุณแม่เป็นประจำและบ่อยๆ หากเป็นไปได้ควรกินข้าวด้วยกันทุกวัน และในช่วงที่ลูกๆไปทำงาน หากมีผู้ดูแลอยู่ด้วย อาจให้ผู้ดูแลกินข้าวพร้อมกับคุณพ่อคุณแม่ จะทำให้ท่านรู้สึกว่ามีเพื่อนและไม่เหงา

นอกจากข้อแนะนำข้างต้นที่ช่วยให้คุณพ่อคุณแม่กินข้าวได้มากขึ้นแล้ว การเลือกเมนูอาหารให้มีโภชนาการที่เหมาะสมกับความต้องการของร่างกายเมื่อสูงอายุขึ้นก็เป็นสิ่งสำคัญ อาหารสำหรับผู้สูงอายุควรให้พลังงานสูง มีสารอาหารครบถ้วน มีโปรตีนสูงและเป็นโปรตีนคุณภาพดี ที่สำคัญต้องเคี้ยวง่าย ย่อยง่าย ถูกปาก น่ารับประทาน เช่น ไข่ตุ๋นใส่แครอทสุกที่นิ่ม ผัดฟักทองใส่ไข่ ขนมจำพวกสังขยา ขนมกล้วย หรือข้าวต้มมัดไส้กล้วยหรือเผือก ก็เป็นตัวเลือกที่ดี

ข้อมูลประกอบจาก : คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

 

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

ตาจ๋า ยายจ๋า กินอะไรผู้ดูแลต้องใส่ใจเพื่อไม่ให้ขาดสารอาหาร

อาหารสำหรับผู้สูงวัย ต้องการการเอาใจใส่เป็นพิเศษ

ผู้สูงอายุต้องกินให้เป็น…เพราะอาหารที่ดีจะไปสร้างร่างกายที่ดี

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.